ก.ล.ต. สนับสนุนตราสารหนี้ยั่งยืนไทยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลักเซมเบิร์ก ดึงดูดผู้ลงทุนทั่วโลก

อังคาร ๐๙ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๑๗:๑๕
ก.ล.ต. เปิดเผยผลการศึกษาเทียบเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของไทยกับของลักเซมเบิร์ก พร้อมสนับสนุนบริษัทไทยที่มีความพร้อม นำตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนไปแสดงใน Luxembourg Green Exchange (LGX) ตลอดจนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg Stock Exchange : LuxSE) โดยอาจเริ่มจากการขึ้นทะเบียนในตลาด SoL ซึ่งมีเกณฑ์ที่ผ่อนคลาย

สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยนางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต. และคณะ เข้าพบ Mr. Robert Scharle, CEO ตลาดหลักทรัพย์ลักเซมเบิร์ก (LuxSE) และคณะ

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 เพื่อร่วมหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดตั้งแพลตฟอร์มข้อมูลด้านตราสารหนี้ยั่งยืน รวมถึงมีแนวคิดที่จะนำตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Green Bond, Social Bond, Sustainability Bond) ของไทยไปแสดงข้อมูลใน LGX ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่แสดงข้อมูลตราสารยั่งยืนที่ LuxSE เพื่อให้ผู้ลงทุนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก และสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้

ก.ล.ต. จึงศึกษาและเทียบเกณฑ์เสนอขายหลักทรัพย์ของไทยกับของลักเซมเบิร์ก (regulatory mapping) เพื่ออำนวยความสะดวกให้บริษัทไทยที่มีความพร้อมจดทะเบียนในต่างประเทศ โดยพบว่าผู้ออกตราสารหนี้สามารถนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดใดตลาดหนึ่งของ LuxSE ซึ่งมีอยู่ 3 แห่ง คือ Bourse de Luxembourg (BdL) ซึ่งมีกฎเกณฑ์เข้มเทียบเท่าการเสนอขายหุ้นกู้แก่ประชาชนทั่วไป Euro Multilateral Trading Facility (MTF) มีกฎเกณฑ์ผ่อนคลายเทียบเท่าการเสนอขายหุ้นกู้แก่ผู้ลงทุนรายใหญ่ และ Securities Official List (SoL) ที่มีกฎเกณฑ์ผ่อนคลายมากที่สุดอาจเทียบเท่าการเสนอขายผู้ลงทุนสถาบัน

“ตลาด BdL และ MTF เป็นตลาดที่สามารถซื้อขายตราสารหนี้ได้ ในขณะที่ SoL เป็นแพลตฟอร์มสำหรับแสดงรายละเอียดของตราสารหนี้ (profile listing) หากผู้ลงทุนที่สนใจซื้อขายตราสารในแพลตฟอร์มนี้จะต้องทำธุรกรรมในตลาดตราสารหนี้ไทย สำหรับบริษัทที่สนใจและมีความพร้อมสามารถเลือกไปจดทะเบียนในตลาดดังกล่าวเพื่อให้ตราสารหนี้ปรากฏในแพลตฟอร์ม LGX ซึ่งมีส่วนที่ต้องทำเพิ่มหลักคือการแปลหนังสือชี้ชวนและเอกสารให้ความเห็นจากที่ปรึกษาทางกฎหมาย โดยอาจเริ่มจากการขึ้นทะเบียนในตลาด SoL ซึ่งมีเกณฑ์ที่ผ่อนคลายและมีค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นภาระกับบริษัทผู้ออกมากจนเกินไป ส่วนบริษัทที่เริ่มมีความคุ้นเคยกับกฎเกณฑ์อาจเลือกจดทะเบียนในตลาด BdL หรือ EuroMTF ที่สามารถซื้อขายในตลาดได้ด้วย” นางสาวรื่นวดี กล่าว

นอกจากนี้ ก.ล.ต. พร้อมให้การสนับสนุนและลดอุปสรรคให้กับบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความสนใจ โดยจะจัดทำคู่มือการจดทะเบียนหลักทรัพย์ใน LuxSE และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับผู้ออกตราสารหนี้ รวมทั้งประสานกับตลาดหลักทรัพย์ลักเซมเบิร์ก เพื่อให้ความรู้เชิงลึกและตอบข้อสงสัยเพิ่มเติม

ทั้งนี้ LGX เป็นแพลตฟอร์มแสดงตราสารด้านสิ่งแวดล้อม (Green Exchange) แห่งแรกของโลกที่แสดงข้อมูลครบวงจรของตราสารหนี้และกองทุนรวมยั่งยืนจากหลายประเทศที่มีความน่าเชื่อถือซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 ปัจจุบันมีการแสดงข้อมูลของตราสารหนี้ยั่งยืนมากกว่าร้อยละ 50 ของตราสารหนี้ยั่งยืนที่จดทะเบียนทั่วโลก และมีผู้ออกจากประเทศในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น จีนและฮ่องกง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๒ คณะ กิจกรรม วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงาน
๑๖:๐๖ กรุงศรีออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือนตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย
๑๖:๒๙ Lexar Professional CFexpress 4.0 Type B Card DIAMOND คว้ารางวัล BEST STORAGE MEDIA ในงาน TIPA WORLD AWARDS
๑๖:๔๔ ฟอร์ติเน็ต ร่วมมือ สกมช. คัดเลือก-ฝึกอบรมเสริมทักษะบุคลากรคลาวด์ เล็งเพิ่มทรัพยากรบุคคล เสริมความมั่นคงปลอดภัยบนคลาวด์ทุกรูปแบบ
๑๖:๒๙ ไอ-เทล รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรก แข็งแกร่งด้วย รายได้กว่า 4 พันล้าน กำไรเพิ่ม 93 เปอร์เซ็นต์ มุ่งการเติบโตต่อเนื่องตลอดปี
๑๖:๒๒ หมอแม็ค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมของไทย
๑๖:๐๗ ทรูเวฟ (ประเทศไทย) เปิดตัว GreenFarm.AI ผู้ช่วยคนใหม่ที่จะทำให้สวนเติบโตสวยและยั่งยืนได้ดั่งใจ
๑๖:๕๐ ไบเทคบุรี เมกะโปรเจกต์ของภิรัชบุรี กรุ๊ป พลิกโฉม ไบเทค บางนา ก้าวข้ามอุตสาหกรรม MICE สู่สถานที่แห่งไลฟ์สไตล์ครบวงจร
๑๖:๕๒ ดีมันนี่ ตอกย้ำความสำเร็จในงาน Money 20/20 Asia ในฐานะผู้บุกเบิกโซลูชัน โอนเงินไปต่างประเทศชั้นนำในวงการฟินเทคไทย
๑๖:๕๔ สบยช. ยืนยัน ชาเม่ คอลลาเจน ไม่มีสารเสพติด