วว.จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการการผลิตก๊าซชีวภาพโดยใช้ชีวมวลประเภท Lignocellulosic จากกากมันสำปะหลังกระบวนการผลิตเอทานอล ข้าวฟ่างหวาน

ศุกร์ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๐:๕๕
ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการ "การผลิตก๊าซชีวภาพโดยใช้ชีวมวลประเภท Lignocellulosic จากกากมันสำปะหลังจากกระบวนการผลิตเอทานอลและข้าวฟ่างหวาน" ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และบริษัทซัพพลาย เอนเนอร์จี เมเนจเม้นท์ จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์การประชุมเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการวิจัย พร้อมทั้งรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ ผู้ประกอบการ ผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจใช้ประโยชน์จากงานวิจัยนี้ จำนวน 50 คน รวมทั้งมีการจัดเสวนาเรื่อง "ทิศทางและความเป็นไปได้ในการผลิตก๊าซชีวภาพจากชีวมวลในภาคอุตสาหกรรม" โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายผจญ ศรีบุญเรือง นายกสมาคมการค้าก๊าซชีวภาพ ดร.พรพรรณ พาณิชย์นำสิน จากหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมชีวเคมีและโรงงานต้นแบบ นายพรอรัญ สุวรรณพลาย อุปนายกสมาคมการค้าก๊าซชีวภาพ ผศ.ดร.พีรกานติ์ บรรเจิดกิจ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.รุจิรา จิตรหวัง นักวิจัย วว. เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ วว. มีพื้นฐานเทคโนโลยีด้านก๊าซชีวภาพและเป็นหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในบัญชีรายชื่อบริษัทที่ปรึกษาด้านก๊าซชีวภาพของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ซึ่งมีแผนดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพสำหรับของเสียทางการเกษตรและพืชพลังงาน รวมถึงศึกษาวัตถุดิบชีวมวลชนิดใหม่ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ และพัฒนาเทคโนโลยีในกลุ่ม Anaerobic Phased Solids (APS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีต้นแบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะและชีวมวล ดำเนินงานโดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม วว. ตั้งอยู่ที่สถานีวิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งปัจจุบันมีถังปฏิกิริยาแบบกึ่งเชิงพาณิชย์ขนาด 1,600 ลูกบาศก์เมตร ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงชีวภาพผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ไม่เกิน 300 kW ผลจากงานวิจัยดังกล่าว นอกจากจะช่วยพัฒนาองค์ความรู้ในการผลิตก๊าซชีวภาพจากชีวมวลประเภท Lignocellulosic จากกากมันสำปะหลังจากกระบวนการผลิตเอทานอลและข้าวฟ่างหวานแล้ว ยังสามารถนำของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมโรงงานผลิตเอทานอลมาผลิตเป็นพลังงาน นอกจากนี้ยังจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพื้นที่การฝังกลบ สำหรับผู้ประกอบการที่รับกำจัดกากของเสียจากอุตสาหกรรมที่มีของแข็งปนเปื้อนสูง เช่น กากมันสำปะหลัง ขยะ น้ำเสีย และตะกอนจุลินทรีย์ เป็นต้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลงานวิจัยด้านการผลิตก๊าซชีวภาพ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม วว. ได้ที่ โทร. 0 2577 9000 E-mail : [email protected] Line@Tistr www.tistr.or.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๓๐ เจียไต๋ เปิดอาคารสำนักงานแห่งใหม่ ณ คลังสินค้าเจียไต๋ บางไทร อยุธยา ภายใต้แนวคิดอาคารประหยัดพลังงาน
๑๓:๑๘ 'ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์' ชูยุทธศาสตร์ Logistics and Beyond ผสานความแข็งแกร่งกลุ่มธุรกิจ ดันไตรมาส 1/2567 รายได้โต 14%
๑๓:๑๘ SNNP เปิดงบ Q1/67 กวาดรายได้ 1,457 ล้านบาท ลุยพัฒนาโปรดักส์ใหม่ไม่หยุดยั้ง-เจาะตลาดทั้งในและตปท.
๑๓:๕๙ ผู้ถือหุ้น NOBLE ไฟเขียวจ่ายปันผลเพิ่ม 0.118 บาท/หุ้น จ่อจ่ายเงินปันผล 24 พ.ค.นี้
๑๓:๓๔ JR ราศีจับ! คว้างานใหม่ ได้งานต่อเนื่อง โปรเจคโซลาร์รูฟฯ ม.กรุงเทพฯ มูลค่ารวม 86.56 ลบ. คาดก่อสร้างเสร็จปี 68 มั่นใจปี 67 งานในมือทะลุ 1
๑๓:๑๕ CPANEL เดินเครื่องโรงงานใหม่ ลุยรับงานเพิ่ม เผยงบ Q1/67 รายได้ 91.40 ล้านบาท กำไร 10.15 ล้านบาท
๑๒:๕๙ PRM แย้มงบฯ Q1/67 มาตามนัด!
๑๒:๑๕ ได้ยินชัด ลดเสี่ยงสมองเสื่อม แพทย์ จุฬาฯ ชูนวัตกรรมตรวจการได้ยินเพื่อสุขภาพสมองของผู้สูงอายุ
๑๒:๐๗ ร้อนนี้ ชวนเปลี่ยนแอร์ไวได้ทันใจ เย็นเร็วแบบ SAMEDAY-ส่ง ติดตั้ง รื้อถอน ในวัน! กับข้อเสนอพิเศษ ดับร้อนไว! ไปโฮมโปร ลด รับสูงสุด 14,000 บาท ผ่อน 0% นาน 12 เดือน
๑๒:๓๕ กรมควบคุมมลพิษ หนุน PRO-Thailand Network เสริมแกร่งการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วอย่างยั่งยืน เพื่อเดินหน้าโรดแมปการจัดการขยะของประเทศไทย