UNHCR สานต่อ “รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง” โดยความร่วมมือกับสำนักจุฬาราชมนตรีเป็นปีที่ 3 ในประเทศไทยท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

ศุกร์ ๐๘ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๔๘
ผู้ที่ถูกบังคับให้หนีจากสงครามและความรุนแรงมากกว่า 70 ล้านคนทั่วโลก บางส่วนกำลังถือศีลอดในเดือนแห่งความศักดิ์สิทธิ์ท่ามกลางวิกฤตโรคโควิด-19 ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นมักเป็นประชากรที่ขาดแคลนและเปราะบางมากที่สุดในสังคมซึ่งมีความเสี่ยงสูงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสครั้งนี้ เช่นเดียวกันกับชุมชนที่ให้ที่พักพิง พวกเขามักมีการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาด ระบบสุขาภิบาลและสาธารณสุขที่จำกัด ขาดแคลนทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการดำรงชีพ หลายคนจะต้องถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฎอนโดยปราศจากอาหารบนโต๊ะหลังการอดอาหารและน้ำมาแล้วในแต่ละวัน
UNHCR สานต่อ รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง โดยความร่วมมือกับสำนักจุฬาราชมนตรีเป็นปีที่ 3 ในประเทศไทยท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ยังคงสานต่อความร่วมมือกับสำนักจุฬาราชมนตรีและสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ในโครงการ “รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง” เพื่อระดมทุนส่งต่อความช่วยเหลือนี้แก่ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นชาวมุสลิมที่ไม่มีโอกาสได้เฉลิมฉลองเดือนแห่งความศักดิ์สิทธิ์ในประเทศของตน การช่วยเหลือครั้งนี้เป็นที่ต้องการอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันพวกเขาจากความยากแค้นที่ทวีคูณท่ามกลางวิกฤตโรคโควิด-19

“ในเวลาที่ผู้คนทั่วโลกกำลังต่อสู้กับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่อย่างยากลำบาก เชื้อไวรัสยังคงแพร่กระจายโดยไม่เลือกกลุ่มคน ผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่น และบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติที่มากกว่าร้อยละ 80 อาศัยอยู่ในพื้นที่หนาแน่นหรือมีระบบสาธารณสุขและสุขาภิบาลที่ไม่ถึงขั้นมาตรฐาน ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดและสมควรได้รวมอยู่ในแผนงานระดับประเทศด้านการเฝ้าระวัง การเตรียมความพร้อม และการรับมือในสถานการณ์โลกเช่นนี้ด้วย” นายจูเซ็ปเป้ เด วินเซ็นทิส ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ กล่าว

“รอมฎอนจากเดือนที่เคยมีความสุขที่สุดกับครอบครัว ชีวิตผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมยังคงเผชิญกับความยากลำบากและความขาดแคลนในหลายๆ ด้าน และปีนี้ศาสนกิจต่างๆ ที่เคยถือปฏิบัติมาเนิ่นนานในช่วงเดือนรอมฎอนมีความจำเป็นต้องปรับตามมาตรการเพื่อรักษาสาธารณสุขในพื้นที่ แต่รอมฎอนยังคงเป็นเดือนแห่งการแบ่งปัน ไม่ว่าเราจะเป็นใคร เราสู้อยู่ในวิกฤตเดียวกัน และผมเชื่อว่าความเมตตาและความหวังซึ่งเป็นแก่นแท้ของการถือศีลอดจะพาเราต่อสู้กับเชื้อไวรัสไปด้วยกันอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว”

โครงการ “รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง” ยังเปิดรับบริจาคซะกาตหรือทานประจำปี ซึ่งเป็นการบัญญัติขึ้นตามหลักศาสนาอิสลามเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในความทุกข์ยาก 8 ประการ และ UNHCR ได้รับการรับรองจากนักวิชาการศาสนา (นักฟัตวา) ระดับโลก เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือเพิ่มเติมแด่พี่น้องผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมที่เผชิญความยากลำบากจากวิกฤติโควิด-19

“เดือนแห่งความศักดิ์สิทธ์ปีนี้ เป็นสถานการณ์ที่ท้าทายเราอย่างมาก วิกฤตผู้ลี้ภัยยังคงสูงที่สุดในประวัติการณ์ ผู้คนมากกว่า 70 ล้านคนถูกบังคับให้ออกจากบ้านและส่วนใหญ่คือพี่น้องชาวมุสลิมของเราที่เป็นเด็กและผู้หญิง พวกเขาไม่สามารถเฉลิมฉลองเดือนแห่งความศักดิ์สิทธิ์นี้ได้ที่บ้านและประเทศของตน และการแพร่ระบาดระดับโลกของโรคโควิด-19 ทำให้พี่น้องผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมเปราะบางมากขึ้นไปอีก” นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี กล่าว

“ปีนี้เราร่วมมือกับ UNHCR อีกครั้ง เพื่อเปิดรับการบริจาคในเดือนแห่งการให้และรับบริจาคทานประจำปีซะกาตเพื่อช่วยเหลือพี่น้องผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมที่กำลังตกทุกข์ได้ยากและต้องต่อสู้กับการระบาดของไวรัสในขณะนี้ การช่วยเหลือพวกเขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงรอมฎอนจะฝึกให้เราเป็นผู้ให้ และเราจะได้รับผลบุญจากอัลลอฮฺหลายเท่าทวีคูณ”

โครงการระดับโลก “รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง” ได้รับความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนอย่างดีตั้งแต่พ.ศ. 2561 และได้ช่วยชีวิตผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นชาวมุสลิมทั่วโลกไปมากกว่า 1 ล้านคนในปีที่ผ่านมา รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง ปีที่ 3 นี้ มุ่งระดมทุนเพื่อจัดหาความช่วยเหลือที่จำเป็น เช่น ที่พักพิง อาหาร น้ำสะอาด และเงินช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศที่เปราะบาง ซึ่งรวมถึง เด็กกำพร้า แม่เลี้ยงเดี่ยวและหญิงหม้าย ผู้สูงอายุในประเทศซีเรีย เยเมน อิรัก รวมถึงผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในประเทศบังคลาเทศ

สำนักจุฬาราชมนตรี และสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ได้สนับสนุนการทำงานของ UNHCR ในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในฐานะองค์กรภาคีเพื่อมนุษยธรรม โครงการนี้จะช่วยมอบงบประมาณให้ UNHCR สามารถดำเนินงานให้ความคุ้มครองที่ทำอยู่เดิมได้ พร้อมให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นเพิ่มเติมในการตั้งรับต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดย UNHCR จะนำเงินบริจาคทั้งหมดไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่เปราะบางต่อไป และทานซะกาตจะถูกนำไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่ตรงตามคุณสมบัติที่ควรได้รับภายใต้การดูแลและตรวจสอบอย่างเข้มงวดเพื่อความโปร่งใสในทุกขั้นตอนตั้งแต่การบริจาคจนถึงการให้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและบริจาคได้ที่ https://www.unhcr.or.th/donate/ramadan

UNHCR สานต่อ รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง โดยความร่วมมือกับสำนักจุฬาราชมนตรีเป็นปีที่ 3 ในประเทศไทยท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 UNHCR สานต่อ รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง โดยความร่วมมือกับสำนักจุฬาราชมนตรีเป็นปีที่ 3 ในประเทศไทยท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 UNHCR สานต่อ รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง โดยความร่วมมือกับสำนักจุฬาราชมนตรีเป็นปีที่ 3 ในประเทศไทยท่ามกลางวิกฤตโควิด-19

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง