รู้วิธีถนอมข้อสำคัญในร่างกาย ช่วยป้องกันอาการมือเท้าชาและข้อเข่าเสื่อม

ศุกร์ ๒๔ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๐๙:๐๖
ผู้อ่านวัยทำงานทั้งหลายเคยมีอาการเหน็บชาตามปลายนิ้ว มือ หรือปวดเอว ปวดข้อเข่า โดยไม่ทราบสาเหตุบ้างหรือไม่ พอลองปรึกษาเพื่อนร่วมงาน ก็อาจได้คำแนะนำมาว่า “สงสัยนั่งผิดท่า” “ออฟฟิศซินโดรมหรือเปล่า” “ทำงานติดโต๊ะละสิ” แล้วก็ได้แนวทางรักษาเช่น “ลองไปนวดดูไหม” ทุกที
รู้วิธีถนอมข้อสำคัญในร่างกาย ช่วยป้องกันอาการมือเท้าชาและข้อเข่าเสื่อม

แน่นอนว่าหลังจากลองนวดดูแล้วก็ผ่อนคลายขึ้นจริง ๆ แต่หลังจากผ่านไปสักพัก อาการชาอาการปวดก็กลับมาเยือนอีก ยิ่งใครชะล่าใจและปล่อยทิ้งไว้ สุดท้ายอาการอาจรุนแรงขึ้นจนต้องไปพบแพทย์ ซึ่งเมื่อมาถึงขั้นนี้ก็ยังไม่แน่ว่าจะหายขาดหรือเปล่า ทำให้ต้องเสียเงิน เสียเวลา และเป็นปัญหาที่พบมากในกลุ่มวัยทำงานไปแล้ว

ตราบใดที่เรายังก้มดูสมาร์ตโฟนต่อเนื่องนาน ๆ ชอบนั่งเล่นเกมหน้าคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมง หรือต้องยืนต้องนั่งในท่าเดิมตลอดวัน พฤติกรรมทั้งในยามพักผ่อนและทำงานเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อร่างกายทั้งสิ้น รวมถึงยังเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บบริเวณเส้นเอ็นกระดูก เส้นเอ็นกล้ามเนื้อ และข้อต่อต่าง ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะข้อต่อบริเวณคอ บริเวณเชิงกราน และข้อเข่า ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการเหน็บชาและอาการปวดหลายรูปแบบ

เมื่ออยากแก้ปัญหาเหน็บชาและอาการปวด หลายคนมักสนใจแก้ไขแค่ปลายเหตุ เพราะเข้าใจว่าถ้าไปพบแพทย์และได้ยามากินก็คงหาย แต่ในความเป็นจริง สาเหตุสำคัญของอาการเหน็บชาหรือปวดตามข้ออาจเกิดจากส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากจุดที่แสดงอาการด้วย

ซะกะอิ ชินตะโร (Sakai Shitarou) ประธานบริษัท Sakai Clinic Group ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการบาดเจ็บของนักกีฬาจากประเทศญี่ปุ่น และเป็นเจ้าของผลงานหนังสือ 2 เล่ม คือ “มือเท้าชา รักษาหายได้ด้วยตนเอง” และ “ข้อเข่าเสื่อม รักษาหายได้ด้วยตนเอง” ได้อธิบายไว้ว่า อาการเหน็บชาตามมือ เท้า หรืออาการปวดบริเวณเข่า อาจเกิดจากเส้นเอ็นหรือข้อต่อได้รับความเสียหาย โดยสืบเนื่องมาจากอิริยาบถที่ไม่เหมาะสมในขณะทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ

กรณีอาการเหน็บชาตามมือและเท้า สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก “สาเหตุที่ซ่อนอยู่” ในอวัยวะสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ กระดูกสันหลังส่วนคอ และข้อต่อกระดูกสันหลังกับเชิงกราน

กระดูกสันหลังส่วนคอเป็นที่มาของอาการเหน็บชาบริเวณมือ เพราะพฤติกรรมของคนปัจจุบันที่มักก้มหน้าใช้สมาร์ตโฟน หรือก้มหน้าพิมพ์งานเป็นเวลานาน กระดูกสันหลังส่วนคอจึงอยู่ผิดรูปจากที่ควรเป็น กล้ามเนื้อบริเวณลำคอเลยทำงานหนักขึ้น หากปล่อยไว้ไม่ปรับท่าทางเสียแต่เนิ่น ๆ อาการอาจลามไปยังกระดูกสันหลังส่วนที่อยู่ใกล้กัน และมีอาการรุนแรงขึ้นจนทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทได้

ขณะที่อาการเหน็บชาบริเวณเท้าเกิดจากความผิดปกติของข้อต่อกระดูกสันหลังกับเชิงกราน สาเหตุหลักมักมาจากการขยับตัวผิดท่า รวมถึงการนั่งหรือยืนหลังค่อม การยืนแอ่นพุง ส่งผลให้ข้อต่อช่วงสะโพก หัวเข่า และข้อเท้าบิดเบี้ยว การกระจายน้ำหนักและแรงกดทับบริเวณเท้าจึงแย่ลง เป็นเหตุให้สภาพกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และเอ็นกระดูกเสื่อมลงในที่สุด

อ่านถึงตรงนี้ หลายคนคงสังเกตพฤติกรรมของตนเองแล้วรู้สึกหวั่น ๆ พอไล่เรียงกิจวัตรประจำวันดูก็คิดไม่ออกเลยว่าควรเริ่มต้นปรับตนเองอย่างไร ต้องเลี่ยงพฤติกรรมใดบ้าง และจะป้องกันไม่ให้ตนเองอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ได้จริงหรือ

ในหนังสือ “มือเท้าชา รักษาหายได้ด้วยตนเอง” ได้ไขข้อข้องใจเรื่องนี้ไว้แล้วว่า เราสามารถป้องกันอาการชาหรือเจ็บปวดซึ่งเป็นผลพวงของอิริยาบถที่ไม่ดีต่อข้อต่อในร่างกายได้ โดยการหมั่นทำบริหารกายวันละ 5 นาที ร่วมกับการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เบื้องต้นเราอาจลองตรวจสอบอาการของตนเองตามหนังสือดูก่อน เช่น รู้สึกว่าคอไหล่ตึงหรือเคล็ดบ่อย ๆ ไหม ปกติชอบเล่นสมาร์ตโฟนทุกครั้งที่ว่างหรือเปล่า ทำงานนั่งโต๊ะใช้คอมพิวเตอร์หรือขับรถเป็นเวลานานใช่หรือไม่ หากมีอาการดวงตาอ่อนล้า ปวดหัว เวียนหัว และมีเสียงในหู เป็นไปได้ว่าข้อต่อกระดูกบริเวณลำคอเริ่มมีปัญหา ควรรีบปรึกษาแพทย์และเริ่มต้นทำกายบริหารอย่างถูกวิธี

ส่วนปัญหาปวดบริเวณข้อเข่า คนส่วนมากมักคิดว่าเกิดจากวัยที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ความจริงพฤติกรรมในวัยทำงานดังที่ยกตัวไว้ช่วงต้นก็ทำให้ข้อเข่าเจ็บปวดได้เช่นกัน เนื่องจากข้อต่อสำคัญ ๆ ในร่างกายมนุษย์มีอยู่ 3 จุด คือ ข้อต่อบริเวณคอ ข้อต่อบริเวณเชิงกราน และข้อเข่า ทั้ง 3 จุดทำหน้าที่รับแรงกระแทกและแรงกดทับร่วมกัน หากข้อใดข้อหนึ่งมีปัญหาจึงส่งผลต่อข้อต่อจุดอื่น ๆ ตามไปด้วย

ในหนังสือ “ข้อเข่าเสื่อม รักษาหายได้ด้วยตนเอง” ได้อธิบายสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมไวขึ้นว่า ร่างกายของเรามักอยู่ท่าที่ต้องงอเข่าโดยไม่รู้ตัวอยู่เสมอ เป็นเหตุให้เอ็นกล้ามเนื้อบริเวณเข่าแข็งตึงและอักเสบได้ง่าย ทั้งยังทำให้ระยะการเคลื่อนไหวของข้อเข่าแคบลง กระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่าจึงถูกเสียดสีและสึกกร่อนง่ายขึ้น หากเราไม่ถนอมข้อเข่าตั้งแต่วัยทำงาน เมื่อแก่ตัวไปจึงประสบปัญหาข้อเข่าเสื่อมและมีโอกาสเสี่ยงกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้นด้วย หนทางรักษาเข่าของเราให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพไปนาน ๆ จึงต้องอาศัยการทำกายบริหารอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอเช่นเดียวกับข้อต่อส่วนอื่น ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เอ็นและกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อเข่ามีความยืดหยุ่นและทำหน้าที่ซับแรงได้ดีดังเดิม

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับท่าบริหารแต่ละส่วน ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ “ข้อเข่าเสื่อมรักษาหายได้ด้วยตนเอง!” และ “มือเท้าชารักษาหายได้ด้วยตนเอง!” ดังที่แนะนำไว้ในช่วงต้น หนังสือบาง ๆ ทั้ง 2 เล่มนี้จะอธิบายความรู้เกี่ยวกับอาการมือเท้าชาและภาวะข้อเข่าเสื่อมให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างชัดเจน พร้อมรู้วิธีตรวจสอบอาการบาดเจ็บ และท่าบริหารอย่างง่ายที่นำไปปฏิบัติตามกันได้ทันทีที่บ้าน

ในเมื่อใช้ร่างกายของเราทำงานหนักกันไปแล้ว ก็อย่าลืมหันมาดูแลร่างกายตัวเองกันด้วยนะ

รู้วิธีถนอมข้อสำคัญในร่างกาย ช่วยป้องกันอาการมือเท้าชาและข้อเข่าเสื่อม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4