จังหวัดลำพูน มุ่งพัฒนากำลังคน ก้าวสู่การมีแรงงานที่มีคุณภาพ ด้วยความร่วมมือทุกภาคส่วน

พุธ ๑๘ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๑๗:๔๙
จังหวัดลำพูน โดยสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน ประสานความร่วมมือเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545และที่แก้ไขเพิ่มเติม ร่วมกับสถานประกอบกิจการ จำนวน 90 คน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน มอบหมายให้ นายชาตรี กิตติธนดิตถ์ นายอำเภอเมืองลำพูน รักษาราชการแทนปลัดจังหวัดลำพูน เป็นประธานในพิธีเปิด ในเวลา 9.30 น.วันศุกร์ ที่ 13 ธันวาคม 2562 ณ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน หลังจากนั้นได้มอบเงินอุดหนุนให้กับสถานประกอบกิจการ 19 แห่ง เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 804,800 บาท และ สถานประกอบกิจการ ที่สามารถสร้างมาตรฐานฝีมือแรงงานของตน 1 แห่ง ได้รับเงินอุดหนุน 10,000 บาท

นางณฐมน ปัทมะสุคนธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูนกล่าวว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ได้ส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้กับลูกจ้าง และบุคคลทั่วไป เพื่อตอบสนองการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยกำหนดสิทธิประโยชน์ไว้เพื่อเป็นการจูงใจสถานประกอบกิจการให้เข้ามามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จึงมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 เพิ่มบทบัญญัติ เพื่อกำหนดให้การประกอบอาชีพ ในสาขาอาชีพ ตำแหน่งงาน หรือลักษณะงานใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะ หรือต้องดำเนินการโดยผู้มีความรู้ ความสามารถที่ได้รับการรับรองความรู้ความสามารถ ดังนั้นกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ให้ทุกจังหวัดสร้างการรับรู้ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานฯ ด้วยหน่วยงานภาครัฐ สถานประกอบกิจการ และพนักงาน มีส่วนสำคัญในการพัฒนา องค์กร เศรษฐกิจ และสังคม โดยภาครัฐเป็นส่วนสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาพนักงาน สถานประกอบกิจการได้รับประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี และเงินอุดหนุน สามารถเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต และพนักงานที่มีความรู้ ทักษะฝีมือ มีทัศนคติที่ดีและ มีมาตรฐานในการทำงาน ตลอดจนได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย ซึ่งในปีงบประมาณ 2562 มีสถานประกอบกิจการของจังหวัดลำพูน ได้รับการส่งเสริมตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 จำนวน 89 แห่ง มีพนักงานได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวน 45,788 คน และในจำนวนดังกล่าวมีสถานประกอบกิจการที่พัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่ลูกจ้างในปีที่ผ่านมา เกินกว่าร้อยละ 70 ของลูกจ้างทั้งหมด ได้รับเงินช่วยเหลือหรืออุดหนุนจากกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน 200 บาทต่อหัว 19 แห่ง เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 804,800 บาท และสามารถสร้างมาตรฐานฝีมือแรงงาน และนำไปใช้ทดสอบให้กับลูกจ้างของตน เพื่อกำหนดค่าจ้าง ได้รับเงินอุดหนุนเป็นเงิน 10,000 บาท จำนวน 1 แห่ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๔๒ เฮลท์สเคป (Healthscape)' นำร่องส่ง 'MADE BY SILVER' ชวนสัมผัสผลิตภัณฑ์เพื่อไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มซิลเวอร์เจน 20 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็ม
๑๔:๐๗ HENG เสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 จำนวน 2 ชุด อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.25% และ 5.50% เปิดจองซื้อ 23-24 และ 27 พ.ค. 67 เดินหน้าเสริมแกร่งธุรกิจ
๑๓:๑๕ กลุ่มบริษัทศรีตรัง ลุยติดตั้ง EV Charger ในโรงงานทั่วประเทศ สนับสนุนพนักงานใช้พลังงานสะอาด ร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอกย้ำจุดยืน Green Rubber
๑๓:๒๔ Bitkub Chain และ The Sandbox ร่วมยกระดับวงการ Metaverse ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๑๓:๔๗ AJA โชว์แกร่ง!! งบโค้งแรกพลิกมีกำไรพุ่งเกือบ 452% ชูกลยุทธ์ปี 67 กระจายลงทุนในธุรกิจหลากหลาย-สร้างฐานการเติบโตยั่งยืน
๑๓:๕๙ KJL โชว์นวัตกรรมในงาน SUBCON Thailand 2024 เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า
๑๓:๐๑ ITEL อวดกำไร Q1/67 โต 113% กำไรสุทธิ 123 ล้านบาท ล่าสุด ก.ล.ต. ไฟเขียวนับหนึ่งไฟลิ่ง บ.ย่อย BLUE เรียบร้อยแล้ว
๑๓:๒๓ โอยิกะ ผู้นำด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีแบตเตอรี่จากสิงคโปร์ ชูนวัตกรรมพลังงานสะอาด มุ่งขยายธุรกิจตู้สลับแบตเตอรี่สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
๑๓:๔๗ ดื่มด่ำกับรสชาติของเนื้อโกเบจากโอซาก้า ที่ห้องอาหารฮากิ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
๑๓:๕๒ W9 เผยไทยเผชิญฝุ่นพิษล้อมเมืองติดอันดับโลก เปิด 5 กลุ่มเสี่ยงรับฝุ่นพิษ ภัยเงียบสะสม แนะวิธีรับมือเชิงเวลเนส