ฟิทช์คงอันดับเครดิต บมจ. โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) ที่ 'A-(tha)’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ

พฤหัส ๓๐ เมษายน ๒๐๒๐ ๑๖:๔๖
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ของบริษัท โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ PTL ที่ 'A-(tha)’ แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ อันดับเครดิตสะท้อนถึงความเป็นผู้นำในธุรกิจแผ่นฟิล์มพลาสติก การกระจายฐานการผลิตและการจำหน่ายสินค้าไปในภูมิภาคต่างๆ รวมถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของบริษัทฯ อย่างไรก็ตามปัจจัยเหล่านี้ถูกลดทอนจากความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ของบริษัท ที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์เป็นส่วนใหญ่

อันดับเครดิตของ PTL ได้พิจารณาถึงสถานะทางการเงินรวมของบริษัทแม่ Polyplex Corporation Limited หรือ Polyplex Group เนื่องจากฟิทช์มองว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง PTL กับ Polyplex Group อยู่ในระดับสูง และ Polyplex Group มีสถานะทางเครดิตโดยลำพัง (Standalone credit profile) ที่อ่อนแอกว่า PTL

ปัจจัยที่มีผลต่ออันดับเครดิต

ผลกระทบที่จำกัดจากโคโรนาไวรัส: ฟิทช์คาดว่า การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสซึ่งทำให้สภาวะเศรษฐกิจหดตัวนั้น จะมีผลกระทบที่จำกัดต่อปริมาณการขายแผ่นฟิล์ม PET ของ PTL เนื่องจาก PTL มีการขายแผ่นฟิล์ม PET ส่วนใหญ่ให้กับลูกค้าในธุรกิจบรรจุภัณฑ์อาหาร ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของรายได้ของปีงบการเงิน 2563 สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งน่าจะช่วยลดผลกระทบจากปริมาณการขายแผ่นฟิล์ม PET ให้กับลูกค้าในภาคอุตสาหกรรม ที่น่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสมากกว่า ฟิทช์คาดว่า ยอดขายสินค้าประเภทอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค จะยังคงดีอยู่ ถึงแม้จะมีประกาศใช้มาตราการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) และการล็อกดาวน์ ในหลายประเทศ

อัตรากำไรที่ลดลง: ฟิทช์คาดว่า ราคาขายแผ่นฟิล์ม PET จะปรับตัวลดลง เนื่องจากความต้องการที่หดตัวลงจากสภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจจะหดตัวอย่างมีนัยสำคัญจากการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส นอกจากนี้ กำลังการผลิตใหม่ที่จะเข้ามาในตลาดในปี 2563 อาจส่งผลกระทบต่ออัตราส่วนกำไร ในช่วงที่ความต้องการแผ่นฟิล์มสำหรับภาคอุตสาหกรรมลดลง อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการทำกำไรที่ลดลงนั้น น่าจะได้รับการชดเชยจากราคาวัตถุดิบที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ตามราคาน้ำมันดิบ

ฟิทช์มองว่า อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย ต่อรายได้ (EBITDA margin) ของ Polyplex Group จะปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 15 -16 ในปีงบการเงิน 2564 (ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบการเงิน 2563 อยู่ที่ร้อยละ 16.3) เนื่องจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบที่มีแนวโน้มลดลง และการเปลี่ยนเปลงของสัดส่วนการขายผลิตภัณฑ์ จากการที่กำลังการผลิตใหม่ในประเทศอินโดนีเซียจะเน้นผลิตแผ่นฟิล์มมาตรฐานเป็นหลัก ซึ่งมีอัตราส่วนกำไรที่ต่ำกว่า

การเติบโตของยอดขายจากการขยายกำลังผลิต: ฟิทช์คาดว่า ปริมาณการขายของบริษัทฯ จะเติบโตในระดับร้อยละ 5-6 ในปีงบการเงิน 2564 โดยการเริ่มดำเนินการผลิตของโรงงานในประเทศอินโดนีเซีย และความต้องการผลิตภัณฑ์สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารที่สูง จะช่วยลดผลกระทบจากปริมาณการขายที่ลดลงของผลิตภัณฑ์สำหรับภาคอุตสาหกรรม

สถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง: ฟิทช์คาดว่า Polyplex Group จะสามารถรักษาสถานะ net cash ในปีงบการเงิน 2563 จากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งทำให้ PLT มี Rating Headroom ที่สูงในการรองรับการลงทุนในปีงบการเงิน 2564 และกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่อาจต่ำกว่าที่คาดการณ์ได้

ผู้นำในธุรกิจแผ่นฟิล์มพลาสติก: อันดับเครดิตของ PTL สะท้อนถึงความเป็นผู้นำในธุรกิจแผ่นฟิล์มพลาสติก Polyplex Group เป็นหนึ่งในสิบผู้ผลิตแผ่นฟิล์ม PET รายใหญ่ที่สุดในโลกในด้านการผลิต โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณร้อยละ 5-7 ในตลาดแผ่นฟิล์ม PET ชนิดบาง กำลังการผลิตแผ่นฟิล์มพลาสติกของ Polyplex Group เทียบเท่ากับของผู้ผลิตในระดับโลก เช่น Toray และ Mitsubishi อย่างไรก็ตาม Polyplex Group มีผลิตภัณฑ์ที่เป็น Specialty ซึ่งมีความแปรผันของราคาที่ต่ำกว่า น้อยกว่าคู่แข่งเหล่านี้

การผลิตและการจำหน่ายที่กระจายไปในภูมิภาคต่างๆ: PTL มีฐานการผลิตอยู่สี่แห่งกระจายตัวอยู่ในตลาดหลักในสามภูมิภาค ซึ่งได้แก่ ไทยและอินโดนีเซีย (เอเชีย) สหรัฐอเมริกา (อเมริกาเหนือ) และตุรกี (ยุโรป) การกระจายฐานการผลิตไปในภูมิภาคต่างๆ จะช่วยลดผลกระทบจากความต้องการใช้สินค้าที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลในแต่ละภูมิภาค และช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินงานที่เกิดจากการหยุดการผลิตของโรงงาน นอกจากนี้ การที่แหล่งการผลิตอยู่ใกล้กับตลาด ยังช่วยลดต้นทุนการขนส่ง และผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะในภูมิภาคที่ความต้องการสินค้ามีมากกว่ากำลังการผลิตซึ่งต้องมีการนำเข้าสินค้า เช่น ภูมิภาคอเมริกาเหนือ และยุโรป

ความเสี่ยงจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์: บริษัทฯ มีความสามารถในการกำหนดราคาที่จำกัด ในธุรกิจแผ่นฟิล์ม เนื่องจากผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นแผ่นฟิล์มมาตรฐานที่ผลิตกันอย่างแพร่หลายและมีการแข่งขันที่สูง โดยแผ่นฟิล์มมาตรฐานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65 ถึง 75 ของยอดขายรวมของบริษัทฯ ในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม PTL ได้เพิ่มยอดขายของสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม (value-added products) มากขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 35 ของยอดขายรวมของบริษัทฯ ในปีงบการเงิน 2562 จากร้อยละ 33 ในปีงบการเงิน 2561 เพื่อลดกระทบจากวัฏจักรผลิตภัณฑ์ที่ผันผวนของแผ่นฟิล์มมาตรฐาน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ แผ่นฟิล์มเคลือบอลูมิเนียม (Metallized film) และแผ่นฟิล์มเคลือบ (Coated films) และ แผ่นฟิล์มประเภท Specialty

ความเชื่อมโยงกับบริษัทแม่: ฟิทช์ประเมินว่า PTL มีความเชื่อมโยงในด้านการดำเนินงานกับ Polyplex Group ในระดับสูง และสถานะทางเครดิตโดยลำพัง (Standalone credit profile) ของ PTL ดีกว่าสถานะทางเครดิตโดยลำพังของ Polyplex Group ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาอันดับเครดิตในเรื่อง Parent and Subsidiary Rating Linkage อันดับเครดิตภายในประเทศของ PTL พิจารณามาจากสถานะทางการเงินรวมของ Polyplex Group ที่รวมผลประกอบการณ์ของ PTL ทั้งหมด หักด้วยกำไรทั้งหมดของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ฟิทช์ประเมินว่า PTL มีความสัมพันธ์กับ Polyplex Group ในระดับสูง เนื่องจากฟิทช์มองว่า Polyplex Group สามารถควบคุมการดำเนินงานของ PTL ผ่านทางคณะกรรมการบริษัทฯ คณะผู้บริหารของทั้งสองบริษัทฯมีความเกี่ยวข้องกัน และ Polyplex Group สามารถเข้าถึงเงินสดและกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของ PTL ได้

การกำหนดอันดับเครดิตโดยสรุป

Polyplex Group มีสถานะทางธุรกิจอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเทียบกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติขั้นปลาย และกลุ่มเคมีภัณฑ์ ในประเทศไทยที่ฟิทช์จัดอันดับเครดิต แต่มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งกว่า

Polyplex Group มีขนาดธุรกิจที่เล็กกว่าบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC (ซึ่งมีอันดับเครดิตที่ A-(tha) แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ และมีสถานะทางเครดิตโดยลำพัง (Standalone credit profile) ที่ bbb(tha)) อย่างมาก โดย IRPC ดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันเชื่อมโยงกับการผลิตปิโตรเคมี อย่างไรก็ตาม Polyplex Group มีการกระจายตัวของฐานการผลิตที่มากกว่า ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการที่บริษัทดำเนินธุรกิจผลิตแผ่นฟิล์มพลาสติกอย่างเดียว นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ของ Polyplex Group อยู่ในส่วนผลิตภัณฑ์ขั้นปลาย และมีการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม เพื่อช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของราคาแผ่นฟิล์มพลาสติกมาตรฐาน นอกจากนี้ Polyplex Group ยังมีอัตราส่วนหนี้สินที่ต่ำกว่า IRPC ซึ่งส่งผลให้อันดับเครดิตของ Polyplex Group สูงกว่าอันดับเครดิตโดยลำพังของ IRPC ที่ bbb(tha) อันดับเครดิตของ IRPC ได้รับการปรับเพิ่มสองอันดับเครดิต จากการเชื่อมโยงในระดับปานกลางกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีอันดับเครดิตที่ AAA(tha) แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ

Polyplex Group และ บริษัท อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป จำกัด หรือ EPG (ซึ่งมีอันดับเครดิตที่ A-(tha) แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ) ดำเนินธุรกิจแปรรูปโพลีเมอร์และพลาสติก แต่มีธุรกิจปลายทางที่แตกต่างกัน EPG มีการกระจายตัวของธุรกิจตามภูมิภาคที่น้อยกว่าแต่มีธุรกิจปลายทางที่กระจายตัวมากกว่า ทั้งนี้ ธุรกิจปลายทางของ EPG มีขนาดเล็กกว่า แต่ EBITDA รวมของบริษัทฯ มีขนาดใกล้เคียงกับ Polyplex Group รวมถึง EBITDA margin ของทั้งสองบริษัทอยู่ระดับที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ ทั้งสองบริษัท ยังมีอัตราส่วนหนี้สินที่ต่ำ โดยมี FFO net leverage ต่ำกว่า 1.0 เท่า อันดับเครดิตจึงเท่ากัน

Polyplex Group มีสถานะทางธุรกิจอยู่อ่อนแอกว่าบริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด หรือ HMC (ซึ่งมีอันดับเครดิตที่ A-(tha) แนวโน้มเครดิตเป็นลบ และมีสถานะทางเครดิตโดยลำพัง (Standalone credit profile) ที่ bbb+(tha)) เล็กน้อย ฟิทช์ เชื่อว่า การที่ HMC เป็นผู้นำตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชดเชยกับการที่บริษัทฯ มีการกระจายตัวของธุรกิจตามภูมิภาคที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับ Polyplex Group อย่างไรก็ตาม Polyplex Group มีอัตราส่วนหนี้สินที่ต่ำกว่า จึงทำให้อัตราเครดิตที่สูงกว่าอันดับเครดิตโดยลำพังของ HMC

สมมติฐานที่สำคัญของฟิทช์ที่ใช้ในการประมาณการ:

รายได้ของ Polyplex Group ลดลงประมาณร้อยละ 14 ในปีงบการเงิน 2564 เนื่องจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นจากการเริ่มดำเนินงานของโรงงานในประเทศอินโดนีเซียจะถูกลดทอนจากราคาผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าจะลดลง จากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบEBITDA margin ของ Polyplex Group อยู่ที่ประมาณร้อยละ 15-16 ในปีงบการเงิน 2564-2565 โดย EBITDA margin ที่ลดลง เนื่องจากการเริ่มดำเนินงานของโรงงานในประเทศอินโดนีเซียที่ทยอยเพิ่มการผลิต และความต้องการที่ลดลงของแผ่นฟิล์มสำหรับภาคอุตสาหกรรมการลงทุนในปีงบการเงิน 2564-2565 ทั้งหมดประมาณ 6.6 พันล้านรูปีอินเดียจ่ายเงินปันผลร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิ

ปัจจัยที่อาจมีผลกับอันดับเครดิตในอนาคต

ปัจจัยบวก:

ขนาดของธุรกิจและรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งผลให้อัตราส่วนกำไรปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีเสถียรภาพมากขึ้น ในขณะที่ยังคงรักษาอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย (Total net debt to EBITDA) ของ Polyplex Group ให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 1.5 เท่า อย่างไรก็ตามปัจจัยดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า

ปัจจัยลบ:

กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ลดลง หรือการลงทุนโดยใช้หนี้ที่เพิ่มขึ้น มากกว่าที่ฟิทช์คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ อัตราส่วน Total net debt to EBITDAR ของ Polyplex Group สูงกว่า 2 เท่า อย่างต่อเนื่องEBITDAR margin ของ Polyplex Group ลดลงต่ำกว่าร้อยละ 13 อย่างต่อเนื่อง (ปีงบการเงิน 2562 อยู่ที่ร้อยละ 16)

สภาพคล่อง

สภาพคล่องอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้: ฟิทช์มองว่าสภาพคล่องของ PTL อยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ โดยสภาพคล่องได้รับการสนับสนุนจากเงินสดจำนวน 981 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 โดยบริษัทฯ มีหนี้ที่ถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากเดือนธันวาคม 2562 อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท โดยประมาณ ร้อยละ 82 เป็นหนี้ระยะสั้นที่ใช้หมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ มีวงเงินหมุนเวียนจากสถาบันการเงินที่สามารถเบิกใช้ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นวงเงินที่ไม่สามารถยกเลิกได้ จำนวน 1.6 พันล้านบาท ฟิทช์คาดว่าบริษัทฯ จะสามารถ roll over หนี้ระยะสั้นที่ใช้หมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจออกไปได้ เนื่องจากบริษัทฯ มีอัตราส่วนหนี้สินที่ต่ำ นอกจากนี้บริษัทฯ ได้รับวงเงินกู้จำนวน 80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการลงทุนในการสร้างโรงงานที่ประเทศอินโดนีเซีย

สรุปรายการปรับปรุงงบการเงินที่สาคัญ

สถานะทางการเงินรวมของ Polyplex Group ได้ถูกปรับปรุงให้รวมผลประกอบการณ์ของ PTL ทั้งหมด แต่หักด้วยกำไรทั้งหมดของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้