สศอ. เร่งทำแผนอุตฯเครื่องมือแพทย์ ชี้การลงนาม MOU 3 หน่วยงานเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนา

พฤหัส ๑๓ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๐๘:๕๘
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เร่งจัดทำแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์หนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ขยายตัว มุ่งผลิตสำหรับใช้ภายในประเทศและลดการนำเข้าหลังโควิด-19 ส่งผลให้อุปกรณ์ทางการแพทย์ขาดแคลน ชี้การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ของไทยสู่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ระหว่าง 3 หน่วยงานจะเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาเครื่องมือแพทย์ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริง
สศอ. เร่งทำแผนอุตฯเครื่องมือแพทย์ ชี้การลงนาม MOU 3 หน่วยงานเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนา

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้เร่งจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์หนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) เพื่อรองรับความต้องการที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยจะส่งเสริมและผลักดันมาตรการด้านการวิจัยและพัฒนา การผลิต การลงทุน การตลาด รวมถึงปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ทั้งนี้ จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นและไม่สามารถนำเข้าจากต่างประเทศ จึงจำเป็นจะต้องยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้สามารถผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับใช้ในประเทศและลดการนำเข้าจากต่างประเทศ สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางด้านสุขภาพของประชาชน

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ของไทยสู่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ระหว่าง 3 องค์กร ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กับสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคมไทย และ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ เป็นครั้งแรกที่จะได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลในฐานะผู้ที่มีความเข้าใจในผลิตภัณฑ์และต้องการใช้งานจริง และจะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมทางการแพทย์ (Smart Medical) ซึ่งจะมีการประยุกต์ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยเทียบเท่าระดับสากล เช่น Continuous Positive Airway Pressure : CPAP หรือเครื่องอัดอากาศแรงดันบวกที่ใช้สำหรับรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยที่มีสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้ทดสอบความปลอดภัยทั้งด้านการทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และการประสานกับทางองค์การอาหารและยา (อย.)

อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา (พ.ศ. 2558-2562) โดยมีการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 4.09 ทั้งนี้ สถานการณ์โควิดได้เร่งให้อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศมีการลงทุนเพิ่มในอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ขาดแคลน เช่น หน้ากากอนามัย ถุงมือยาง เร่งการพัฒนานวัตกรรมและความร่วมมือของในหน่วยงานสังกัดมหาวิทยาลัย และภาคเอกชน โดยมีการนำผลการวิจัยด้านอุปกรณ์การแพทย์ในประเทศมาใช้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก นับเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาอุตสาหกรรมช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยต่อไป เพื่อให้ประเทศไทยสามารถในการบรรลุเป้าหมายอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์อย่างยั่งยืน นายทองชัย กล่าว

สศอ. เร่งทำแผนอุตฯเครื่องมือแพทย์ ชี้การลงนาม MOU 3 หน่วยงานเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud