SEVEN-ELEVEN JAPAN ปรับปรุงกระบวนการขนส่งสินค้าด้วยระบบการจัดการแบบเรียลไทม์ให้กับร้านค้ากว่า 20,000 ร้าน

อังคาร ๒๘ เมษายน ๒๐๒๐ ๑๕:๓๔
ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจค้าปลีกอย่างเซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น ได้ปรับปรุงระบบการจัดการเพื่อให้มั่นใจว่าการส่งสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังร้านค้าแฟรนไชส์จะปลอดภัยและตรงต่อเวลา ด้วยการจัดการข้อมูลการดำเนินงานแบบเรียลไทม์จะช่วยสร้างความมั่นใจในการกระจายสินค้าอย่างปลอดภัยและแน่นอน นอกจากนี้ยังทำให้ได้รับประโยชน์อื่นๆ มากมาย เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง ลดรอยเท้านิเวศน์ (Ecological Footprint) ช่วยให้การดำเนินงานคล่องตัวและเพิ่มความสามารถในการตอบสนองในยามวิกฤติ
SEVEN-ELEVEN JAPAN ปรับปรุงกระบวนการขนส่งสินค้าด้วยระบบการจัดการแบบเรียลไทม์ให้กับร้านค้ากว่า 20,000 ร้าน

ภายใต้สโลแกน 'ใกล้และสะดวก’ ผังของร้านค้าจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และต้องมีการเปลี่ยนแปลงการกระจายสินค้า ซึ่งหมายความว่าระบบต้องเปลี่ยนตามไปด้วย เราคาดหวังว่าฟูจิตสึจะปรับระบบให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และเราพร้อมที่จะรับทุกคำแนะนำในการสร้างโซลูชันที่ทำงานดีที่สุด

Hiroyuki Harajima ผู้จัดการทั่วไป บจก. เซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น

การกระจายสินค้าที่ปลอดภัยและตรงต่อเวลาไปยังกว่า 20,000 ร้านค้าทั่วประเทศ ในเดือนมกราคม 2018 เซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น ได้กลายเป็นผู้ค้าปลีกรายแรกในประเทศญี่ปุ่นที่มีร้านค้าปลีกในเครือข่ายกว่า 20,000 ร้าน วัตถุประสงค์หลักของเซเว่น-อีเลฟเว่น คือเพื่อให้บริการสินค้าและปรับปรุงการบริการเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เซเว่น-อีเลฟเว่น เป็นร้านค้าที่ “ใกล้และสะดวก” และขาดไม่ได้ของชุมชน

เพื่อรักษารสชาติและคุณภาพของสินค้าแต่ละชนิด บริษัทจึงมีศูนย์กระจายสินค้าสำหรับอาหารสี่หมวดที่ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน เช่น แช่เย็น อุ่น แช่แข็งและอุณหภูมิห้อง และใช้กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับร้านค้าตั้งที่อยู่เป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะอยู่ภายใต้ศูนย์กระจายสินค้าเดียวกันเพื่อกระจายสินค้าไปยังพื้นที่ในกลุ่ม ศูนย์กระจายสินค้าแบบนี้เป็นพันธมิตรคู่ค้า มีทั้งหมด 156 แห่งในญี่ปุ่น (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2018) มีรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่ง 5,900 คัน และมีพนักงานขับรถที่คอยส่งสินค้าไปยังแต่ละร้านค้าทุกวันประมาณ 13,000 คน

Hiroyuki Harajima ผู้จัดการทั่วไปเซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น เน้นย้ำว่า “ภารกิจของเราคือการส่งมอบสินค้าที่ปลอดภัยและขนส่งอย่างปลอดภัยไปยังร้านค้าแฟรนไชส์ของเรา” เซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น จึงเริ่มใช้อุปกรณ์และระบบการจัดการจากภายในรถยนต์นับตั้งแต่เริ่ม

Harajima อธิบายถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ระบบในการจัดการดังนี้ “บริษัทของเราพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามข้อผูกพันด้านการค้าของเรา พนักงานของเราหนึ่งคนอาจดูแลจัดการได้ถึง 2,000 ร้านค้า ทั้งนี้ขึ้นกับความสามารถส่วนตัวของพนักงานด้วย แต่การทำงานในลักษณะนี้อาจไม่ใช่สำหรับ 20,000 ร้านค้า เพื่อให้บริการในระดับเดียวกันในหมู่ร้านค้าแฟรนไชส์ทั้งหมด เราต้องใช้กลไกที่เหมาะสม นี่คือเหตุผลที่เราใช้ระบบเพื่อบริหารงานโลจิสติกส์และเพื่อให้มีการซัพพลายและกระจายสินค้าที่ลงตัว”

การนำระบบการจัดการของฟูจิตสึมาใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ Harajima ให้เหตุผลสำหรับการปรับปรุงคุณภาพของการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของเซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น ดังนี้ “ประการแรก เราต้องจัดการกับอุณหภูมิและการสั่นสะเทือน พูดง่ายๆ คือ เราต้องลดความเสียหายของสต็อกสินค้า และประการที่สองเพื่อติดตั้งระบบงานด้านโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ หากสินค้าใดที่ต้องขนส่งไปยังร้านค้าหลายแห่ง เท่ากับเพิ่มโอกาสของความเสียหายและมีค่าใช้จ่าย ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้การดำเนินงานด้านโลจิสติกส์เป็นเรื่องง่าย”

ระบบการจัดการของฟูจิตสึให้ความมั่นใจถึงโลจิสติกส์ในระดับคุณภาพซึ่งเป็นจุดที่ทำให้เซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น เริ่มติดตั้งระบบงานเป็นครั้งแรก ในปี 2006 ต่อมาเมื่อบริษัทดำเนินการปรับปรุงระบบในปี 2012 โซลูชันใหม่ที่นำเสนอโดยฟูจิตสึก็ถูกนำไปใช้ที่ศูนย์กระจายสินค้าที่เป็นพันธมิตรคู่ค้าแต่ละแห่ง ระบบใหม่นี้ใช้ DTS-D1D ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายในยานพาหนะ พร้อมตัวบันทึกขับขี่ประสิทธิภาพสูง รองรับการทำงานแบบเรียลไทม์ ระบบยังใช้เครือข่ายบนระบบคลาวด์ ซึ่งจะให้สถานะแบบเรียลไทม์ และทำให้การดำเนินงานด้านโลจิสติกส์มีคุณภาพที่ดีขึ้น

บริษัท HI-LINE Co., Ltd. ให้บริการกระจายสินค้าสำหรับร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ประมาณ 7,000 แห่ง จากฮิโรชิมาทางตะวันตกของญี่ปุ่นไปยังคานางาวะและโตเกียวอยู่ซึ่งทางทิศตะวันออก Akira Hanafusa ผู้จัดการอาหารแช่แข็งที่ทำจากข้าว ซึ่งเป็นศูนย์จัดส่งพันธมิตรที่เนยากาวา อธิบายถึงข้อดีของระบบใหม่ว่า “ในอดีต เราสามารถระบุตำแหน่งของรถขนส่งผ่านการติดต่อทางวิทยุเท่านั้น ดังนั้นเมื่อผู้ขับขี่หลงทางและโทรหาเราเพื่อขอทิศทางมันเป็นเรื่องยากมากที่จะบอกทางแก่เขา แต่ด้วยระบบในปัจจุบันเราสามารถระบุตำแหน่งพิกัดของคนขับได้ใกล้เคียงเวลาจริง และในตอนนี้เราสามารถทราบถึงอุณหภูมิของช่องแช่แข็งในรถขนส่งซึ่งอยู่ห่างไกลจากสำนักงานของเราได้อย่างแม่นยำอีกด้วย”

Toshio Hagane รองผู้จัดการศูนย์จัดส่งสินค้าของ HI-LINE ซึ่งเป็นพันธมิตรคู่ค้าที่เนยากาวา ชื่นชมระบบใหม่ที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพสำหรับคนขับรถขนส่ง “ในอดีตเราต้องใส่การ์ดหน่วยความจำเข้าไปในอุปกรณ์ในรถยนต์ และทันทีที่คนขับกลับไปที่ศูนย์ พวกเขาจะถอดการ์ดหน่วยความจำและพิมพ์รายงานการขับขี่ของเขาที่สำนักงาน ระบบใหม่นี้เป็นที่ยอมรับอย่างดีจากพนักงานขับรถขนส่ง เพราะพวกเขาไม่ต้องรอพิมพ์รายงานอีกต่อไป”

การรักษาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้อยู่อาศัยเอาไว้และการดูแลสิ่งแวดล้อมในฐานะที่เป็น 1 ใน 7 องค์กรค้าปลีกที่ได้รับเลือกเป็นองค์กรสาธารณะภายใต้บัญญัติการรับมือภัยพิบัติ ประเทศญี่ปุ่น เซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น มีบทบาทสำคัญในสถานการณ์ภัยพิบัติและการฟื้นฟูสถานการณ์ ร่วมกับร้านค้า Seven & i Holdings และ Ito Yokado ระบบการจัดการในปัจจุบันมีความสามารถแชร์สภาพการจราจรแบบเรียลไทม์ผ่านระบบคลาวด์ ระหว่าง เซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น และบริษัทที่บริหารจัดการศูนย์จัดส่งสินค้า ดังนั้นระบบนี้จึงเป็นประโยชน์สำหรับการปรึกษาและตัดสินใจอย่างรวดเร็วระหว่างเกิดเหตุฉุกเฉิน แท้จริงแล้วระบบนี้มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์เมื่อพายุหิมะตกหนักในท้องที่โฮกุริคุเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2018 ที่ทำให้การขนส่งและการกระจายสินค้าต้องหยุดชะงัก

Harajima กล่าวว่า “แม้จะมีหิมะตกหนัก แต่เซเว่น-อีเลฟเว่น ประเทศญี่ปุ่น ก็ยังสามารถสื่อสารระหว่างสำนักงานใหญ่ ศูนย์จัดส่งสินค้า และพนักงานขับรถ ทำให้เราเป็นบริษัทเดียวที่สามารถส่งมอบสินค้าไปยังร้านค้าส่วนใหญ่ของเราได้อย่างต่อเนื่องทุกวัน ยกเว้นในกรณีที่มีปัญหาการจราจรทำให้เราไม่สามารถเดินทางได้ เราสามารถที่จะทำงานอย่างต่อเนื่องได้เช่นนี้เพราะการจัดการแบบเรียลไทม์ ผู้คนเคยนึกถึงร้านสะดวกซื้อว่าเป็นร้านค้าพื้นฐานที่เป็นวิถีชีวิต แต่ทุกวันนี้ร้านเหล่านี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตไปแล้ว และคุณสามารถพูดได้ว่าระบบการจัดการบนคลาวด์ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน”

คาดกันว่า ระบบการจัดการของฟูจิตสึ นอกจากจะนำไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสมเมื่อเกิดภัยพิบัติแล้ว ยังคำนึงถึงสภาพแวดล้อมอีกด้วย Harajima สรุปว่า “เนื่องจากเรามีรถขนส่งประมาณ 5,900 คันในญี่ปุ่น เราจึงให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องในเรื่องของการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับปัญหาสิ่งแวดล้อม การเพิ่มความคล่องตัวในการบรรจุสินค้าใส่รถยนต์ จัดกลุ่มร้านค้าที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน และการดำเนินงานเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของเรานำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง และเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง ซึ่งสอดคล้องกับสโลแกนของเราที่ว่า “ใกล้และสะดวก” เราเปลี่ยนแปลงพื้นที่ขายในร้านค้าเป็นประจำทุกวัน และเราปรับเปลี่ยนวิธีการกระจายสินค้าของเราด้วย ซึ่งหมายความว่า

ระบบก็ต้องเปลี่ยนให้ทัน เราเชื่อมั่นในฟูจิตสึว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนระบบไปตามความก้าวหน้าเหล่านี้ และหวังว่าจะได้ข้อเสนอสำหรับการจัดหาโซลูชันที่ดีที่สุดในอนาคต”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว