สคร. ยังติดตามงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิด ช่วยการฟื้นฟูเศรษฐกิจจาก COVID - 19

จันทร์ ๒๙ มิถุนายน ๒๐๒๐ ๐๙:๓๒
นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สคร. ได้ติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนในปี 2563 ของรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง ที่ สคร. กำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งในภาพรวมรัฐวิสาหกิจยังสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดย ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2563 มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจำนวน 104,214 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 101 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม รวมทั้งสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2562 โดยรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุนขนาดใหญ่และสามารถเบิกจ่าย

ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง

นางสาวปิยวรรณ ล่ามกิจจา รองผู้อำนวยการ สคร. รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมของรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง แบ่งเป็นการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ 34 แห่ง จำนวน 61,140 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 94 ของแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม 8 เดือน (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – พฤษภาคม 2563) และการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน 10 แห่ง จำนวน 43,073 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 114 ของแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม 5 เดือน (ตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2563) โดยมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สามารถเบิกจ่ายได้เกินกว่าเป้าหมาย เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ของ รฟม. โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าภาคตะวันตกและภาคใต้ เพื่อสร้างความมั่นคงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และงานก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบท่อส่งน้ำของการประปาส่วนภูมิภาค สำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เช่น โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ช่วงบางซื่อ – รังสิต (รถไฟชานเมืองสายสีแดง) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ 2554 – 2560) ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกตะวันตกของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการเดิมที่ดำเนินการล่าช้าต่อเนื่องมา

นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวสรุปว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID - 19 ได้ส่งผลกระทบต่อโครงการลงทุนบางโครงการที่ต้องใช้บุคลากรและการนำเข้าอุปกรณ์ จากต่างประเทศ รวมทั้งผู้รับเหมาไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องปรับปรุงแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับความเหมาะสมในการลงทุนและผลการดำเนินงานจริง อย่างไรก็ตาม การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2563 รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ยังคงสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลมาจากการนำงานที่สามารถเบิกจ่ายได้มาทดแทนผลกระทบเหล่านี้ เช่น เงินเบิกจ่ายล่วงหน้าให้กับผู้รับจ้างหรือค่าทดแทนเพื่อชดเชยให้กับประชาชน ซึ่งจะเป็นการช่วยผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบและช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID – 19

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน
๑๗:๒๔ กรมทรัพย์สินทางปัญญา หารือกองปราบฯ จัดชุดปฏิบัติการพิเศษ ปราบสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา งัดกฎหมายที่เกี่ยวข้องปราบผู้กระทำผิด
๑๗:๐๘ The Food School Bangkok ผนึก 2 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ มอบทุนกว่า 1.5 ล้านบาท เปิดตัว Future Chef of the World 2025
๑๗:๐๒ NPS สนับสนุนการปรับปรุงระบบไฟฟ้า โรงเรียนวัดหลังถ้ำวิทยาคาร
๑๗:๔๑ บางจากฯ จัดโปรแรงต่อเนื่อง จันทร์สีม่วง ลดราคาเฉพาะน้ำมันกลุ่มไฮพรีเมียม ทุกวันจันทร์ ระหว่างวันที่ 5 พ.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68
๑๗:๓๐ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมราชทัณฑ์ จัดงานรวมพลังอาสาสมัครราชทัณฑ์ คืนคนดีสู่สังคม
๑๗:๑๑ ผมสวยท้าร้อน BSC hair Spray บำรุงยาวนาน ด้วยสูตร Aqua Moist
๑๗:๒๘ เตรียมพบกับปรากฏการณ์ศิลปะครั้งสำคัญ @ช่างชุ่ย นิทรรศการเดี่ยวในรอบ 9 ปี ของ Linecensor ARCH OF LINECENSOR PART 1: PERFECT
๑๗:๒๐ Tastes of May ณ โรงแรมเชอราตัน หัวหิน รีสอร์ท แอนด์ สปา 3 เสาร์ 3 สไตล์ ตลอดเดือนพฤษภาคมนี้
๑๗:๔๕ อิเกีย ประเทศไทย ชวนอร่อยจัดเต็มกับเทศกาลแซลมอน ด้วยหลากเมนูพิเศษจากแซลมอนนอร์เวย์ คัดสรรคุณภาพสดใหม่ 1-31