กอปภ.ก. ประสาน 7 จังหวัดภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เตรียมพร้อมรับมือน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม ในช่วงวันที่ 19 - 20 มิ.ย. 63

ศุกร์ ๑๙ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๑๑:๔๔
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสาน 7 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เตรียมพร้อมรับมือน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม ในช่วงวันที่ 19 – 20 มิ.ย. 63 โดยจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา พื้นที่ที่มีภูเขาสูงชัน พร้อมติดตามสถานการณ์ปริมาณน้ำฝนสะสม และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด รวมถึงจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตลอดจนแจ้งเตือนประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศ และปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ติดตามสภาวะอากาศ ปริมาณฝนสะสม และปัจจัยเสี่ยงเชิงพื้นที่ พบว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่งผลให้ให้ศักยภาพในการอุ้มน้ำของดินต่ำลง หากมีปริมาณฝนสะสมเพิ่มขึ้นในพื้นที่ลาดเชิงเขา อาจทำให้พื้นที่ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม ปภ. จึงได้ประสาน 7 จังหวัด เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ในช่วงวันที่ 19 -20 มิถุนายน 2563 แยกเป็น ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย น่าน (อำเภอสองแคว อำเภอท่าวังผง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว และอำเภอบ่อเกลือ) ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ (อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 จังหวัด ได้แก่ เลย รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย ให้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา พื้นที่ที่มีภูเขาสูงชัน พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และพื้นที่ที่เคยเกิดมาก่อนแล้ว พร้อมติดตามสถานการณ์ปริมาณน้ำฝนสะสม 24 ชั่วโมง หากฝนตกหนักถึงหนักมากและสถานการณ์รุนแรง ให้พิจารณาอพยพประชาชนไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย รวมถึงจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว ยานพาหนะ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย ตลอดจนแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยระมัดระวังอันตรายจากสถานการณ์ภัยในระยะนี้ สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ขอให้ติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ สามารถติดต่อแจ้งเหตุและติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสาขาในพื้นที่ หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๙ ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๑๗:๕๑ GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๑๗:๒๗ กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๑๗:๑๔ กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๑๗:๒๕ First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๑๗:๐๒ CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๑๗:๑๑ บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๑๗:๕๒ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๑๗:๐๑ รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๑๗:๔๓ กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว