นักวิชาการ 'สงขลานครินทร์’ รับรางวัล Southeast Asia Women 2020 จากการขับเคลื่อนงานวิชาการติดตามสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศชายฝั่ง

อังคาร ๑๘ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๐:๒๓
นักวิชาการ ม.สงขลานครินทร์ ได้รับคัดเลือกจาก Young Southeast Asia Leader Initiative (YSEALI) Women’s Leadership Academy Alumni Network เครือข่ายเพื่อสนับสนุนบทบาทการเป็นผู้นำของผู้หญิงและส่งเสริมความร่วมมือภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้รับรางวัล Southeast Asia Women 2020 จากความมุ่งมั่นใช้งานวิชาการติดตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและระบบนิเวศชายฝั่ง
นักวิชาการ 'สงขลานครินทร์ รับรางวัล Southeast Asia Women 2020 จากการขับเคลื่อนงานวิชาการติดตามสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศชายฝั่ง

ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือ ม.อ. เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามันอย่างจริงจังมาโดยตลอด ซึ่งในปี 2560 ที่ผ่านมา ม.อ.ได้มีการจัดตั้งสถานวิจัยสมุทรศาสตร์ชายฝั่งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศชายฝั่ง ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG (Sustainable Development Goal) ในหัวข้อว่าด้วยการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล ตามกรอบการดำเนินงานด้านการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ โดยที่ผ่านมา มีนักวิจัย ม.อ. ได้ลงพื้นที่ในการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการประเมินศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศหญ้าทะเล เพื่อทำงานเชิงวิชาการในการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมชายฝั่ง

ทั้งนี้ จากความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างจริงจังของนักวิชาการ ม.อ. ทำให้ Young Southeast Asia Leader Initiative (YSEALI) Women’s Leadership Academy Alumni Network ซึ่งเป็นเครือข่ายสนับสนุนบทบาทการเป็นผู้นำของผู้หญิงและส่งเสริมความร่วมมือภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้คัดเลือก ผศ.ดร.พิมพ์ชนก บัวเพชร อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. เป็น 1 ใน 80 คน จาก 10 ประเทศ และกลุ่มสาขา ให้รับรางวัล Southeast Asia Women 2020 ในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และการศึกษา

ผศ.ดร.พิมพ์ชนก บัวเพชร อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. กล่าวว่า ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย Southeast Asian Women โดยได้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการประเมินศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศหญ้าทะเล ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องอาศัยเครือข่ายและการสื่อสารให้แก่ทุกภาคส่วน เพื่อช่วยกันบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทำงานด้านวิชาการด้านการติดตามการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งและสภาพภูมิอากาศ จึงทำให้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติในครั้งนี้

“ต้องขอบคุณมหาวิทยาลัยที่เห็นความสำคัญของดูแลสิ่งแวดล้อมตามชายฝั่ง จึงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถานวิจัยสมุทรศาสตร์และให้โอกาสตนได้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศชายฝั่ง โดยมีเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งทำให้เราสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล ตามกรอบการดำเนินงานขององค์การสหประชาชาติ” ผศ.ดร.พิมพ์ชนก กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๗ ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๑๗:๕๓ NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๑๗:๐๕ แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๑๗:๓๒ แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๑๗:๒๕ RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๑๗:๔๘ ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๑๗:๐๕ เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๑๗:๐๖ ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๑๗:๔๙ ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud
๑๗:๐๐ เปิดรับสมัครแล้ว HaadThip Fan Run 2024 แฟนรัน ฟันแลนด์ ดินแดนมหัศจรรย์ หาดสมิหลา จ.สงขลา