สศก. เทียบชัด เกษตรกรแปลงใหญ่สมุนไพร ขมิ้นชัน-ไพล สร้างรายได้มากกว่ากลุ่มเกษตรกรทั่วไป

พฤหัส ๑๑ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๑๐:๐๗
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดสมุนไพรในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณีศึกษาขมิ้นชัน และไพล โดยทำการศึกษา ต้นทุน ผลตอบแทนการผลิต ประสิทธิภาพการผลิต การตลาด เปรียบเทียบทั้งในและนอกพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งผลการศึกษา พบว่า จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร ณ เดือนตุลาคม 2561 มีแปลงที่ปลูกขมิ้นชันครอบคลุม 5 จังหวัด (พังงา สุราษฎร์ธานี มหาสารคาม สระแก้ว ราชบุรี) แปลงที่ปลูกไพลครอบคลุม 4 จังหวัด (สุราษฎร์ธานี มหาสารคาม สระแก้ว ราชบุรี) รวมจำนวนเกษตรในโครงการแปลงใหญ่สมุนไพรที่มีการปลูกขมิ้นชันและไพลทั้งสิ้น 326 ราย

ขมิ้นชัน เกษตรกรในโครงการแปลงใหญ่ มีต้นทุนการผลิต 14,931 บาท/ไร่/รุ่นการผลิต 1 ปี ผลผลิต 1,684 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 23.17 บาท/กก. ให้ผลตอบแทน 39,019 บาท/ไร่ คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 24,088 บาท/ไร่ เมื่อเทียบกับเกษตรกรนอกพื้นที่แปลงใหญ่ พบว่ามีต้นทุนการผลิตน้อยกว่าร้อยละ 8.86 และมีผลตอบแทนสุทธิมากกว่า ร้อยละ 12

ไพล เกษตรกรในโครงการแปลงใหญ่ มีต้นทุนการผลิต 24,664 บาท/ไร่/รุ่นการผลิต 2 ปี ผลผลิต 3,341 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 23.66 บาท/กก. ให้ผลตอบแทน 79,042 บาท/ไร่ คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 54,377 บาท/ไร่ เมื่อเทียบกับเกษตรกรนอกพื้นที่แปลงใหญ่ พบว่า มีต้นทุนการผลิตต้นทุนน้อยกว่าร้อยละ 6.28 และมีผลตอบแทนสุทธิมากกว่าร้อยละ 26.77

จากการศึกษา ยังพบว่า ปัจจุบันความต้องการใช้สมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายทั้งใช้ประกอบอาหาร ผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลสุขภาพ และเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอาง พืชสมุนไพรจึงเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้เกษตรกรในชุมชน โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับสมุนไพร เป็นช่องทางการจำหน่ายหลักของขมิ้นชันและไพล รองลงมาเป็นการจำหน่ายให้พ่อค้ารวบรวม ดังนั้น ภาครัฐควรส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้เป็นช่องทางในการรับซื้อผลผลิตและลดความเสี่ยงด้านราคา โดยจะต้องส่งเสริมตลอดโซ่อุปทาน เช่น มาตรฐานวัตถุดิบและการแปรรูปเป็นเวชสำอางและผลิตภัณฑ์ต่างๆ และส่งเสริมกิจกรรมทางด้านการตลาด เช่น Road show และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ให้มากขึ้น นอกจากนี้ เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร ควรรวมตัวกันเป็นกลุ่มเข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่ จะช่วยให้เกษตรกรมีช่องทางการจำหน่ายการตลาด ได้ราคา และสร้างรายได้ดียิ่งขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๓๐ เม.ย. GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๓๐ เม.ย. PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๓๐ เม.ย. LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๓๐ เม.ย. ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๓๐ เม.ย. LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๓๐ เม.ย. SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๓๐ เม.ย. STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๓๐ เม.ย. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน