วิศวะชีวการแพทย์ ม.มหิดล ให้ทุนการศึกษาหนุนสร้างบัณฑิตสู่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ รับยุคโควิด-19

พฤหัส ๐๗ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๒๙
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ หนุนสร้างนวัตกรสายเฮลท์แคร์และเฮลเทค โดยจัดสนับสนุนทุนการศึกษา จำนวน 3 ทุน แก่นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ, หลักสูตรพหุวิทยาการ) ในปีการศึกษา 2563 สำหรับนักศึกษารอบ Admission โดยมีคุณสมบัติดังนี้ ข้อ 1 มีคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด มากกว่า 21,000 คะแนน ข้อ 2 คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.50 ข้อ 3. ต้องลงทะเบียนเรียนติดต่อกันทุกภาคการศึกษา
วิศวะชีวการแพทย์ ม.มหิดล ให้ทุนการศึกษาหนุนสร้างบัณฑิตสู่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ รับยุคโควิด-19

รศ.ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า หลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สร้างผลงานวิจัยและบุคลากรมากว่า 22 ปี เปิดสอนเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย มาตั้งแต่ 2541 จนถึงปัจจุบัน สำหรับหลักสูตรวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) เริ่มเปิดในปี 2561 จนถึงปัจจุบัน ที่โลกกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดโควิด-19 หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรร่วมระหว่าง 2 สถาบันชั้นนำของไทยและสหราชอาณาจักร คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีประสบการณ์ด้านงานวิจัยและพัฒนาเครื่องมือแพทย์และเทคโนโลยีกว่า 22 ปี กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ (University of Strathclyde) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้านการออกแบบและผลิตนวัตกรรม หลักสูตรนี้มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและการ พัฒนาประเทศ สู่ไทยแลนด์ 4.0 เพิ่มบุคลากรและงานวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อรองรับอุตสาหกรรมทางการแพทย์ระดับโลก เป้าหมายของหลักสูตรมุ่งให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ สามารถจัดการกับปัญหาทั้งทางด้านวิศวกรรมและทางการแพทย์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและประชาคมระหว่างประเทศได้ โดยหลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมชีวการแพทย์นี้จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ประเทศสหราชอาณาจักร เป็นเวลา 2 ปี

ผู้เรียนจะได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 Active Learning การคิดวิเคราะห์ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการทำโครงการและงานวิจัยร่วมกันระหว่าง 2 สถาบัน ซึ่งต่างมีลักษณะที่โดดเด่นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน ได้แก่ มีความหลากหลายทางด้านโครงงานและงานวิจัย, มีความร่วมมือที่แน่นแฟ้นกับสถาบันทางการแพทย์ที่มีชื่อเสียง, มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับผู้ประกอบการและธุรกิจ, ตลอดจนประสบการณ์ในความสำเร็จและประวัติศาสตร์อันยาวนานของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เสริมสร้างนักศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถในการสร้างงานวิจัยที่สามารถพัฒนาเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการและรองรับภาคอุตสาหกรรมทางการแพทย์ของโลกที่กำลังเติบโตและเป็นที่ต้องการในตลาดโลก นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพพร้อมไปกับพัฒนาวิศวกรรมชีวการแพทย์สู่เป้าหมายร่วมกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๔๒ แพทย์จุฬาฯ ร่วมมือกรมแพทย์แผนไทย วิจัยพิสูจน์ยาขมิ้นชันองค์การเภสัชกรรม รักษาโรคกระเพาะอาหารได้เทียบเท่ายาลดกรดแผนปัจจุบัน
๑๐:๕๗ ม.มหิดลคิดค้นสาร'ไฮโดรคอลลอยด์'จาก'กากยีสต์โรงงานเบียร์' เพิ่มคุณค่า'เบต้ากลูแคน'ลดปัญหา'ขยะล้นโลก'
๑๐:๒๖ 'ออโต้ ไดรฟ์ อีวี' ผนึก 'แกร็บ' หนุนคนขับแท็กซี่ใช้รถ EV ตั้งเป้าดันแท็กซี่ไฟฟ้า 2,000 คันให้บริการภายในปี
๑๐:๓๗ NRF คว้ารางวัลระดับโลก จากเวที Global Brand Awards 2024 สาขา Most Innovative Sustainable Food Producer
๑๐:๔๙ อโกด้าเผยเขาหลัก โซล และเกาะเปอร์เฮนเทียนคือจุดหมายยอดนิยมของคนชอบเที่ยวแบบไม่เร่งรีบ
๑๐:๓๙ วัตสันเดินหน้า รุกขยายสาขา พร้อมเปิดตัว Greener Store แห่งแรกของประเทศไทย มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน
๑๐:๑๙ ม.มหิดลฝึกทักษะผสมผสาน Lean Design Thinking เสริม SDGs ลดต่าง ด้วย'ตัวต่อเสริมจินตนาการ'
๑๐:๕๖ เอบีม คอนซัลติ้ง พร้อมช่วยธุรกิจก้าวสู่อนาคตด้วย Application Modernization
๑๐:๑๒ ยูโอบี ประเทศไทย แนะนำพอร์ตการลงทุนที่แข็งแกร่งสำหรับลูกค้าที่มีความมั่งคั่ง ในงานสัมมนา Mid-Year Outlook
๐๙:๔๗ เปิดรับสมัครแล้วว !! The STORY รุ่น 8 By SPU The Infinity Tales