ชู 'ส้มเกลี้ยง’ผลไม้ประจำถิ่นลำปาง ยกระดับมาตรฐานการผลิต พัฒนาสู่สินค้า GI

พฤหัส ๒๑ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๐๙:๕๓
นายพลเชษฐ์ ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ส้มเกลี้ยง เป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย ประกอบด้วยวิตามิน เกลือแร่ มากกว่าส้มชนิดอื่น ๆ และมีรสชาติดี ให้ผลตอบแทนสูง คุ้มค่ากับการลงทุน จึงมีการส่งเสริมให้มีการผลิตและการบริหารจัดการเชิงการค้า อีกทั้งในปัจจุบันพื้นที่ในการปลูกส้มเกลี้ยงซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัดลำปาง นับว่าเป็นแหล่งปลูกส้มเกลี้ยงที่สำคัญและมีชื่อเสียงมายาวนาน ประกอบกับทางจังหวัดได้ให้ความสำคัญโดยมีแนวทางส่งเสริมสร้างการรับรู้และส่งเสริมองค์ความรู้ด้านวิชาการต่าง ๆ เรื่องการปลูก การดูแลรักษา การตลาด และชี้ให้เห็นความสำคัญและคุณประโยชน์การอนุรักษ์พืชประจำท้องถิ่นให้คงอยู่ เพื่อพัฒนาสู่สินค้า GI ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การเกษตร (พ.ศ. 2561-2580) ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น รวมถึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้ต้นทุนการผลิตลดลง ปรับปรุงคุณภาพผลผลิต เน้นการส่งเสริมตามข้อกำหนดการปฎิบัติทางการเกษตรที่ดี และให้แปลงส้มเกลี้ยงเป็นแปลงที่ได้มาตรฐาน ตามกระบวนการผลิตพืชอาหารที่ดีและปลอดภัยจากสารพิษ รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น แยมส้มเกลี้ยง เครื่องสำอาง เป็นต้น จากการพยากรณ์ ปี 2563 (ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2563) คาดว่าจังหวัดลำปางมีพื้นที่ยืนต้นทั้งหมด 1,118 ไร่ พื้นที่ให้ผล 925 ไร่ ผลผลิตรวม 853,174 กิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 922 กิโลกรัม/ไร่

ด้านนายธวัชชัย เดชาเชษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ (สศท.1) กล่าวเสริมว่าจากการลงพื้นที่ของ สศท.1 พบว่า แหล่งปลูกส้มเกลี้ยงที่สำคัญของจังหวัดลำปาง อยู่ในอำเภอเถินและอำเภอแม่พริก ปัจจุบันเกษตรกรมีการรวมกลุ่มปลูกส้มเกลี้ยงอำเภอเถินภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2561 สมาชิกแปลงใหญ่ 207 ราย มีพื้นที่ จำนวน 444 ไร่ โดยส้มเกลี้ยงจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อมีอายุ 8 เดือน ระยะเวลาเก็บเกี่ยวอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 922 กิโลกรัม/ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,246 บาท/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 15 บาท/กิโลกรัม (ราคา ณ พฤษภาคม 2563) ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) ประมาณ 9,589 บาท/ไร่

ปัจจุบันการตลาดส้มเกลี้ยงของกลุ่มแปลงใหญ่ส้มเกลี้ยงอำเภอเถินส่วนใหญ่ผลผลิตร้อยละ 95 จำหน่ายให้กับพ่อค้าในพื้นที่และนอกพื้นที่ เช่น พ่อค้าจากตลาดไท กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ซึ่งจะมารับซื้อถึงพื้นที่ ผลผลิตร้อยละ 5 ทางกลุ่ม จะจำหน่ายเองในพื้นที่ โดยจำหน่ายบริเวณปั๊มน้ำมันเชลล์ ปั้มน้ำมันปตท. ร้านอาหารรสดัง และร้านโกแดง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ในรูปของผลสด และแปรรูปน้ำส้มเกลี้ยง อีกทั้งทางกลุ่มยังได้จำหน่ายให้กับสหกรณ์การเกษตรแม่พริก จำกัดซึ่งเป็น ผู้รวบรวมส่งให้กับบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) โดยบริษัทจะรับซื้อผลผลิตในช่วงเทศกาลสารทจีน (เดือนสิงหาคม) ประมาณ 800 กิโลกรัม ซึ่งจะเน้นผลผลิตที่มีคุณภาพ ผลต้องมีขนาดใหญ่ ผิวเกลี้ยงไม่ขรุขระ ไม่มีแมลงวันทองเจาะ

ทั้งนี้ หากเกษตรกรหรือท่านใดที่สนใจข้อมูลการผลิตและการตลาดส้มเกลี้ยงอำเภอเถิน สามารถสอบถามและ ขอคำปรึกษาได้ที่นางสายรุ้ง วงศ์ษา ประธานกลุ่มปลูกส้มเกลี้ยงอำเภอเถิน บ้านเลขที่ 136 หมู่ที่ 4 บ้านท่าหลวง ตำบลเถินบุรี อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง โทร. 08 7786 0041

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน