รักษาโรคทางสมองและระบบประสาท ด้วยเครื่องสร้างสนามแม่เหล็กกำลังสูง(TMS) โดยไม่ต้องผ่าตัด

พฤหัส ๒๔ กันยายน ๒๐๒๐ ๐๙:๕๒
สมองและระบบประสาทมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสั่งการต่างๆ ของร่างกาย หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การรักษาโรคทางสมองและระบบประสาทด้วย การกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็ก(TMS) นับเป็นทางเลือกการรักษาที่น่าสนใจโดยไม่ต้องผ่าตัด
รักษาโรคทางสมองและระบบประสาท ด้วยเครื่องสร้างสนามแม่เหล็กกำลังสูง(TMS) โดยไม่ต้องผ่าตัด

นพ.โชติพัฒน์ ด่านชัยวิจิตร อายุรแพทย์โรคสมองและระบบประสาท ศูนย์สมองและระบบประสาท รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า การกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็ก (Transcranial Magnetic Stimulation) หรือที่มักเรียกกันว่า TMS เป็นการรักษาโรคทางสมองและระบบประสาทที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นการรักษาที่มีความปลอดภัย ไม่ต้องผ่าตัดหรือใช้ยา TMS คือ เครื่องมือที่สร้างสนามแม่เหล็ก โดย TMS สามารถใช้รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับสมองและระบบประสาท ตั้งแต่ โรคซึมเศร้า โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคพาร์กินสัน โรคจิตเวช ไปจนถึงโรคหลอดเลือดสมอง ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงอาการปวดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสมอง

หลักการรักษาด้วย TMS คือ การใช้เครื่องสร้างสนามแม่เหล็กกำลังสูง ไปกระตุ้นสมองในบริเวณที่ทำให้เกิดโรค เช่น ในกรณีโรคซึมเศร้า จะใช้การกระตุ้นสมองบริเวณด้านซ้ายหน้า (dorsolateral prefrontal cortex) ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถช่วยให้อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามีอาการดีขึ้น ในกรณีที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงไปครึ่งซีก มีอาการพูดลำบาก พบว่า การกระตุ้นสมองในบริเวณที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการรักษาด้วยกายภาพบำบัด จะสามารถช่วยให้อาการผู้ป่วยดีขึ้นกว่าการทำกายภาพบำบัดแต่เพียงอย่างเดียว และยังพบว่าการกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็ก ยังช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องความจำถดถอย

ขั้นตอนและวิธีการรักษา แพทย์จะทำการประเมินเพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการกระตุ้นสมองในผู้ป่วยแต่ละราย และตรวจหากำลังคลื่นไฟฟ้าที่เหมาะสมที่จะให้การรักษา (motor threshold) จากนั้นจะมีการวางตำแหน่งเครื่องกระตุ้นในบริเวณดังกล่าวและทำการกระตุ้นเป็นจังหวะ เครื่องกระตุ้นนี้จะทำให้เกิดเสียงคลิกและจะทำให้ผิวหนังบริเวณใต้เครื่องกระตุ้นรู้สึกเหมือนมีการแตะเบาๆ โดยที่ไม่มีความเจ็บปวด หลังรับการรักษาแต่ละครั้งผู้ป่วยสามารถกลับไปดำเนินกิจวัตรประจำวันหรือทำงานได้ตามปกติ โดยการรักษาแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที ส่วนใหญ่แล้วการรักษาด้วยวิธีนี้ จะต้องทำต่อเนื่องหลายครั้ง โดยจำนวนครั้งจะขึ้นอยู่กับโรคที่เข้ารับการรักษา และความผิดปกติที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละราย

เครื่องกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล สามารถกระตุ้นสมองได้ตั้งแต่ระดับความถี่ต่ำ (low frequency stimulation) จนไปถึงความถี่สูง (theta burst stimulation) ทำให้สามารถรักษาโรคสมองและระบบประสาทได้แบบหลากหลาย อีกทั้งสามารถให้บริการรักษาได้ถึงข้างเตียง ในกรณีเป็นผู้ป่วยเคลื่อนย้ายลำบาก เช่น มีอาการอ่อนแรง ทั้งนี้ ถึงแม้การรักษาด้วยการกระตุ้นสมองด้วยสนามแม่เหล็กจะเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แต่ผู้ป่วยก็ควรได้รับการดูแลและติดตามผลการรักษาด้วยแพทย์ด้านสมองและระบบประสาทอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อผลการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไข้ในระยะยาว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02-310-3000 หรือ โทร. 1719

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4