เมอร์เซอร์เผย อัตราการขึ้นเงินเดือนของไทยยังคงตัว ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงาน

พุธ ๐๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๗:๑๙
- ตัวเลขคาดการณ์การขึ้นเงินเดือนของอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทยยังคงตัวที่ 5%

- อุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการขึ้นเงินเดือนสูงสุด คือ 5.5%

- อุตสาหกรรมไฮเทคมีอัตราการออกจากงานโดยไม่สมัครใจสูงสุดที่ 7%

เมอร์เซอร์ เผยผลการศึกษาจาก 'โครงการสำรวจค่าตอบแทนและสวัสดิการของประเทศไทย ประจำปี 2562' พร้อมแนวโน้มค่าตอบแทน รวมถึงคาดการณ์ถึงการเติบโตของอัตราการจ้างงานและเงินเดือนสำหรับปี 2563 โดยตัวเลขและการคาดการณ์มาจากผลการสำรวจอัตราค่าตอบแทนและสวัสดิการ ซึ่งเป็นการศึกษาถึงค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ประจำปีของ

เมอร์เซอร์ โดยในปีนี้มีบริษัทที่เข้าร่วมโครงการศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 607 บริษัท จากหลากหลายอุตสาหกรรมในประเทศไทย นอกจากนี้ เมอร์เซอร์ยังได้จัดทำการสำรวจแบบ Pulse อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีเพื่อติดตามผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในธุรกิจต่าง ๆ และศึกษาแนวโน้มของอัตราค่าตอบแทนและตลาดแรงงาน

ในปี 2563 ตัวเลขคาดการณ์ของการขึ้นเงินเดือนของอุตสาหกรรมหลักในประเทศไทยยังคงตัวอยู่ที่ 5% สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำที่ 1.1% (1.0% ในปี 2562) โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นเงินเดือนสูงสุดคืออุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งอยู่ที่ 5.5% ในขณะที่อุตสาหกรรมเคมีมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการปรับเงินเดือนอยู่ที่ 5.2%

แนวโน้มการจ่ายโบนัสผันแปรสำหรับปี 2562 นี้ ยังคาดว่าจะอยู่ที่ 2.3 เท่าของเงินเดือนในภาพรวมของทุกอุตสาหกรรม โดยในอุตสาหกรรมยานยนต์จะมีการจ่ายโบนัสสูงสุดที่ 3.6 เท่าของเงินเดือนเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ตามมาด้วยอุตสาหกรรมประกันชีวิตและอุตสาหกรรมไฮเทค ซึ่งคาดว่าจะจ่ายโบนัสอยู่ที่ 2.5 เท่าของเงินเดือน

แนวโน้มอัตราการออกจากงานโดยสมัครใจ

ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า จากภาพรวมของภาคอุตสาหกรรม อัตราการออกจากงานโดยสมัครใจเพิ่มขึ้นเป็น 12.8% ในปี 2561 (เมื่อเทียบกับ 12.5% ในปี 2560) ในขณะที่ข้อมูลล่าสุดจากผลสำรวจ Mercer Asia Market Pulse Survey ในไตรมาสที่หนึ่ง ประจำปี 2562 นั้นพบว่า อัตราการออกจากงานโดยสมัครใจคงที่ในระดับเดียวกับไตรมาสที่หนึ่งของปี 2561 (4%)

ในทวีปเอเชีย สาเหตุหลักที่พนักงานลาออกจากงานนั้นมีความแตกต่างไปตามกลุ่มอายุและเพศ โดยภาพรวมแล้วพบว่ามีสาเหตุหลักอยู่ 3 ประการ ได้แก่ การแข่งขันด้านค่าตอบแทน การสื่อสารกับหัวหน้างาน และความก้าวหน้าในสายอาชีพที่ชัดเจน ซึ่งรวมถึงความมั่นคงของงานด้วย ในขณะที่อุตสาหกรรมไฮเทคในประเทศไทยยังคงมีอัตราการออกจากงานโดยไม่สมัครใจสูงสุดที่ 7% ซึ่งเป็นผลมาจากบทบาทของเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นและความจำเป็นของภาคอุตสาหกรรมในการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลและการใช้ระบบออโตเมชั่น

แนวโน้มของการจ้างงาน

สำหรับประเทศไทย คาดว่าองค์กรต่างๆ มีแผนที่จะว่าจ้างงานในปี 2563 ลดลงเล็กน้อยที่ 29% เทียบกับสัดส่วน 31% ในปี 2562 จากอัตราที่คงที่ของการออกจากงานโดยสมัครใจ องค์กรส่วนมากจึงมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะและความสามารถของพนักงาน

นายพิรทัต ศรีสัจจะเลิศวาจา Market Segment Leader & Career Products Leader บริษัท เมอร์เซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "ตำแหน่งงานที่เรามีความคุ้นเคยกันทุกวันนี้เริ่มที่จะหายไปจากตลาด และการเข้าถึงทักษะที่สามารถนำบริษัทไปสู่เป้าหมายในด้านทรัพยากรบุคคล จะมีความสำคัญและผลกระทบต่อการสร้างคุณค่าขององค์กรและตัวชี้วัดของงานต่างๆ ในอนาคต"

"เพื่อรับมือกับความต้องการทักษะด้านดิจิทัล องค์กรต่างๆ จึงยอมจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นเพื่อทักษะด้านดิจิทัลที่โดดเด่น หรือกำหนดบทบาทตำแหน่งงานอย่างไม่เฉพาะเจาะจง เพื่อให้มีพนักงานที่มีทักษะดังกล่าวเพิ่มขึ้น เราคาดว่าทักษะดิจิทัลนี้จะได้รับการผสานเข้าใน 'กลุ่มทักษะ' ที่จะสร้างมาตรฐานให้แก่ฐานเงินเดือนในอนาคต ซึ่งไม่ได้จำกัดเพียงแค่ทักษะเชิงเทคนิคหรือเชิงปฎิบัติ แต่กลุ่มทักษะจะครอบคลุมทักษะในวงกว้าง รวมถึงทักษะที่เกี่ยวกับกระบวนการคิดและพฤติกรรมอีกด้วย"

นายจักรชัย บุญยะวัตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมอร์เซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลถือเป็นวาระแห่งชาติของประเทศไทยในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาตร์ชาติ ไทยแลนด์ 4.0 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

(ปี 2561 - 2580) และเพื่อที่จะดึงดูด สร้างแรงจูงใจ และพัฒนาศักยภาพให้แก่บุคลากร องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความเป็นจริงของโลกดิจิทัลและกลุ่มแรงงานที่กำลังเปลี่ยนแปลง"

"ในยุคปัจจุบันที่เรากำลังเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล การก้าวสู่ยุคประชากรสูงอายุ และการหันมาใช้พนักงานชั่วคราวเพิ่มขึ้น องค์กรมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาทบทวนการให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่องค์กรมีให้กับพนักงาน เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของแต่ละบุคคล ตลอดจนสร้างแรงกระตุ้นให้แก่พนักงาน โดยมีหลายบริษัทที่หันมาใช้ระบบสิทธิประโยชน์แบบยืดหยุ่นและรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนตามความสามารถเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ เหล่านี้" นายจักรชัย กล่าวเสริม

การเปลี่ยนแปลงไปสู่ผลตอบแทนที่มากกว่าเงินเดือน

การเกิดขึ้นตำแหน่งงานใหม่ๆ รวมถึงการที่ตำแหน่งงานเดิมต้องปรับเปลี่ยนไปกระแสของเทคโนโลยีออโตเมชั่นและเอไอ จึงเป็นเรื่องยากสำหรับองค์กรที่ต้องตามให้ทันกับความคาดหวังของพนักงานเกี่ยวกับผลตอบแทนและ market values จากผลการสำรวจระดับโลกเกี่ยวกับเทรนด์ของพนักงานที่มีความสามารถซึ่งเมอร์เซอร์จัดทำขึ้นในปี 2562 พบว่า รูปแบบของการผลตอบแทนที่สำคัญสูงสุดอันดับหนึ่งคือ การให้ผลตอบแทนด้วยรูปแบบที่หลากหลายกว่าเดิม ข่าวดีก็คือ สิ่งที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลให้ความสำคัญอันดับต้นๆ ล้วนสะท้อนถึงสิ่งที่พนักงานต้องการ โดยทั้งฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพนักงานต่างเห็นตรงกันว่า การมอบผลตอบแทนหรือสิ่งจูงใจแก่พนักงานที่มีความสามารถได้หลากหลายมากขึ้น สามารถสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นได้ เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของธุรกิจได้อย่างแท้จริง การลงทุนในเรื่องของค่าตอบแทนควรสะท้อนถึงกลยุทธ์ที่องค์กรให้ความสำคัญ โดยในหลายกรณี สามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนจากวิธีการแบบเดิม มาสู่รูปแบบของผลตอบแทนที่ต่างออกไป เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงานที่มีความต้องการและการพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม บริษัทชั้นนำเริ่มมีการให้ความสำคัญในเรื่องของการให้ผลตอบแทนแก่พนักงานในภาพรวม โดยมีการให้ค่าตอบแทนที่มากกว่าเงินเดือน เช่น โอกาสเติบโตในอาชีพ การให้เงินพิเศษเพื่อเป็นแรงจูงใจ และการให้ผลตอบแทนพิเศษ

นายภูนีต สวานี หุ้นส่วนอาวุโสและผู้อำนวยการธุรกิจ Career ในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศ ของเมอร์เซอร์ กล่าวว่า "ผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และการเข้าสู่โลกยุคใหม่ของการทำงาน ทำให้บริษัทต่างๆ ต้องหันมาทบทวนแนวทางเพื่อให้สามารถรับมือกับอนาคตได้ ด้วยการออกแบบรูปแบบของการจ่ายผลตอบแทนที่คำนึงถึงความความต้องการของพนักงานเป็นหัวใจสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการนำดิจิทัลมาใช้ในองค์กร การสร้างทักษะที่สำคัญและจำเป็นให้กับพนักงานเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในอนาคต หรือแม้แต่การสร้างสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมการทำงานได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนการปรับเปลี่ยนแปลงวิธีการลงทุนขององค์กรในตัวพนักงาน เหล่านี้จะช่วยสร้างผลตอบแทนกลับคืนสู่ธุรกิจในอนาคตได้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม"

อ่านข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการสำรวจค่าตอบแทนและสวัสดิการของประเทศไทย ประจำปี 2562

เกี่ยวกับเมอร์เซอร์

เมอร์เซอร์ให้คำปรึกษาและเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพ การเงินและอาชีพของบุคลากรที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมอร์เซอร์มีพนักงานกว่า 25,000 คน ใน 44 ประเทศทั่วโลก โดยบริษัทดำเนินธุรกิจในประเทศต่างๆ มากกว่า 130 ประเทศ

เมอร์เซอร์เป็นบริษัทในเครือของ Marsh & McLennan Companies (NYSE: MMC) ผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกด้านความเสี่ยง กลยุทธ์ และบุคลากร ด้วยพนักงานกว่า 76,000 คน และรายได้ต่อปีมากกว่า 17,000 พันล้านเหรียญสหรัฐ Marsh & McLennan ช่วยสนับสนุนธุรกิจของลูกค้าในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงและความซับซ้อน ผ่านบริษัทชั้นนำในเครือ ได้แก่ Marsh, Guy Carpenter และ Oliver Wyman อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.mercer.com หรือทางทวิตเตอร์ที่ @Mercer

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง