อว. ฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5 ยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ ชู 7 มาตรการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

จันทร์ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๑๓:๒๕
"สุวิทย์" เดินหน้าฝ่าวิกฤติฝุ่นพิษ ยกระดับ PM2.5 เป็นวาระแห่งชาติ ชี้นับจากนี้ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับ PM2.5 ทุกปี สั่งระดมผลงานวิจัยแก้ปัญหาเร่งด่วย ด้าน วช.เสนอ 7 มาตรการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
อว. ฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5 ยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ ชู 7 มาตรการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ได้ยกระดับการแก้ไขปัญหา PM2.5 เป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากสถานการณ์เรื่องฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยได้กลายเป็นภัยคุกคามของคนไทยทั้งประเทศที่ต้องเผชิญทุกปี สามารถเกิดได้ในทุกภูมิภาคของประเทศในเวลาที่แตกต่างกัน เริ่มจากในช่วงปลายปีจนถึงกุมภาพันธ์ ควันพิษจะล่องลอยอยู่ในกรุงเทพฯ และภาคกลาง ขณะที่ภาคอีสานจะรับช่วงต่อจากกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนมีนาคม พร้อมๆ กับภาคเหนือที่จะประสบปัญหาฝุ่นพิษ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน แต่เมื่อผ่านกลางปีไปตั้งแต่มิถุนายนถึงตุลาคม ภาคใต้จะเต็มไปด้วยหมอกควัน เป็นวัฏจักรวนเวียนเช่นนี้ทุกปี

"ผมได้ให้โจทย์ใหญ่กับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ในการแก้ไขประเด็นที่ท้าทาย (Grand Challenge) โดยต้องระดมผลงานวิจัยทั้งหมดในการปัญหาดังกล่าว โดยมี 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1. ทำอย่างไรที่จะลดการเกิดฝุ่นที่ต้นกำเนิด 2. ทำอย่างไรที่จะมีกลไกลในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการควบคุมปริมาณฝุ่น และสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ 3. การดูแลประชาชนว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร"

ด้าน ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และผู้อำนวยการสำนักการงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า ปัญหามลพิษทางอากาศ ของประเทศไทยกำลังเป็นปัญหาระดับชาติ และสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดล็กไม่เกิน 25 ไมครอน หรือ PM25 ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ได้ทวีความรุนแรงอยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระหบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึง ส่งผลกระทบเชิงลบในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและเศรษฐกิของประทศ กระทรวง อว. โดย สำนักงานการวิชัยแห่งชาติ (วช) ได้ร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วิคราะห์ปัญหาค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM25 เกินค่ามาตรฐาน จึงพร้อมหนุน 7 มาตรการผชิญเหตุเร่งผลักดันการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันจึงร่วมกันนำเสนอเป็นมาตรการ 7 เรื่อง ประกอบด้วย

เรื่องที่ 1 มาตรการการลดฝุ่นจากแหล่งกำเนิดทุกจุดอย่างเป็นระบบ ใช้ผลการศึกษาวิจัยสาเหตุการสะสมของควันและฝุ่นละอองในอากาศ จากการใช้เชื้อเพลิงในภาคคมนาคม อุตสาหกรรม และการเผาในพื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่าในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยและของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อหยุดการเกิดฝุ่นจากแหล่งกำเนิดทุกจุดทุกพื้นที่ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กลไกลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลว่าความถูกต้องเป็นอย่างไร และเปิดผลข้อมูลออกไป ก็จะเป็นกลไกที่สำคัญและจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

เรื่องที่ 2 มาตรการระยะสั้นเร่งด่วนเพื่อลดฝุ่นจากการคมนาคม ลดการใช้รถส่วนบุคคล และรถขนส่งที่เกิดฝุ่น PM 2.5 ได้สูง โดยให้สามารถทำงานจากบ้าน (Work from Home) เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษาใช้บริการขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้าและระบบขนส่งมวลชน และเพิ่มรถเมล์ปลอดควัน เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลให้มากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติ รวมถึงมาตรการ Park & Ride (จอดและจร) ด้วยบริการรถรับ-ส่ง จากจุดจอดรถชานเมืองเข้าถึงตัวเมืองโดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายการเดินทางจากจุดจอดรถแล้วจร ซึ่งในมาตรการนี้ อว. ได้มีการประกาศนโยบายลดการเดินทางโดยไม่จำเป็นและลดการใช้รถส่วน ส่งเสริมการใช้บริการรถขนส่งคมนาคม พร้อมให้มหาวิทยาลัย โรงเรียน อยู่ในการดูแลส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา มีการใช้การขนส่งสาธารณะมากขึ้น รวมถึงการเสนอมาตรการเหลื่อมเวลาทำงานของส่วนราชการ

เรื่องที่ 3 มาตรการลดและหยุดการเผาในที่โล่ง และบริหารจัดการควบคุมการเผาผ่านระบบสารสนเทศ (IT Management) ให้มีการลงทะเบียนเพื่อจัดกลุ่มและควบคุมช่วงเวลา/อัตราการเผา/ทิศทางลม เพื่อลดความหนาแน่นของฝุ่นควันจากการเผา (Peak Load)

เรื่องที่ 4 มาตรการการเผยแพร่ข้อมูลค่า PM 2.5 อย่างทันท่วงที ถูกต้อง เข้าใจง่าย เพื่อให้ประชาชนสามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละวันได้ และพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จะแจ้งรายงานผลและคำแนะนำประจำวันจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลง และเร่งติดตั้งเครื่องวัดปริมาณฝุ่น Dust Boy เพิ่มขึ้นให้มีจุดวัด 8,000 จุดทั่วประเทศ

เรื่องที่ 5 มาตรการลดผลกระทบสุขภาพของประชาชน เมื่อค่า PM 2.5 มีปริมาณสูงขึ้น ต้องมีกลไกลสำคัญเร่งด่วนในการดูแลสุขภาพประชาชน เช่น แจ้งเตือน และรณรงค์ให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยที่ป้องกันฝุ่นได้ รวมทั้งการแจกหน้ากากอนามัยให้แก่ประชาชน การลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าอุปกรณ์การตรวจวัดให้เข้าถึงได้ อุปกรณ์ความปลอดภัย หน้ากากอนามัย ใช้กลไกลเรื่องภาษี และการวิจัย จัดให้มีพื้นที่ปลอดภัยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ สำหรับประชากรที่มีความอ่อนไหว เช่น นักเรียน นักศึกษา หรือพื้นที่ในโรงพยาบาล

เรื่องที่ 6 มาตรการขับเคลื่อนการวิจัยและใช้ประโยชน์จากการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม และขยายผลไปสู่การใช้ประโยชน์โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาเซ็นเซอร์วัดอนุภาคฝุ่น ในอากาศแบบเรียลไทม์ การพัฒนาและใช้เครื่องลดฝุ่นในรูปแบบต่าง ๆ และการประยุกต์ใช้ในเครือข่ายนานาชาติและบริหารความเสี่ยงต่อสุขภาพในเมืองอัจฉริยะ จัดกิจกรรมตอบโจทย์ประเด็นท้าทาย (Grand Challenge) ทำโดยวิจัย นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ด้วยวิธีให้ทุนและการประกวดนวัตกรรมการตรวจวัดและการลดฝุ่น (ประกวดกิจกรรม X-PRIZE) ขยายผลโครงการประเทศไทยไร้หมอกควัน ระยะที่ 3 มีการพัฒนาระบบข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเบ็ดเสร็จ (NRCT Air Quality Information Center: NRCT AQIC) และการนำวิจัยนวัตกรรมไปจัดการกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กจากการเผา

เรื่องที่ 7 มาตรการระยะยาว เป็นกลุ่มมาตรการซึ่งทางเครือข่ายนักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้อง คิดว่าจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เช่น การเสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การแก้ปัญหาหมอกควันข้ามแดน การดูแลส่งเสริมอาชีพใหม่ที่ยั่งยืน และการจัดตั้งเครือข่ายบูรณาการแก้ปัญหา รวมทั้งกลไกลการปลูกพืชคลุมดิน ทำฝายชะลอน้ำเพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ รวมทั้งโครงการที่กระทรวง อว.มีอยู่แล้ว เรื่องการส่งเสริมพัฒนาเมืองเพื่อลดปัญหาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต

อว. ฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5 ยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ ชู 7 มาตรการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน อว. ฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5 ยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ ชู 7 มาตรการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน อว. ฝ่าวิกฤติฝุ่น PM 2.5 ยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ ชู 7 มาตรการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง