GET ร่วมกับ ททท. และสมาคมโรงแรมไทย สนับสนุนธุรกิจโรงแรมในช่วง COVID-19 เปิดตัวแคมเปญ “Flavors from Top Hotels” ส่งเมนูจากโรงแรมดังถึงบ้านคุณ

จันทร์ ๑๓ เมษายน ๒๐๒๐ ๑๑:๕๔
GET (เก็ท) ผู้ให้บริการแบบออนดีมานด์เพื่อไลฟสไตล์คนเมืองและแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เติบโตเร็วที่สุดในกรุงเทพฯ จับมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และสมาคมโรงแรมไทย เปิดตัวแคมเปญ “Flavors from Top Hotels” ในการสนับสนุนธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพฯ ให้เข้ามาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ GET และสามารถให้บริการเดลิเวอรี่ ส่งอาหารจากร้านอาหารชั้นนำของโรงแรม พร้อมส่วนลดค่าคอมมิชชั่น เพื่อช่วยลดภาระและสร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้
GET ร่วมกับ ททท. และสมาคมโรงแรมไทย สนับสนุนธุรกิจโรงแรมในช่วง COVID-19 เปิดตัวแคมเปญ Flavors from Top Hotels ส่งเมนูจากโรงแรมดังถึงบ้านคุณ

ผู้ใช้ของ GET สามารถช่วยเหลือธุรกิจโรงแรมต่างๆ โดยการเลือกสั่งอาหารจากร้านอาหารของ 9 โรงแรม ทั่วกรุงเทพฯ อาทิ โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอร์ราตัน โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ โรงแรมนารายณ์ โรงแรมเดอะ เฮอริเทจ และอื่นๆ ได้แล้ววันนี้ผ่านแอพพลิเคชั่น GET

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ผลักดันแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย โดยการผลักดันมาตรการด้านการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่อง มาตรการด้านการให้ความช่วยเหลือแรงงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและมาตรการด้านภาษี โดยพิจารณาโอกาสที่ประชาชนปรับพฤติกรรมสู่การทำงานในลักษณะ Work from Home ททท. จึงได้ผลักดันให้โรงแรมต่าง ๆ นำเสนออาหารที่ให้บริการในโรงแรมแก่ประชาชนในช่วงสถานการณ์ COVID-19 นี้ โดยคาดหวังว่าจะสร้างสภาพคล่องให้แก่ธุรกิจโรงแรมและส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน ตลอดทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์ร้านอาหารในโรงแรมต่าง ๆ ให้ประชาชนได้มีโอกาสไปใช้บริการหลักจากผ่านพ้นวิกฤติการณ์ในอนาคตอันใกล้นี้”

นางสาวศุภวรรณ ถนอมเกียรติภูมิ นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า “ทางสมาคมมีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือธุรกิจโรงแรมในไทย ที่ตอนนี้ต่างประสบปัญหาในการทำธุรกิจอย่างเต็มกำลัง เมื่อก่อนการรับประทานอาหารที่โรงแรมอาจต้องเป็นในโอกาสพิเศษ ต้องควบคู่กับบริการชั้นเลิศที่โรงแรมเท่านั้น แต่ ณ สังคมตอนนี้ เราต้องการมีการปรับตัว และสามารถส่งมอบอาหารชั้นเลิศจากโรงแรมให้สามารถเข้าถึงคนทุกกลุ่มได้ถึงบ้าน สอดรับกับการ Social Distancing เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายของโรค COVID-19”

นายภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอพพลิเคชั่น GET กล่าวว่า “ตอนนี้ที่หลายทุกธุรกิจต้องจำกัดการให้บริการเหลือเพียงบริการซื้อกลับและเดลิเวอรี่ เพื่อช่วยลดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 แพลตฟอร์มของ GET จะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถเป็นตัวกลางเชื่อมร้านอาหารต่างๆ เข้ากับผู้ใช้หลายล้านคนของเรา เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสและช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจร้านอาหารต่างๆ ให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ โรแรมหลายแห่งเองก็ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและหันมาเสิร์ฟอาหารที่ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น เป็นอาหารกล่อง บ๊อกซ์เซ็ต เพื่อให้ตอบโจทย์คนที่ทำงานจากบ้าน GET เองอยากจะช่วยเหลือธุรกิจต่างๆ ให้ได้มากที่สุด และธุรกิจโรงแรมไทยเป็นหนึ่งในนั้น เพราะเราเชื่อว่าภาคการท่องเที่ยวจะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจไทยเมื่อวันที่วิกฤตครั้งนี้ได้ผ่านพ้นไป”

แคมเปญ “Flavors from Top Hotels” เป็นส่วนหนึ่งในความตั้งใจของ GET ในการช่วยสนับสนุนทุกภาคส่วนให้สามารถก้าวผ่านภาวะวิกฤตนี้ไปร่วมกันได้ โดย GET ยังมุ่งมั่นสนับสนุนธุรกิจอาหารต่างๆ โดยเฉพาะร้านเอสเอ็มอีให้สามารถเปิดบริการแบบเดลิเวอรี่และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น รวมถึงมีการรับสมัครคนขับเพื่อเพิ่มการจ้างงานสร้างรายได้ นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนร้านค้าและคนขับในช่วงเวลาเช่นนี้อีกด้วย

เกี่ยวกับ GET

GET (เก็ท) เป็นออนดีมานด์แอพพลิเคชั่นสำหรับหลากหลายบริการที่ก่อตั้งขึ้นโดยทีมงานคนไทย พร้อมด้วยเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญชั้นนำระดับโลก รวมถึงเงินลงทุนจาก Gojek (โกเจ็ก) โดย GET นำเสนอบริการต่างๆ มากมายเพื่อคนไทย รวมถึงบริการเรียกรถ ส่งพัสดุ ส่งอาหาร และอื่นๆ GET ก่อตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน รวมถึงช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้น

เกี่ยวกับ GOJEK

Gojek (โกเจ็ก) เป็นกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นหนึ่งในผู้เริ่มต้นคอนเซปต์ 'ซูเปอร์แอพ’ และโมเดลระบบอีโคซิสเต็มนี้ให้เกิดขึ้น Gojek เกิดจากความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาและลดความยุ่งยากในชีวิตประจำวัน โดยเป็นตัวกลางในการเชื่อมผู้บริโภคเข้ากับผู้ให้บริการและผู้จำหน่ายสินค้าต่างๆ ในตลาด

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2553 Gojek ในยุคเริ่มต้นเน้นที่ธุรกิจการขนส่งสินค้าและการเรียกรถจักรยานยนต์ ก่อนที่จะเปิดให้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นในเดือนมกราคมปี 2558 ในประเทศอินโดนีเซีย จากนั้น Gojek ได้เติบโตอย่างรวดเร็วจนกลายมาเป็นซูเปอร์แอพชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ให้บริการที่หลากหลาย ตั้งแต่การเดินทาง ดิจิตัลเพย์เมนต์ ส่งอาหาร โลจิสติกส์ และบริการแบบออนดีมานด์อีกมากมาย

ปัจจุบัน Gojek ดำเนินงานอยู่ในเมืองกว่า 207 แห่ง ใน 5 ประเทศ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเมื่อปลายปี 2562 แอพพลิเคชั่น Gojek รวมถึงระบบอีโคซิสเต็มทั้งหมด ได้มียอดดาวน์โหลดรวมแล้วกว่า 170 ล้านครั้ง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในฐานะซูเปอร์แอพ Gojek มุ่งมั่นในการแก้ปัญหาที่ผู้บริโภคต้องพบเจอในชีวิตประจำวัน และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้คนหลายล้านคนทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานอิสระ รวมถึงธุรกิจรายย่อย ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กต่างๆ

แอพพลิเคชั่น Gojek สามารถดาวน์โหลดได้แล้วทั้งสำหรับ iOS และ Android

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud