นฤมล-ธรรมนัส ควงคู่ช่วยเหลือผู้ถูกน้ำท่วมภาคใต้

พุธ ๐๙ ธันวาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๔๑

นฤมล-ธรรมนัส จัดแพ็คคู่ ลุยช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี รับฟังปัญหา ความต้องการความช่วยเหลือหลังน้ำลด พร้อมมอบถุงยังชีพกว่า 1,000 ชุด แก่ผู้ประสบภัย สร้างขวัญและกำลังใจสู่ชาวใต้

นฤมล-ธรรมนัส ควงคู่ช่วยเหลือผู้ถูกน้ำท่วมภาคใต้

วันที่ 9 ธันวาคม 2563 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน และร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำทีมคณะเจ้าหน้าที่มอบถุงยังชีพกว่า 1,000 ชุด ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช และ จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมรับฟังปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือหลังน้ำลด โดยเดินทางไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว ต.หูล่อง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ จำนวน 500 ชุด โดยมีนายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และหัวหน้าส่วนราชการ ให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกในการลงพื้นที่ นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 22 นครศรีธรรมราช จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยน้ำท่วมอีกด้วย

สำหรับ อ.ปากพนัง เป็นพื้นที่รองรับน้ำจากตัวจังหวัดชั้นในก่อนไหลออกสู่แม่น้ำปากพนังและระบายออกสู่อ่าวไทย พบอุปสรรคในการระบายน้ำเนื่องจากมีน้ำทะเลหนุนสูงเป็นระยะ อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และจัดเป็นศูนย์พักพิงชั่วคราวให้แก่ประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมบ้านเรือนที่ขาดที่พักอาศัยชั่วคราว

หลังจากนั้น รมช.แรงงาน และ รมช.เกษตรฯ ได้เดินทางพบปะกลุ่มเกษตรที่ประสบภัยน้ำท่วม ณ ที่ว่าการอำเภอกาญจนดิษฐ์ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด (นายวิชวุทย์ จินโต) และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้การต้อนรับ พร้อมมอบถุงยังชีพแก่ผู้สบภัยอีก 500 ชุด เสร็จแล้วเดินทางต่อไปยัง ชุมชนคลองไทรพัฒนาและชุมชนเพิ่มทรัพย์ ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อเยี่ยมชมการบริหารจัดการพื้นที่ของชุมชน โดย รมช.เกษตรฯ ได้มอบนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ ส.ป.ก.ของชุมชนทั้ง 2 แห่ง ด้าน รมช.แรงงาน ได้กล่าวถึงการบูรณาการร่วมกันของกระทรวงแรงงานและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีแนวทางการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือ ต้องการแก้ปัญหาให้แรงงานหลุดพ้นจากความยากจน มีความรู้ไปประกอบอาชีพและไม่เป็นหนี้

รมช.แรงงาน กล่าวต่อว่า ในกรณีที่แรงงานภาคเกษตรมีความต้องการหาความรู้เพิ่มเติม หรือต่อยอดด้านอาชีพ สามารถติดต่อหน่วยงานของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ได้ ซึ่งมีหลายหลักสูตรที่เป็นด้านเทคโนโลยีและช่างฝีมือ รวมถึงงานศิลปะหัตกรรมที่สามารถต่อยอดองค์ความรู้ให้แก่แรงงานภาคการเกษตรได้ เช่น การขายสินค้าเกษตรผ่านออนไลน์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า สำหรับด้านช่างฝีมือที่สามารถนำไปประกอบอาชีพส่วนตัวช่วงว่างจากฤดูกาล เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างเครื่องปรับอากาศ ช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายด้านแหล่งเงินทุน อาทิ ธนาคารออมสินที่จับมือกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ซึ่งทำหน้าที่ค้ำประกันการกู้ยืมอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๖ ก.ค. วว. ผนึกกำลัง มรภ.เพชรบุรี พัฒนา วทน. ด้านเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าพืชผลเกษตร-สร้างระบบนิเวศงานวิจัย
๒๖ ก.ค. กทม. แจงจ้างเหมาเอกชนซ่อมบำรุงเครื่องสูบน้ำที่สถานีสูบน้ำคลองช่องนนทรี หลังสิ้นสุดระยะเวลาค้ำประกัน
๒๖ ก.ค. ออปโป้ชวนด้อมไทยส่งข้อความสู่ Boost Your Dreams Box เตรียมต้อนรับ 3 หนุ่ม BSS สู่งาน Boost Your Dreams Together 2
๒๖ ก.ค. นนท์ ธนนท์ - อิ้งค์ วรันธร นำทัพศิลปินขี้เหงา มาฮีลใจ ชวนคนเหงาปล่อยจอย ใน LONELY LOUD FEST เปิดจองบัตร Early Bird 30 ก.ค.
๒๖ ก.ค. มะเร็งรังไข่ ภัยเงียบที่ผู้หญิงควรระวัง
๒๖ ก.ค. โก โฮลเซลล์ ปักหมุดภาคใต้สาขาแรก ราไวย์ จ.ภูเก็ต แล้ว! ลุยอาณาจักรค้าส่งวัตถุดิบอาหาร สร้างฟู้ด พาราไดซ์
๒๖ ก.ค. How to เริ่มต้นวางแผนซื้อบ้าน/คอนโดฯ อย่างไรให้มั่นใจยุคดอกเบี้ยสูง
๒๖ ก.ค. โรบินสันไลฟ์สไตล์ ในเครือเซ็นทรัล รีเทล ฉลองเทศกาลวันแม่ ส่งแคมเปญ ชวน ฮักแม่ ด้วยภาษารัก
๒๖ ก.ค. เลือกฟิล์มติดกระจกออฟฟิศยังไงให้คุ้มค่าในระยะยาว ?
๒๖ ก.ค. 5 เคล็ดลับเลือก Clinic เสริมความงาม ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน