ชาวนาลานกระบือหันมาปลูกข้าวเปียกสลับแห้งแกล้งดิน ช่วยลดต้นทุน และโรคแมลง แถมได้ผลผลิตสูง

พฤหัส ๒๓ เมษายน ๒๐๒๐ ๑๓:๐๖
ปีนี้ประเทศไทยประสบภาวะภัยแล้งที่รุนแรงมากที่สุดในรอบ 40 ปี หลายพื้นที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในการทำเกษตรโดยเฉพาะชาวนา เมื่อแหล่งน้ำบนดินแห้งขอดหลายพื้นที่ต้องรอคอยน้ำฝนจากฟ้า แต่หลายแห่งยังคงทำนาปลูกข้าวได้โดยไร้ปัญหา เพราะขุนทรัพย์ที่มีค่าจากแหล่งน้ำใต้ดิน ดังเช่น ในพื้นที่อำเภอลานกระบือ และอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
ชาวนาลานกระบือหันมาปลูกข้าวเปียกสลับแห้งแกล้งดิน ช่วยลดต้นทุน และโรคแมลง แถมได้ผลผลิตสูง

นายสำเนา นาคสวัสดิ์ ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร (ศพก.) ตำบลหนองหลวง อำเภอลานกระบือ ให้สัมภาษณ์ว่า ที่นี่เราไม่เคยหยุดทำนา เพราะในพื้นที่ของอำเภอลานกระบือ มีแหล่งน้ำใต้ดินเกือบทุกตำบล รวมถึงอำเภอพรานกระต่าย อย่างทางเทศบาลคลองพิไกร เทศบาลตำบลเขาคีริส ที่มีแหล่งน้ำใต้ดินสามารถปลูกข้าวได้ตลอดทั้งปี เช่นที่ บ้านลำมะโกรก หมู่ที่ 2 ตำบลหนองหลวง ทำนาปลูกข้าว 3 ครั้งต่อปี เป็นนาปี 1 ครั้ง คือ เดือนสิงหาคม จะเป็นการปลูกข้าวหอมมะลิ และเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคม จากนั้นก็จะเริ่มทำนาปรัง 2 ครั้ง โดยจะเริ่มเดือนธันาคม ไปเก็บเดือนมีนาคม และปลูกอีกรอบในเดือนเมษายนแล้วไปเก็บเดือนกรกฎาคม จากนั้นก็เริ่มปลูกข้าวหอมมะลิอีกครั้งในเดือนสิงหาคม หมุนเวียนกันไปตลอดทั้งปี ที่นี่จึงไม่เคยหยุดทำนาเหมือนกับพื้นที่อื่น ข้าวที่ผลิตได้กว่า 1,000 ตันต่อปีจะมีตลาดรองรับ โดยผลผลิตส่วนใหญ่มาจากกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ มีสมาชิก 51 ราย มีพื้นที่รวมกันกว่า 700 ไร่

สำหรับเกษตรกรนาแปลงใหญ่ เป็นการรวมกลุ่มกันผลิตสินค้าเกษตรตามนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยรวมกลุ่มและบริหารจัดการร่วมกัน สร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชนและสามารถพึ่งพาตนเองได้ อาศัยแหล่งน้ำใต้ดินเป็นหลัก โดยจะมีบ่อบาดาลหรือบ่อน้ำตื้นใช้กันทุกบ้าน และทุกแปลง ๆ อาจมีบ่อน้ำได้ 4 - 6 บ่อ หนึ่งบ่อสามารถใช้น้ำได้กับพื้นที่ 10 - 20 ไร่ ประกอบกับในพื้นที่ยังมีบึงสาธารณะขนาดกว่า 300 ไร่ เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ ที่นี่จึงไม่เคยขาดแคลนน้ำ

นายสำเนา กล่าวต่อว่า ในอดีตเมื่อ 50 ปีก่อน พื้นที่ ต.หนองหลวง ฝนยังตกต้องตามฤดู จึงมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ถือเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำเกษตร กระทั่งกรมชลประทานเข้ามาขุดลอกคลองส่งน้ำ แม้ที่นี่จะไม่ได้รับน้ำโดยตรง แต่ก็ได้รับอานิสงส์จากการปล่อยน้ำมาตามคลองต่าง ๆ จากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง (คบ.ท่อทองแดง) สำนักงานชลประทานที่ 4 จังหวัดกำแพงเพชร คือ น้ำที่ซึมผ่านลงชั้นใต้ดิน เป็นการช่วยเติมน้ำใต้ดิน ทำให้บ่อที่มีความลึกประมาณ 15 เมตร มีน้ำอยู่ตลอดทั้งปี

แน่นอนว่า ในห้วงเวลาที่เกิดวิกฤตแล้งไปทั่ว ประกอบกับมีโครงการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทานภาคกลางตอนบน ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนการบริหารจัดการน้ำ สกสว. นายสำเนา บอกว่า แม้จะมีแหล่งน้ำใต้ดินให้ใช้ตลอดทั้งปี แต่คนในตำบลหนองหลวงก็หันที่ทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ซึ่งก็เป็นวิธีการลดการใช้น้ำแบบหนึ่ง อีกทั้งได้ผลผลิตข้าวมากถึง 1 ตันต่อไร่ ถือว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำที่ใช้

“การปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง หลังจากลงกล้าได้ 2 เดือน จะระบายน้ำออกจากแปลงนา ปล่อยให้น้ำแห้งประมาณ 15 วัน แล้วจึงปล่อยน้ำเข้า ทำสลับกันแบบนี้จนถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยว ซึ่งวิธีนี้นอกจากเป็นวิธีลดการใช้น้ำแล้ว ยังลดการรบกวนของแมลงศัตรูพืชได้อีกด้วย”

นายสำเนา กล่าวว่า โดยปกติทุกปีผลผลิตข้าวที่ได้จะอยู่ที่ 800 -1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าไม่มีการระบาดของแมลง และไม่ว่าจะทำนาด้วยวิธีเดิม หรือการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ผลผลิตที่ได้ไม่ต่างกัน จะใช้น้ำมากหรือใช้น้ำน้อยก็ได้ข้าว 1 ตันเหมือนกัน เราจึงเปลี่ยนมาเป็นการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งแทน ซึ่งก็ช่วยลดปริมาณน้ำใช้ลงได้ครึ่งหนึ่ง

ทั้งนี้จากข้อมูลของกรมชลประทานที่ได้ศึกษาวิจัย พบว่า การปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว สามารถลดปริมาณการใช้น้ำในการทำนาได้ถึง 28% ของปริมาณน้ำที่ใช้ในการทำนาแบบทั่วไป จากปกติจะใช้น้ำถึง 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่ถ้าทำนาแบบเปียกสลับแห้งจะใช้น้ำเพียง 860 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่เท่านั้น นอกจากจะลดการใช้ปริมาณน้ำลงแล้ว ยังช่วยให้ต้นทุนการผลิตข้าวลดลงทั้งเรื่องการใช้ปุ๋ย การใช้สารเคมี และน้ำมันเชื้อเพลิง ได้กว่า 40% รวมทั้งคุณภาพข้าวดีขึ้น และมีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นกว่าไร่ละ 1,200 ลูกบาศก์เมตร

การปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง ถือเป็นหนึ่งในวิธีการประหยัดน้ำในการทำนาที่หลายๆ ประเทศนำไปเป็นแบบอย่าง ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวแบบประหยัดน้ำโดยวิธีเปียกสลับแห้ง สามารถปลูกได้ทั้งนาปรังและนาปี

…เพราะน้ำเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป จึงต้องรณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างประหยัด และสร้างความตระหนักถึงคุณค่า เพื่อความมั่นของน้ำในอนาคต

ชาวนาลานกระบือหันมาปลูกข้าวเปียกสลับแห้งแกล้งดิน ช่วยลดต้นทุน และโรคแมลง แถมได้ผลผลิตสูง ชาวนาลานกระบือหันมาปลูกข้าวเปียกสลับแห้งแกล้งดิน ช่วยลดต้นทุน และโรคแมลง แถมได้ผลผลิตสูง ชาวนาลานกระบือหันมาปลูกข้าวเปียกสลับแห้งแกล้งดิน ช่วยลดต้นทุน และโรคแมลง แถมได้ผลผลิตสูง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud