เอ็นไอเอร่วมไทยยูเนี่ยน - ม.มหิดล เปิดเวทีดัน 23 สตาร์ทอัพสายฟู้ด โชว์ของผ่าน “สเปซ-เอฟ” บิ๊กโปรแกรมปั้นฟู้ดเทคระดับโลกแห่งแรกของไทย

จันทร์ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๖:๐๐
- เอ็นไอเอชี้เทรนด์การพัฒนานวัตกรรมอาหารโลก พร้อมดึงภาคอุตฯ – การศึกษา ประเดิมปั้นฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ 9 สาขา ร่วมพลิกโฉมอุตฯอาหารตอบโจทย์ "ครัวโลก"

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดตัว 23 สตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ สเปซ-เอฟ (SPACE-F) อย่างเป็นทางการ SPACE-F เป็นโปรแกรมการพัฒนาสตาร์ทอัพด้านอาหารในระดับนานาชาติให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยโครงการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยในฐานะการเป็น "ครัวโลก" ด้วยการนำนวัตกรรมมาช่วยยกระดับให้อุตสาหกรรมอาหารเติบโต น่าสนใจ นอกจากนี้ยังช่วยผลักดันสตาร์ทอัพสาขานวัตกรรมอาหารให้มีคุณภาพ ความหลากหลาย สอดรับกับความต้องการของภาคธุรกิจ ในปีแรกของ SPACE-F นี้ได้รับใบสมัครจากสตาร์ทอัพ 142 ทีมทั่วโลก ซึ่งคณะกรรมการได้คัดเลือกจนเหลือ 23 ทีม ประกอบด้วยประเภท incubator หรือประเภทบ่มเพราะนวัตกรรม จำนวน 12 ทีมและ accelerator หรือประเภทเร่งผลักดันความสำเร็จ จำนวน 11 ทีม

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศไทย ในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนธุรกิจอาหาร ในขณะเดียวกัน ก็ต้องตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้อย่างเท่าทัน ทั้งในการผลิต การบริการ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดการเหลือทิ้งของอาหาร เช่น การนำวัตถุดิบที่ถูกคัดทิ้งมาแปรรูป หรือทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือไม่เป็นบรรจุภัณฑ์ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรในกระบวนการผลิต การนำระบบ AI มาใช้ เช่น ในการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ โปรแกรมการผลิตแบบอัจฉริยะ การพัฒนาการเกษตรในเมืองเพื่อรองรับปริมาณประชากรและความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น รวมถึง การพัฒนาอาหารเฉพาะกลุ่ม เช่น อาหารสำหรับผู้สูงวัย อาหารที่ให้พลังงานทดแทน โครงการ "สเปซ-เอฟ" จึงถือเป็นก้าวที่สำคัญสำหรับนวัตกรรมของประเทศในการเตรียมพร้อมสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

สำหรับสเปซ-เอฟ มุ่งพัฒนาฟู้ดเทคสตาร์ทอัพใน 9 สาขา ได้แก่ อาหารเพื่อสุขภาพ โปรตีนทางเลือก กระบวนการผลิตอาหารอัจฉริยะ บรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต วัตถุดิบและส่วนผสมอาหารใหม่ๆ วัสดุชีวภาพและสารเคมี เทคโนโลยีการบริหารจัดการร้านอาหาร การตรวจสอบควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร และบริการอัจฉริยะด้านอาหาร ทั้งนี้ ประกอบไปด้วยโปรแกรมการสนับสนุนจาก 3 ภาคหลักที่สำคัญ ได้แก่ ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษา โดยในส่วนของ NIA นั้นจะให้การสนับสนุนตั้งแต่ การดึงหน่วยงานร่วมทั้งจากภาครัฐและเอกชนเข้ามาช่วยบ่มเพาะสตาร์ทอัพ เช่น สถาบันการเงิน องค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โปรแกรมสนับสนุนการระดมทุน ไปจนถึงการช่วยอำนวยความสะดวกการออกสมาร์ทวีซ่า นอกจากนี้ ยังจะมีการสนับสนุนช่องทางตลาด การประชาสัมพันธ์ การออกงานอีเว้นท์ เช่น Startup Thailand , Innovation Thailand Expo ต่อเนื่องไปถึงการสร้างความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสตาร์ทอัพภายในโครงการร่วมกัน

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตอาหารจะเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้อย่างมหาศาลให้กับประเทศไทย แต่ในการพึ่งพิงการผลิตเพียงอย่างเดียวอาจทำได้เพียงระยะเวลาในอีกไม่กี่ปีหลังจากนี้ เนื่องด้วยตลาดการแข่งขันของธุรกิจอาหารกำลังจะมุ่งหน้าไปที่การพัฒนาบริการ และนวัตกรรมอันทันสมัยที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ สเปซ-เอฟ จึงเป็นคำตอบหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาฟู้ดเทคสตาร์ทอัพส(FoodTech) ที่จะเป็นผู้คิดค้นโมเดลธุรกิจใหม่ๆ และตอบสนองความต้องการตลาดอาหารผู้บริโภคได้อย่างเท่าทัน โดยสตาร์ทอัพเหล่านี้ล้วนเข้าใจปัญหาของระบบซัพพลายเชนในธุรกิจอาหารอย่างถ่องแท้และมีแผนทางธุรกิจที่สามารถเติบโตและขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว

ด้าน ดร.ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรม บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไทยยูเนี่ยน ในฐานะบริษัทผู้ผลิตอาหารทะเลระดับโลก และเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญด้านนวัตกรรมอย่างจริงจังมาโดยตลอด โดยความร่วมมือในครั้งนี้ ทางบริษัทฯ ได้นำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการนำนวัตกรรมอาหารมาสู่ภาคธุรกิจ มาเป็นแนวทางให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้นำความรู้ความเข้าใจไปปรับใช้ และนอกเหนือจากศูนย์นวัตกรรมไทยยูเนี่ยนแห่งแรก ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เปิดให้สตาร์ทอัพในโครงการเข้ามาใช้เพื่อทดลองและวิจัย รวมถึงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์โดยมืออาชีพแล้ว เรายังมีบุคลากรในด้านอื่นๆ เช่น ด้านการบริหารจัดการ และการเงิน เป็นต้น เข้าแนะนำแนวทางพร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ทั้ง Incubator และAccelerator ทั้ง 23 ทีม จะสามารถต่อยอดทั้งด้านนวัตกรรมและประสบความสำเร็จด้านธุรกิจไปด้วยกัน"

รศ.ดร. สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคณะวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าของประเทศไทย เป็นแหล่งความรู้และ know-how รวมทั้งเครื่องมือเพื่อการวิจัยและพัฒนาขั้นสูงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมทางอาหารโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม สำหรับโครงการการ SPACE-F นั้น คณะวิทยาศาสตร์ฯ จะเสริมกำลังเหล่า startup ด้วยความรู้และ know-how ทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนเครือข่ายพันธมิตรที่จำเป็นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเหล่า startup เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้า จนสามารถเติบโตในตลาดได้อย่างรวดเร็ว ประสบความสำเร็จในธุรกิจต่อไป

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02-0175555 เว็บไซต์ www.nia.or.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง