ประเมินฝนยังกระจาย-ปริมาณน้อย คาดฝนหนาแน่นกลาง ก.ค.- ก.ย.

พฤหัส ๒๘ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๐๐
กอนช.เกาะติดฝนหลายพื้นที่ฝนยังกระจายตัวเฉลี่ยไม่เกิน 80 มม. คาดช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมิ.ย.ฝน จะมากขึ้น ย้ำทุกหน่วยเร่งกำจัดขยะ สิ่งกีดขวางทางน้ำโดยเฉพาะกทม.เขตเมืองพร้อมรับน้ำ ก่อนตกชุก หลัง ก.ค.- ก.ย.โอกาสทองเก็บน้ำเข้าอ่างฯ พร้อมชี้โครงการแก้แล้งคืบแล้วกว่า 70% คาดปิดจ็อบตามเป้า
ประเมินฝนยังกระจาย-ปริมาณน้อย คาดฝนหนาแน่นกลาง ก.ค.- ก.ย.

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกอง อำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามประเมินสภาพอากาศ รวมถึงคาดการณ์แนวโน้มปริมาณฝน เพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงติดตามผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งการแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้แล้วเสร็จภายใน เดือนมิถุนายน และการเตรียมการรับมือในฤดูฝน เนื่องจากขณะนี้ปริมาณฝนยังมีการตกแบบกระจายตัวเฉลี่ยอยู่ประมาณ 40- 80 มม.ไม่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม และคาดว่าจะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 4 – 11 มิถุนายนนี้อย่างไรก็ตาม เพื่อ เตรียมความพร้อมรับมือก่อนที่ปริมาณฝนจะตกมากขึ้นที่ประชุมได้เร่งรัดทุกหน่วยงานดำเนินการตาม 8 มาตรการรับมือน้ำ หลากให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยพิจารณาจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงน้ำท่วมขัง น้ำหลาก อาทิ การแก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืช การระบายน้ำคลองรอยต่อจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความห่วงใย และสั่งการให้เร่งดำเนินการขุดลอก รวมถึงวางแผนการระบายน้ำจุดเชื่อมต่อต่าง ๆไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ การ จัดทำระบบคาดการณ์น้ำล่วงหน้าสถานีหลักแห่งชาติ จำนวน 51 แห่ง เพื่อการเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ โดยการเชื่อมโยง ระบบคาดการณ์จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค. 63 เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการวิเคราะห์ วางแผนบริหารจัดการน้ำของ กอนช. โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำสำคัญที่เกิดอุทกภัยน้ำหลากเป็นประจำ รวมทั้งพิจารณาสถานี โทรมาตรของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีแผนติดตั้งใหม่ไม่ให้ซ้ำซ้อนกันด้วย

“กรมอุตุนิยมวิทยา และสสน. ได้คาดการณ์สอดคล้องกันว่าขณะนี้ยังไม่มีแนวโน้มการเกิดพายุในช่วงนี้ แต่ยังมี แนวโน้มในเดือนสิงหาคมหรือกันยายน อาจมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 1-2 ลูก ซึ่งจะทำให้เกิดฝนตกชุก หนาแน่น อาจเกิดน้ำท่วมฉันพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมถึงน้ำล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่ ซึ่งทุกหน่วยงานภายใต้ กอนช.ได้เร่งรัด ขับเคลื่อนตาม 8 มาตรการรับมือฤดูฝนให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด ให้สอดคล้องกับพื้นที่และช่วงเวลาของปริมาณฝนคาดการณ์ โดยได้แจ้งข้อมูลพื้นที่คาดการณ์เฝ้าระวังน้ำท่วมไปยังกระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการลุ่มน้ำ และคณะอนุกรรมการระดับ จังหวัดร่วมบริหารจัดการน้ำ เก็บกักน้ำ ติดตาม เฝ้าระวัง และทำงานในระดับพื้นที่ เช่น ในเดือนมิถุนายนฝนส่วนใหญ่อยู่ บริเวณเหนือ ภาคกลาง และทางด้านตะวันออกของภาคอีสาน และภาคตะวันออก และลดลงในช่วงปลายเดือนมิถุนายนต่อ กรกฎาคม ก่อนฝนจะกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งช่วงกลางเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมปริมาณฝนจะเยอะมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นผลดี ในการเก็บกักน้ำต้นทุนสำรองไว้ใช้ในอนาคตทดแทนช่วงฝนน้อยในปีที่ผ่านมาได้ แต่ก็ต้องเฝ้าระวังที่บางพื้นที่อาจะประสบ ปัญหาน้ำท่วมขังได้โดยเฉพาะบริเวณภาคกลาง และกทม. จากนั้นในเดือนกันยายนภาคอีสานจะเริ่มมีฝนต่ำกว่าค่าปกติและ จะไปเพิ่มขึ้นที่ทางภาคใต้ในเดือนตุลาคมตามลำดับ” ดร.สมเกียรติ กล่าว

สำหรับความก้าวหน้าโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปี 2562/63 ล่าสุดขณะนี้หน่วยงานต่าง ๆ ได้ดำเนินการเพิ่มแหล่งน้ำสนับสนุนการอุปโภค-บริโภคในพื้นที่เป้าหมายแล้ว 1,149 แห่ง จากโครงการที่ได้รับงบประมาณ ทั้งสิ้น 1,626 แห่ง คิดเห็น 71% แบ่งเป็น อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1,033 แห่ง ดำเนินการแล้วเสร็จสามารถสนับสนุนน้ำได้ แล้ว 116 แห่ง ประกอบด้วย ขุดเจาะบ่อบาดาล 84 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ 22 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 50 แห่ง ภาค กลาง 12 แห่ง จัดหาแหล่งน้ำผิวดิน 7 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ 3 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 แห่ง ซ่อมแซมระบบประปา 24 แห่ง ได้แก่ ภาคเหนือ 10 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 แห่ง และ วางท่อน้ำดินในภาคเหนือ 1 แห่ง รวมปริมาณน้ำ บาดาล 4.2 ล้านลูกบาศม์เมตร /ปี น้ำประปาสำรอง 5 แสนลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำดิบผลิตประปา 1.97 ล้านลูกบาศก์ เมตร/ปี ประชาชนได้รับประโยชน์ 12,752 ครัวเรือน ทั้งนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้

ขณะที่โครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเพิ่มเติมให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำ และโครงการเร่งด่วนเพื่อการกักเก็บน้ำใน ฤดูฝน ปี 2563 พบว่า มีการดำเนินการแล้ว 137 แห่ง แบ่งเป็น อยู่ระหว่างการดำเนินการ 129 แห่ง แล้วเสร็จจำนวน 8 แห่ง ซึ่งเป็นโครงการฟื้นฟูแหล่งน้ำเดิมให้พร้อมเก็บกักน้ำได้มากขึ้นแบ่งเป็น ภาคกลาง 6 แห่ง ตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง และภาคตะวันออก 1 แห่ง ปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 9 หมื่นลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 6 แสนไร่ ประชาชนรับ ประโยชน์ 435 ครัวเรือน มีการจ้างงานท้องถิ่น 43 คน โดยในวันที่ 10 มิถุนายนี้พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นายกรัฐมนตรี จะลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการขุดเจาะบ่อบาดาลตามที่รัฐบาลให้งบประมาณสนับสนุนในพื้นที่ขาด แคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ในจังหวัดเลย และในวันที่ 11 มิถุนายนจะเป็นประธานการประชุมกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เพื่อ ติดตามความก้าวหน้ามาตรการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และเตรียมความพร้อมรับมือน้ำหลากด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง