บลจ.ไทยพาณิชย์จ่ายปันผล 3 กองทุนตปท.หุ้นอินเดีย-ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่-โกลบอลเฮลธ์แคร์ มูลค่ารวมกว่า 27 ล้านบาท

พฤหัส ๑๙ มีนาคม ๒๐๒๐ ๑๑:๔๒
นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่าบริษัทฯ เตรียมจ่ายปันผลกองทุนต่างประเทศพร้อมกันจำนวน 3 กองทุน มูลค่ารวมกว่า 27 ล้านบาทในวันที่ 24 มีนาคม 2563 นี้ สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2562 – วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นอินเดีย (SCBINDIA) จ่ายปันผลในอัตรา 0.2133 บาทต่อหน่วย ซึ่งได้มีการจ่ายระหว่างกาลแล้วเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2562 จำนวน 0.1100 บาทต่อหน่วย คงเหลือจ่ายงวดนี้ 0.1033 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 8 รวมจ่ายปันผลจำนวน 0.9083 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2558) มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ iShares India 50 ETF ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (NASDAQ) บริหารงานภายใต้ความดูแลของ BlackRock และมีนโยบายลงทุนในหุ้นที่เป็นส่วนประกอบของ CNX NIFTY Index เพื่อให้ผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกับผลตอบแทนของ CNX NIFTY Index TR USD
บลจ.ไทยพาณิชย์จ่ายปันผล 3 กองทุนตปท.หุ้นอินเดีย-ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่-โกลบอลเฮลธ์แคร์ มูลค่ารวมกว่า 27 ล้านบาท

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ตราสารหนี้ตลาดเกิดใหม่(SCBEMBOND) จ่ายปันผลในอัตรา 0.2791 บาทต่อหน่วยนับเป็นการจ่ายปันผลครั้งที่ 4รวมจ่ายปันผลจำนวน0.6897 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2556) มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนJPMorgan Funds – Emerging Markets Investment GradeBond Fund ชนิดหน่วยลงทุนShare Class C (ACC) ลงทุนด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ(USD) เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับที่สามารถลงทุนได้ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่บริหารงานโดยJ.P Morgan Asset Management

สำหรับอีก1 กองทุน คือ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นโกลบอลเฮลธ์แคร์(SCBGHC) สำหรับงวดผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2562 – วันที่ 29 กุมภาพันธ์2563 โดยจ่ายปันผลในอัตรา 0.1584 บาทต่อหน่วยนับเป็นการจ่ายปันผลครั้งที่ 4 รวมจ่ายปันผลจำนวน0.5737 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2558) ทั้งนี้กองทุน SCBGHC มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ Janus Global Life SciencesFund ชนิดหน่วยลงทุน I Share Class (InstitutionalShare Class) สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ เน้นการลงทุนในหุ้นของบริษัทต่างๆทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ในการดำเนินชีวิต (Life Sciences) หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาหรือยกระดับคุณภาพชีวิตได้แก่ บริษัทด้านการวิจัย พัฒนาผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เกี่ยวข้องสุขภาพผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลตัวเอง การแพทย์หรือเภสัชกรรมรวมไปถึงบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตหลักมาจากผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีการจดสิทธิบัตร หรือตลาดอื่นใดที่ได้รับประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตเป็นต้น

นายณรงค์ศักดิ์กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นอินเดียมีความผันผวนมากขึ้นด้วยค่าเงินรูปีที่อ่อนค่าลง ซึ่งเกิดจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้ตลาดมีความกังวลต่อดุลการค้าของอินเดียว่าจะมีการขาดดุลเพิ่มเนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันเป็นหลักถึงเกือบร้อยละ 80ของความต้องการด้านพลังงานเชื้อเพลิงในประเทศ รวมไปถึงเมื่อช่วงต้นปี 2562 มีการปะทะกันระหว่างอินเดียและปากีสถานบริเวณดินแดนแคชเมียร์ ที่ทำให้องค์ประกอบโดยรวมของตลาดอินเดียไม่ดีเหมือนตลาดอื่นๆ ในเอเชีย ทั้งนี้ หลังจากที่นาย นเรนทระ โมที ได้ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งและมีเสียงส่วนใหญ่ในสภาทำให้ตลาดปรับตัวดีขึ้นอย่างไรก็ดี ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้ธนาคารกลางอินเดียได้มีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นสภาพคล่องของตลาดและเศรษฐกิจรวมไปถึงนโยบายจากรัฐบาลที่ออกมาเพิ่มทุนให้ธนาคารรัฐที่มีหนี้เสียและนโยบายปฏิรูประบบธนาคารเพื่อจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องและสามารถที่จะปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจต่อไป อย่างไรก็ดีธนาคารกลางอินเดียมีการปรับลดดอกเบี้ยลงมาอย่างต่อเนื่องในปี 2562 จากอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 6 มาอยู่ที่ 5.15 ซึ่งยังสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้อีกหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19ยังไม่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ด้วยราคาน้ำมันที่ต่ำลงอย่างหนักในช่วงหลังจะช่วยเรื่องเงินเฟ้อสูงในอินเดียได้

สำหรับภาพรวมการลงทุนตราสารหนี้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวค่อนข้างผันผวนโดยในช่วงครึ่งปีแรกราคาของตราสารปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในหลายประเทศที่ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับตัวลดลงทำให้มีเงินทุนไหลเข้าตราสารหนี้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่ได้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่านอกจากนี้ประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่มีท่าทีผ่อนคลายลงก็เป็นอีกปัจจัยสนับสนุนให้นักลงทุนส่วนใหญ่มีมุมมองที่ดีต่อตราสารกลุ่มนี้สำหรับการแพร่ระบาดของCOVID-19 ในช่วงต้นปี 2563และการประกาศสงครามราคาน้ำมันของซาอุดิอาระเบียกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่กดดันให้มีเงินทุนไหลออกจากตราสารเสี่ยงทั่วโลกจากความไม่แน่นอนถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากทั้งสองเหตุการณ์อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้คาดว่านโยบายการเงินและการคลังฉุกเฉินที่ประกาศออกมาในหลายประเทศจะช่วยประคับประคองและจำกัดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดได้ในระดับหนึ่ง

ส่วนภาพรวมหุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ ตั้งแต่ต้นไตรมาส4/2562 ตลาดหุ้นในกลุ่มพัฒนาแล้วปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังได้รับแรงหนุนจากจากสภาพคล่องที่ขยายตัวภายหลังธนาคารกลางของสหรัฐฯ และ สหภาพยุโรปได้ดำเนินการมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(QuantitativeEasing) และแสดงจุดยืนที่จะดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปอีกทั้งประเด็นสงครามทางการค้าดูมีท่าทีที่ดีขึ้น หลังสหรัฐฯและจีนบรรลุข้อตกลงทางการค้า Phase I ได้สำเร็จ ประกอบกับการเมืองในสหราชอาณาจักรมีแนวโน้มที่ดีขึ้นภายหลังการจัดการเลือกตั้งและพรรคConservative ของ นายบอริส จอห์นสันครองเสียงข้างมากในสภา อีกทั้งยังครองเสียงเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งก่อน ซึ่งคาดว่าจะช่วยหนุนให้ร่างข้อตกลงBrexitฉบับใหม่ผ่านสภาได้ในที่สุด

อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563ที่ผ่านมา สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกเกิดเผชิญความผันผวนตลาดหุ้นทั่วโลกถูกกดดันอย่างหนักจากโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ดูจะทวีความรุนแรงขึ้น หลังพบการกระจายตัวของผู้ป่วยไปในหลาย ประเทศสร้างความกังวลถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวทั่วโลกที่ชะลอตัวลงการจับจ่ายใช้สอยที่ลดลงรวมถึงการหยุดชะงักและการขาดตอนของโซ่อุปทาน (SupplyChain Disruption) ซึ่งคาดว่าตลาดหุ้นทั่วโลกอาจเผชิญความผันผวนอยู่ในระยะสั้นแต่อย่างไรก็ดี การปรับฐานของราคาที่เกิดขึ้น ทำให้ Valuation ของกลุ่ม Healthcare มีความน่าสนใจมากขึ้นอีกทั้งในระยะยาวนั้น กลุ่ม Healthcare ยังคงได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและนวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ๆ รวมถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้นและความเจริญที่ขยายตัวทั่วโลกที่จะเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมต่อไป

ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ SCBAM Call Centerโทร.02-777-7777 กด 0 กด 6หรือผู้สนับสนุนการขายทุกราย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง