“สุวิทย์” สั่งการเร่งด่วนขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนออนไลน์ ลดความเสี่ยงนักศึกษาผจญฝุ่น PM2.5

พุธ ๒๒ มกราคม ๒๐๒๐ ๑๔:๔๐
"สุวิทย์" สั่งการเร่งด่วนขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนออนไลน์ ลดความเสี่ยงนักศึกษาผจญฝุ่น PM2.5 และหน่วยงานในสังกัดสามารถทำงานที่บ้านได้ พร้อมนำเสนอนวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศภายนอกอาคารไอออนเฟรซ แบบไฟฟ้าสถิต ช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 สามารถกรองอากาศ 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เผยหน่วยงานภาครัฐ-เอกชนสนใจสามารถติดต่อขอเทคโนโลยีไปพัฒนาและต่อยอดได้
สุวิทย์ สั่งการเร่งด่วนขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนออนไลน์ ลดความเสี่ยงนักศึกษาผจญฝุ่น PM2.5

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในพื้นที่ของกรุงเทพฯ อยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยล่าสุดได้สั่งการให้หน่วยงานใน อว.บางสายงานมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานสามารถพิจารณาความเหมาะสม โดยการให้หน่วยงานบางส่วนงานสามารถทำงานที่บ้านได้ในช่วงนี้ เพื่อลดการปล่อยฝุ่นควันจากการเดินทาง และเจ้าหน้าที่ ไม่ต้องออกมาเจอฝุ่นควัน พร้อมกันนี้ยังได้สั่งการให้สถาบันอุดมศึกษา หากในชั้นเรียนใดสามารถจัดให้มีการเรียนการสอนออนไลน์ ผ่านเทคโนโลยีต่างๆในช่วงนี้เพื่อลดการเดินทางออกมาเผชิญฝุ่นควันของนักศึกษา

นอกจากนี้ อว.ได้มีการวิจัยและพัฒนาเครื่องกรองอากาศแบบไฟฟ้าสถิต "ไอออนเฟรช" (IonFresh) เป็นถือเป็นเครื่องต้นแบบที่ใช้กรองอากาศแบบไฟฟ้าสถิต (Electrostatic air purifier) ซึ่งพัฒนาโดยทีมวิจัยศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำหรับใช้งานภายนอกอาคาร จำนวน 4 เครื่อง โดยเป็นการพัฒนาเครื่องกรองฝุ่นละอองขนาดอนุภาคเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ด้วยเทคโนโลยีการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิต โดยต้นแบบเครื่อง ไอออนเฟรชมีขนาดความกว้าง 1 เมตร สูง 1 เมตร มีอัตราการสร้างอากาศบริสุทธิ์ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เพื่อช่วยลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่ภายนอกหรือพื้นที่ควบคุม ซึ่ง อว. พร้อมมอบองค์ความรู้ทั้งหมดให้กับภาคเอกชน องค์กรหรือสถาบันใดที่สนใจดังกล่าวไปผลิตเพื่อใช้ในพื้นที่ของหน่วยงานของตนเอง

โดยรูปแบบการทำงานของเครื่องไอออนเฟรชจะเป็นการสร้างประจุบวกให้ไปจับกับฝุ่นละออง จากนั้นอนุภาคของฝุ่นละอองที่มีประจุบวกจะถูกดูดเข้าไปติดที่แผ่นโลหะซึ่งมีประจุลบภายในเครื่อง อากาศที่ออกมาจึงเป็นอากาศสะอาด จุดเด่นของเครื่องไออนเฟรช คือ สามารถกรอง 'ฝุ่น PM 2.5' และเมื่อฝุ่นละอองเกาะเต็มแผ่นโลหะสามารถถอดไปล้างทำความสะอาดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ที่สำคัญการกรองฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตสามารถออกแบบแผงกรองฝุ่นให้ลมผ่านง่าย ไม่ลดแรงลมในการดูดกรองฝุ่นละออง ทำให้พัดลมดูดฝุ่นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ประหยัดไฟฟ้า

อย่างไรก็ดี ในอนาคตนอกจากทีมวิจัยของ สวทช. จะพัฒนาไปใช้ในพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่แล้วยังมองไปถึงการกำจัดฝุ่นที่แหล่งกำเนิด ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ยังไม่มีการใช้เทคโนโลยีป้องกันฝุ่นละอองออกสู่สาธารณะเนื่องจากเทคโนโลยีต่างประเทศยังมีราคาแพงอยู่มาก แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเครื่อง ไอออนเฟรชสามารถพัฒนาและผลิตได้แล้วในประเทศโดยนักวิจัยไทยและราคาถูกกว่าต่างประเทศหลายเท่า

นอกจากนี้ อว. โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย ร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ สร้างแพลตฟอร์มการตรวจวัดและข้อมูลค่าฝุ่นละอองที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้ข้อมูลกับประชาชนอย่างทันท่วงที ผ่าน "ศูนย์เฝ้าระวังคุณภาพอากาศ" ซึ่งนับเป็นแพลตฟอร์มสำคัญในการตรวจวัดและข้อมูลค่าฝุ่นละอองที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้ข้อมูลกับประชาชนอย่างทันท่วงที ผ่านระบบข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเบ็ดเสร็จ ผ่านเว็บไซต์ https://pm2_5.nrct.go.th โดยจะแสดงผลคุณภาพอากาศจากการรวบรวมข้อมูลการรายงานค่าความเข้มข้นฝุ่นละออง PM2.5 และ PM10 จากหลายๆ หน่วยงานทั่วประเทศ รวมจุดติดตั้งประมาณ 800 จุด ซึ่งจะนับเป็นฐานข้อมูลแบบเบ็ดเสร็จที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Single Database) เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลและการรายงานผลคุณภาพ โดยเฉพาะปริมาณ PM2.5, PM10 และ ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index) มีความแตกต่างกันในแต่ละหน่วยงาน/สถานีตรวจวัด ทำให้ขาดการบูรณาการการเชื่อมโยงข้อมูล โดยจุดเด่นคือการสามารถรายงานสภาพอากาศรายชั่วโมง รายวัน (Real-time) รวมทั้งคาดการณ์สภาพคุณภาพอากาศล่วงหน้า 3 วัน (AQI Forecast) เพื่อให้ประชาชนสามารถเตรียมตัวได้ พร้อมทั้งให้ข้อมูลการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและคำแนะนำในการรับมือสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถเข้าถึงประชาชนได้โดยง่าย พร้อมบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ เช่นโรงเรียน โรงพยาบาล พร้อมทั้งร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการขยายผลและติดตั้งเครื่องวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก Dustboy ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั่วประเทศ และคาดว่าจะติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศได้จำนวน 8,000 แห่งทั่วประเทศ

สุวิทย์ สั่งการเร่งด่วนขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนออนไลน์ ลดความเสี่ยงนักศึกษาผจญฝุ่น PM2.5 สุวิทย์ สั่งการเร่งด่วนขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนออนไลน์ ลดความเสี่ยงนักศึกษาผจญฝุ่น PM2.5 สุวิทย์ สั่งการเร่งด่วนขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนออนไลน์ ลดความเสี่ยงนักศึกษาผจญฝุ่น PM2.5

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง