ไทยคม แจ้งยุติการใช้งานดาวเทียมไทยคม 5

พฤหัส ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๑๖:๔๘
บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการดาวเทียม รายงานว่าบริษัทฯ ได้ดำเนินการโอนย้ายลูกค้าออกจากดาวเทียมไทยคม 5 ไปยังดาวเทียมไทยคม 6 และดาวเทียมดวงอื่นๆ เสร็จสิ้นแล้ว เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา และได้ยุติการใช้งานดาวเทียม และทำการปลดระวางดาวเทียมไทยคม 5 แล้ว เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 16.52 น. (ตามเวลาประเทศไทย) บริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการบริหารดาวเทียมเพื่อให้ลูกค้าผู้ใช้งานได้รับบริการที่ต่อเนื่อง และได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
ไทยคม แจ้งยุติการใช้งานดาวเทียมไทยคม 5

ดาวเทียมไทยคม 5 ได้เกิดเหตุขัดข้องขึ้นเมื่อวันที่

17 ธันวาคม 2562 ส่งผลให้มีข้อจำกัดทางเทคนิคในการตรวจสอบสถานะดาวเทียมไทยคม

5 บริษัทฯ ได้พยายามดำเนินการกู้คืนระบบที่ขัดข้องตามคำแนะนำของผู้ผลิตดาวเทียมและผู้เชี่ยวชาญหลายครั้ง

แต่ไม่สามารถทำการกู้คืนระบบได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้ผลิตจึงแนะนำให้บริษัทฯ ดำเนินการปลดระวางดาวเทียม

ทั้งนี้ ดาวเทียมไทยคม 5 มีการใช้งานมาแล้วร่วม 14 ปี โดยส่งขึ้นสู่วงโคจรตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549 บริษัทฯ ขอขอบพระคุณกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นอย่างสูงที่เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนของสถานการณ์และสนับสนุนแนวทางการแก้ไขปัญหา ตลอดจนให้การอนุญาตเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆ ในเรื่องนี้เป็นอย่างดี

เกี่ยวกับไทยคม

บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)

ผู้ให้บริการดาวเทียมไทย

มีภารกิจหลักในการให้บริการด้านการสื่อสารโดยเน้นสร้างการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายดาวเทียมทั้งบรอดคาสต์และบรอดแบนด์

ด้วยนวัตกรรมที่ล้ำหน้า ความเป็นมืออาชีพของทีมงาน บริการที่หลากหลายครบวงจร

และเทคโนโลยีที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย จนถึงปัจจุบัน

บริษัทได้จัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรแล้วทั้งสิ้นจำนวน 8 ดวง

โดยมีดาวเทียมที่ยังคงให้บริการอยู่จำนวน 5 ดวง

คือ ไทยคม 5 ไทยคม 6 ไทยคม 7 และล่าสุดคือ ดาวเทียมไทยคม 8 ซึ่งเป็นดาวเทียมบรอดคาสต์ ให้บริการถ่ายทอดสัญญาณรายการโทรทัศน์

ครอบคลุมประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย อยู่ในตำแหน่งวงโคจรหลัก "Hot

Bird" ที่ 78.5 องศาตะวันออก โดยมีจานหันเข้ารับสัญญาณจำนวนมาก นอกจากนี้ สำหรับการสื่อสารบรอดแบนด์ ดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ซึ่งเป็นดาวเทียมบรอดแบนด์ดวงแรกของโลก

ได้สนับสนุนโครงข่ายการสื่อสารด้วยปริมาณช่องสัญญาณที่เพิ่มขึ้น

พื้นที่ให้บริการที่ครอบคลุม

รวมถึงนวัตกรรมที่มีศักยภาพทางธุรกิจและเทคโนโลยีดาวเทียมที่โดดเด่นในระดับคุณภาพมาตรฐานโลก

ด้วยแนวคิด “Connectivity for Sustainability” ไทยคมได้ให้บริการทั้งภาคธุรกิจ

ภาครัฐ และตอบไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

นอกจากความรับผิดชอบในการให้บริการติดต่อสื่อสารในภาวะปกติแล้ว

ไทยคมยังมีจุดแข็งในการเชื่อมต่อการสื่อสารได้อย่างไร้รอยต่อ

เช่นการสื่อสารในภาวะภัยพิบัติหรือในพื้นที่เข้าถึงได้ยาก และทั้งหมดนั้น

ถือเป็นความมุ่งมั่นของไทยคม ในการสร้างโอกาส สร้างอนาคต สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ตามเป้าหมายการก้าวสู่ความเป็นผู้นำในธุรกิจดาวเทียมแห่งเอเชีย

ที่ยังคงความเป็นพลเมืองดีของสังคมไทยต่อไป

บริษัท

ไทยคม จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2534

และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “THCOM”

เกี่ยวกับดาวเทียมไทยคม5

ดาวเทียมไทยคม

5

เป็นดาวเทียมบรอดคาสต์และมีเดีย โดยได้จัดส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2549 ที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก

โดยมีบริษัท ธาเลซ อลิเนีย สเปซ แห่งประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ผลิตดาวเทียม และ บริษัท

แอเรียนสเปซ ประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ให้บริการจัดส่งดาวเทียม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๙ ม.กรุงเทพ เห็นถึงคุณค่าพลังงานที่ยั่งยืนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสกิลตรง
๑๖:๐๗ แอลจีเผยผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2024 ผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรมพร้อมรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจหลักและการเติบโตในอนาคตเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ
๑๖:๓๕ ฮั้วฟง รับเบอร์ฯ (HFT) จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.โหวตผ่านฉลุยทุกวาระ
๑๖:๕๒ ซีเอ็ด เปิดสาขาใหม่ที่ตราด! บริจาคหนังสือ 2 แสนบาท หนุนการอ่านในท้องถิ่น
๑๖:๕๙ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52
๑๖:๕๙ ปรับการนอนหลับของคุณให้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยฟีเจอร์ใน HUAWEI Band 9
๑๖:๓๔ ไฮเออร์ ประเทศไทย โชว์ศักยภาพแกร่ง พาเหรดทัพนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ร่วมจัดแสดงในงาน China Enterprise Product Resources
๑๖:๑๐ สถานทูตอิตาลี เปิดศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าแห่งใหม่ในกรุงเทพ
๑๖:๕๒ CHAYO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ไฟเขียวทุกวาระ
๑๖:๑๓ ผู้บริหารบางจากฯ แชร์แนวทางขับเคลื่อนการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 2 เวที