ผู้จัดการแข่งขันหุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้พิการ “Global Innovation Challenge 2021 -- Living Assistance Robot Award” เริ่มเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขัน 1 กันยายน

พุธ ๐๙ กันยายน ๒๐๒๐ ๑๖:๓๐
- ตั้งเป้าช่วยให้ผู้พิการขาสมความปรารถนาด้วยการยืนและเดินได้ด้วยตัวเอง -

Global Innovation Challenge Executive Committee ประกาศจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้พิการ “Global Innovation Challenge 2021 -- Living Assistance Robot Award” เพื่อช่วยเหลือผู้พิการในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยมีเป้าหมายในการสร้างสังคมที่ผู้คนไม่ต้องกังวลเรื่องความพิการ

(โลโก้: https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M106211/202008313660/_prw_PI1fl_hHEiIH91.jpg)

(รูปภาพ: https://kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M106211/202008313660/_prw_PI2fl_KN0vA3d4.jpg)

เป้าหมายของการแข่งขัน Global Innovation Challenge

- ช่วยให้ผู้พิการขาสมความปรารถนาด้วยการยืนและเดินได้ด้วยตัวเอง

ประชากรโลกที่ต้องการความช่วยเหลือในชีวิตประจำวันกำลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการสูงวัย ความเจ็บป่วย การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ และอื่น ๆ ในขณะที่ผู้ให้ความช่วยเหลือและผู้รับความช่วยเหลือต่างต้องแบกรับภาระทางจิตใจ ร่างกาย และการเงิน บรรดานักลงทุนกลับไม่ค่อยกระตือรือร้นที่จะลงทุนพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยดูแลสุขภาพและสวัสดิภาพ เพราะตลาดนี้มีขนาดค่อนข้างเล็ก

- โครงสร้างสังคมคืออุปสรรคในการสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์-อุปทานของตัวเลือกใหม่ ๆ ที่จะช่วยขยายขอบเขตการใช้ชีวิตของผู้พิการ

การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะและการส่งเสริมพื้นที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง ส่งผลให้ผู้พิการขาสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตัวเองมากขึ้นหากมีวีลแชร์ ทว่าพวกเขายังคงทำกิจกรรมได้อย่างจำกัดในพื้นที่ที่ไม่มีการพัฒนาสิ่งเหล่านี้มากพอ ยกตัวอย่างเช่น หากผู้พิการขาไปบ้านเพื่อนที่ไม่ได้ออกแบบพื้นที่ปราศจากสิ่งกีดขวางเหมือนที่บ้านตัวเอง พวกเขาก็จะทำกิจกรรมได้อย่างจำกัด จริงอยู่ที่ว่าผู้พิการขาสามารถเดินทางโดยใช้วีลแชร์ รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น และใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือในการเดิน แต่ส่วนใหญ่ปรารถนาที่จะยืนและเดินด้วยตัวเองมากกว่า ไม่ว่าจะมีโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะและพื้นที่ปราศจากสิ่งกีดขวางเพียงพอหรือไม่ก็ตาม ทางผู้จัดการแข่งขันเชื่อว่า หุ่นยนต์ที่ช่วยให้ผู้พิการขาเดินได้ด้วยตัวเองจะทำให้พวกเขาใช้ชีวิตประจำวันอย่างเพลิดเพลินและมีอิสระขึ้นมากในแบบของตัวเอง

- การแข่งขันชิงรางวัล Living Assistance Robot Award

รางวัล Living Assistance Robot Award จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมหุ่นยนต์ที่ช่วยให้ผู้พิการขาที่ใช้วีลแชร์สามารถใช้ร่างกายส่วนที่เหลือในการเดินด้วยตัวเอง และเผยแพร่นวัตกรรมดังกล่าวไปทั่วโลก รางวัลนี้จะสนับสนุนผู้ที่มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้พิการทั่วโลก

- สารจากทัตสึฟูมิ คามิมูระ ประธาน Global Innovation Challenge Executive Committee

“วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง สมาร์ทโฟนก่อให้เกิดหลายสิ่งหลายอย่างที่แต่ก่อนเป็นได้แค่ฝัน ชีวิตประจำวันและกิจกรรมทางธุรกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็วขึ้น และเราอยู่ในโลกที่สามารถทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ ได้เสมอ อย่างไรก็ตาม เมื่อใครสักคนต้องกลายเป็นผู้พิการเพราะอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วย พวกเขาก็ใช้ชีวิตประจำวันได้ยากขึ้น”

“เราจัดตั้งรางวัลนี้ขึ้นเพราะเชื่อว่าเราสามารถสร้างโลกที่ผู้คนไม่ต้องกังวลเรื่องความพิการ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำมาประยุกต์ใช้ในแวดวงสุขภาพและสวัสดิภาพ รวมถึงให้การสนับสนุนวิศวกรในแวดวงนี้ด้วย”

“เราจะยินดีมากหากรางวัลนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ทุ่มเททำการวิจัยและพัฒนาทั่วโลก”

- ภาพรวมของรางวัล Global Innovation Challenge - Living Assistance Robot Award

รางวัลนี้มอบให้แก่องค์กรที่กำลังพัฒนาหุ่นยนต์ซึ่งช่วยให้ผู้พิการขาสามารถเดินได้ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่พัฒนาหุ่นยนต์ที่ช่วยให้ผู้พิการขาสามารถเดินได้ด้วยตัวเอง และซัพพอร์ตการเคลื่อนไหวในแง่มุมต่าง ๆ ของการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนั้นจะมีการมอบเงินรางวัลให้แก่องค์กรที่ได้รับการคัดเลือก เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาต่อไป

คุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขัน:

องค์กรที่กำลังพัฒนาหุ่นยนต์ซึ่งช่วยให้ผู้พิการขาสามารถเดินได้ด้วยตัวเอง

เกณฑ์การคัดเลือก:

ผู้จัดการแข่งขันจะจำลองสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน 7 แบบ และตัดสินว่าหุ่นยนต์ที่เข้าแข่งขันสามารถช่วยให้ผู้พิการเดินได้ด้วยตัวเองหรือไม่

เงินรางวัลทั้งหมด:

ทำภารกิจสำเร็จหนึ่งภารกิจ / ทำภารกิจสำเร็จบางภารกิจ / ทำภารกิจสำเร็จทั้งหมด

เงินรางวัลรวม 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 100 ล้านเยน)

กำหนดการ:

ระยะเวลาสมัคร: ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2020 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2021

ประกาศผลการคัดเลือก: วันที่ 1 กรกฎาคม 2021

พิธีมอบรางวัลและสาธิตหุ่นยนต์ที่ได้รับรางวัล: วันที่ 5 กันยายน 2021 (อาจมีการเปลี่ยนแปลง) ณ GIC Tsukuba Innovation Center

* กำหนดการทั้งหมดในข่าวประชาสัมพันธ์นี้อ้างอิงเวลามาตรฐานญี่ปุ่น (JST, UTC+9)

ผู้จัดการแข่งขัน: Global Innovation Challenge Executive Committee

ผู้สนับสนุนพิเศษ: TKF Inc.

ผู้สนับสนุน: JTB Corp.

ผู้ประสานงาน: Tsukuba Municipal Government/Mizuho Bank, Ltd.

ผู้อุปถัมภ์: Aioi Nissay Dowa Insurance Co., Ltd.

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ:

https://global-innovation-challenge.com/en

ดาวน์โหลดคู่มือแนะนำการสมัครได้ที่เว็บไซต์:

https://global-innovation-challenge.com/en/2021/#guidelines

วิดีโอคอนเซปต์การแข่งขัน:

https://global-innovation-challenge.com/en/#movie

วิดีโอโปรโมทการแข่งขัน:

https://global-innovation-challenge.com/en/2021/#movie

บัญชีเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการ:

https://www.facebook.com/Global-Innovation-Challenge-109304510495923

ที่มา: Global Innovation Challenge Executive Committee

AsiaNet 85348

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๒ คณะ กิจกรรม วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงาน
๑๖:๐๖ กรุงศรีออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือนตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย
๑๖:๒๙ Lexar Professional CFexpress 4.0 Type B Card DIAMOND คว้ารางวัล BEST STORAGE MEDIA ในงาน TIPA WORLD AWARDS
๑๖:๔๔ ฟอร์ติเน็ต ร่วมมือ สกมช. คัดเลือก-ฝึกอบรมเสริมทักษะบุคลากรคลาวด์ เล็งเพิ่มทรัพยากรบุคคล เสริมความมั่นคงปลอดภัยบนคลาวด์ทุกรูปแบบ
๑๖:๒๙ ไอ-เทล รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรก แข็งแกร่งด้วย รายได้กว่า 4 พันล้าน กำไรเพิ่ม 93 เปอร์เซ็นต์ มุ่งการเติบโตต่อเนื่องตลอดปี
๑๖:๒๒ หมอแม็ค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมของไทย
๑๖:๐๗ ทรูเวฟ (ประเทศไทย) เปิดตัว GreenFarm.AI ผู้ช่วยคนใหม่ที่จะทำให้สวนเติบโตสวยและยั่งยืนได้ดั่งใจ
๑๖:๕๐ ไบเทคบุรี เมกะโปรเจกต์ของภิรัชบุรี กรุ๊ป พลิกโฉม ไบเทค บางนา ก้าวข้ามอุตสาหกรรม MICE สู่สถานที่แห่งไลฟ์สไตล์ครบวงจร
๑๖:๕๒ ดีมันนี่ ตอกย้ำความสำเร็จในงาน Money 20/20 Asia ในฐานะผู้บุกเบิกโซลูชัน โอนเงินไปต่างประเทศชั้นนำในวงการฟินเทคไทย
๑๖:๕๔ สบยช. ยืนยัน ชาเม่ คอลลาเจน ไม่มีสารเสพติด