ความงงเมื่อถูกวัดอุณหภูมิร่างกาย!

ศุกร์ ๐๓ เมษายน ๒๐๒๐ ๑๓:๓๒
โดย ดร. อธิคม มาน้อย นักมาตรวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานมาตรฐานปฐมภูมิอุณหภูมิ ฝ่ายมาตรวิทยาอุณหภูมิและแสง สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) ทำไมเดินเข้าตึกหนึ่ง วัดอุณหภูมิร่างกายของเราได้ค่าหนึ่ง พอเข้าอีกตึกได้อีกค่าหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่เท่ากันเลย วันนี้สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติจะมาไขข้อสงสัยให้ฟังกัน
ความงงเมื่อถูกวัดอุณหภูมิร่างกาย!

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเรื่องอุณหภูมิร่างกายของคนก่อนว่า อุณหภูมิร่างกายของเราสามารถวัดได้จากตำแหน่งต่างๆของร่างกาย (measuring site) เช่น ในช่องปาก ในช่องหู ทวารหนัก รักแร้ กระเพาะอาหาร หรือ หลอดเลือด Pulmonary เป็นต้น (อย่างหลังๆ มักวัดขณะทำการผ่าตัด) โดยอุณหภูมิที่วัดได้นี้ในแต่ละตำแหน่งก็จะมีค่าไม่เท่ากัน ฉะนั้นเมื่อจะเปรียบเทียบอุณหภูมิแล้วต้องบอกด้วยว่าเป็นอุณหภูมิร่างกายที่วัดจากตำแหน่งไหน และอุณหภูมิร่างกายแม้วัดจากตำแหน่งเดียวกัน ในแต่ละคนก็อาจไม่เท่ากันอีกด้วย เพราะอุณหภูมิร่างกายยังขึ้นอยู่กับ อายุ น้ำหนัก ความสามารถในการเผาผลาญพลังงาน กิจกรรมที่ทำ เวลาในการวัดอุณหภูมิ (อุณหภูมิร่างกายขณะหลับจะมีอุณหภูมิต่ำ และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามกิจกรรมที่ทำ ในช่วงกลางวันจะมีอุณหภูมืสูงสุดและเริ่มลดลงเมื่อเข้าช่วงเวลาพักผ่อน นอนหลับ) ดังนั้น ถึงแม้วัดอุณหภูมิจากตำแหน่งเดียวกัน และจากคนเดียวกัน ก็ไม่แปลกที่จะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย อุณหภูมิร่างกายที่เสถียรคือมีการเปลี่ยนแปลงน้อยได้แก่อุณหภูมิที่วัดจากแกนกลางของร่างกาย เช่น การวัดจากกระเพาะอาหารหรือหลอดเลือด เรียกว่า อุณหภูมิแกนกลางร่างกาย(core body temperature)

อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือการนำเครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก (Forehead thermometer) และกล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal camera) มาใช้ทำการวัดอุณหภูมิร่างกาย ทำให้คนทั่วไปที่อาจไม่คุ้นเคยและขาดความเข้าใจในการใช้งานและแปลความ อาจมีความเข้าใจผิดต่อการวัด อย่างที่เคยบอกก่อนหน้านี้ว่าเครื่องวัดอุณหภูมิทางการแพทย์มีโหมดการใช้งานสองโหมด คือ

โหมดการวัดตรง (Direct mode) ที่แสดงค่าผลการวัดอุณหภูมิโดยตรง (ไม่มีการปรับแก้ค่า หรือ correction) หรือพูดง่ายๆว่า เซนเซอร์วัดอุณหภูมิวัดได้เท่าไหร่ก็แสดงค่าเท่านั้น โหมดการปรับแก้ (adjusted mode) คือโหมดที่แสดงค่าอุณหภูมิโดยมีการปรับแก้ค่าอุณหภูมิจากโหมดการวัดตรงด้วยค่าแก้ค่าหนึ่ง ซึ่งค่าแก้นี้ได้จากการทดสอบทางคลินิก (Clinical test) ตามวัตถุประสงค์แต่ละเครื่องมือ

ซึ่งอาจจะยังงง ว่าหมายถึงอะไร ขอยกตัวอย่าง เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผากยี่ห้อหนึ่งที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น หากศึกษาคู่มือดีๆ ก็จะบอกว่าเครื่องมีสองโหมด คือ โหมดวัดอุณหภูมิพื้นผิว (surface temperature) ซึ่งก็คือ โหมดการวัดตรง ใช้ในการวัดอุณหภูมิพื้นผิวของวัตถุใดๆก็ตาม และโหมดวัดอุณหภูมิร่างกาย (Body temperature) ซึ่งคู่มือยังระบุอีกว่าเป็นการแสดงค่าอุณหภูมิร่างกาย ณ ตำแหน่งช่องปาก ซึ่งเครื่องจะแสดงค่าเช่นนี้ได้เพราะบริษัทผู้ผลิตได้ทำ clinical test ด้วยการวัดอุณหภูมิเปรียบเทียบระหว่างอุณหภูมิหน้าผากและอุณหภูมิในช่องปากจากจำนวนประชากรที่มากพอตามที่มาตรฐานกำหนดก่อน ว่ามีค่าเฉลี่ยเท่าไหร่ แล้วจึงเขียนฟังก์ชั่นปรับแก้ค่านี้ให้กับเครื่องวัดอุณหภูมิผิวหนังที่ผลิตขึ้น ซึ่งโหมดนี้ก็จะเป็นโหมดการปรับแก้ตามที่กล่าวข้างต้น ตัวอย่างของผลการทดสอบทางคลินิก ณ อุณหภูมิสภาวะแวดล้อม 23 ?C ของเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายยี่ห้อนี้โดยประมาณ ได้แก่

อุณหภูมิหน้าผาก (?C)

33.5 34.5 35.0 35.5

อุณหภูมิในช่องปาก (?C)

36.536.837.337.8

ดังนั้น เมื่อใช้เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผากนี้ทำการวัดอุณหภูมิหน้าผาก (อุณหภูมิแวดล้อม 23 ?C) ในโหมด surface ได้ค่าอุณหภูมิ 34.5 ?C ก็ไม่ต้องตกใจว่าตัวเองมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ (37 ?C) เพราะอุณหภูมิร่างกาย(ในช่องปาก)จริงๆ คือ 36.8 ?C ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติ และเพื่อป้องกันความสับสน ผู้ใช้งานควรเลือกใช้งานโหมดการวัดให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด

ปัญหาเช่นเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นในการวัดอุณหภูมิหน้าผากด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน ซึ่งโดยทั่วไปกล้องถ่ายภาพความร้อนจะไม่มีโหมดปรับแก้ หรือพูดง่ายๆว่า กล้องถ่ายภาพความร้อนโดยทั่วไปไม่สามารถแสดงค่าอุณหภูมิร่างกายได้ ดังนั้นเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาว่าคนไหนมีไข้หรือไม่ จะไม่ใช่ 37.5 ?C อย่างกรณีการวัดด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิทางการแพทย์อื่น (อันนี้ก็ไม่ทราบเช่นกันว่า ตามจุดคัดกรองต่างๆใช้เกณฑ์ใดเพราะไม่มีประกาศเหมือนเกณฑ์ 37.5 ?C)

ฉะนั้นหวังว่าเมื่ออ่านจบ ท่านจะแยกได้ว่าเมื่อวัดอุณหภูมิของตัวเองมาแล้ว จะประเมินว่าตนเองมีไข้หรือไม่อย่างไร หรือสามารถใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายได้ถูกต้องมากขึ้น

หมายเหตุ : การอุณหภูมิผิวหนังหรืออุณหภูมิหน้าผากไม่ถือเป็นอุณหภูมิร่างกาย (ISO 80601-2-56)

สามารถชมคลิปเรื่องการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายได้ที่ https://www.facebook.com/259082827464427/posts/2932577686781581?d=n&sfns=mo

ความงงเมื่อถูกวัดอุณหภูมิร่างกาย!

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง