เคพีเอ็มจี ประเทศไทย ยกระดับเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติทางภาษีและสร้างมูลค่าทางธุรกิจด้วยการปฏิรูปข้อมูล

พุธ ๐๔ พฤศจิกายน ๒๐๒๐ ๐๙:๔๓

เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เผยการยกระดับเครื่องมือทางเทคโนโลยีเพื่อเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติทางภาษีคือ ความปรกติใหม่ (New Normal)

เมื่อธุรกิจต่างๆ ก้าวเข้าสู่ความเป็นจริงใหม่ (New Reality) วิธีการดำเนินงานขององค์กรจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก อุตสาหกรรมและตลาดเร่งตัวสู่อนาคตที่ไม่เคยเผชิญมาก่อน ที่ซึ่งทุกธุรกิจจะอยู่ในโลกที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและทุกสิ่งเชื่อมต่อกันด้วยระบบดิจิทัล

เพื่อให้การเสริมสร้างประสิทธิภาพประสบผลสำเร็จ บริษัทที่กำลังทบทวนและเปลี่ยนแปลงส่วนงานด้านการเงินและภาษีจำเป็นต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือความเร็วที่เพิ่มขึ้นของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงาน ด้วยเหตุนี้ บริษัทต่างๆ จึงจำเป็นต้องมองหาเทคโนโลยีและกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพื่อผลักดันผลผลิตและเพิ่มศักยภาพให้ทีมภาษีของตนในการจัดการกับประเด็นสำคัญต่างๆ อันเป็นผลจากโควิด-19 เทคโนโลยีด้านภาษีเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพด้านภาษี ด้วยการใช้ข้อมูล (Data) เพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจเชิงลึกที่มีคุณค่า (Insights) เพื่อเป็นช่องทางในการเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย และตรวจหาข้อผิดพลาดและความผิดปกติ

อภิสิทธิ์ ปิ่นมณีกุล หัวหน้าฝ่ายภาษี เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าวว่า "เคพีเอ็มจี ประเทศไทย มีการนำระบบกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติโดยหุ่นยนต์ (Robotic Process Automation ? RPA) มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อสร้างคุณค่าและประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นให้กับลูกค้าของเรา การใช้เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ข้อมูลภาษีและข้อมูลทางการเงินของลูกค้า ถูกจัดการด้วยระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ตลอดจนให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์"

"เครื่องมือเทคโนโลยีด้านภาษีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการภาษีและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบเชิงสำรวจเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงด้านการปฏิบัติทางภาษีที่อาจเกิดขึ้นและโอกาสทางการเงิน เครื่องมือเทคโนโลยีด้านภาษีเหล่านี้ช่วยให้เกิดความสอดคล้องกันของข้อมูลและเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นมูลค่าได้" อภิสิทธิ์ กล่าว

สิ่งสำคัญคือบริษัทต่างๆ จะต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีด้านภาษี โดยเฉพาะระบบอัตโนมัติ ซึ่งบริษัทควรทบทวนการปฏิบัติทางภาษีในแต่ละขั้นตอน นับตั้งแต่การติดตามข่าวกฎหมายภาษีล่าสุด และการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลภายในไปจนถึงการคำนวณภาษี เพื่อประเมินประสิทธิผลของเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและมาตรการเพิ่มเติมเพื่อการปรับปรุงในอนาคต

เจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ประธานกรรมการบริหาร เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เมียนมาร์ และลาว กล่าวว่า "ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้กับลูกค้า เคพีเอ็มจี ประเทศไทย พร้อมที่จะลงทุนในเครื่องมือเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การปฏิบัติทางภาษีมีความราบรื่นขึ้น และจะมีการใช้ระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้นอย่างเต็มที่เพื่อให้ความโปร่งใสในกระบวนการทำงานเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพื่อจัดการความเสี่ยงด้านภาษีที่สำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพและง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทีมงานด้านภาษีของเรามีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น"

"เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เป็นผู้นำนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านภาษี โดยที่ปรึกษาด้านภาษีของเรามีความพร้อมที่จะช่วยเหลือองค์กรต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจในยุคความปรกติใหม่ และช่วยเปลี่ยนข้อมูลภาษีให้มีมูลค่าเพิ่มด้วยการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้การปฏิบัติทางภาษีมีความถูกต้องแม่นยำเพิ่มขึ้น" เจริญ กล่าวสรุป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน