สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และ สมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือมุ่งหวังพัฒนาหัตถกรรมไทยให้เติบโตสู่ตลาดโลก

พุธ ๒๓ ธันวาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๔๓

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดย ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และ สมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย โดย ดร.สุรภีร์ โรจนวงศ์ นายกสมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกัน ในการร่วมกันพัฒนาบุคลากรและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทยในกลุ่มผ้าทอพื้นเมือง และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าทอพื้นเมือง ให้มีความเข้มแข็งใน 3 มิติ ทั้งคุณภาพ (quality) รูปแบบที่ทันสมัย (creative) และความต้องการของตลาด (marketing) เพื่อเตรียมพร้อมก้าวไปสู่ Thailand 4.0 สอดคล้องตามในโยบายภาครัฐบาลที่ได้วางไว้

ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า "อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทยที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากประกอบด้วยอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดย่อยจำนวนมากมีกระบวนการผลิตที่ครบวงจร มีทำเลตั้งอยู่ในศูนย์กลางของอาเซียน รวมถึงมีโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่พร้อม โดยสามารถสร้างมูลค่าการค้าปีละมากกว่า 200,000 ล้าน สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตระหนักถึงความจำเป็นของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ที่ต้องแข่งขันในวันข้างหน้า จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกัน กับสมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย ในครั้งนี้ ด้วยทั้ง 2 องค์กร มีแนวทางการดำเนินงานบนแนวทางดียวกัน ที่มุ่งมั่นที่จะร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยให้มีความเข้มแข็งสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก"

"ความร่วมมือกันในครั้งนี้มุ่งเน้นเพื่อสร้างการประยุกต์องค์ความรู้ และพัฒนาบุคลากรของทั้งสองฝ่ายรวมถึงสมาชิกและเครือข่ายของทั้งสองฝ่ายในเรื่องผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของไทย สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและแฟชั่น และเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทยในกลุ่มผ้าทอพื้นเมือง และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าทอ พื้นเมืองให้มีคุณภาพ (Quality) มีรูปแบบที่ทันสมัย (Creative) ตอบสนองความ ต้องการของตลาด ก่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและยอดจำหน่ายให้มากขึ้น (Marketing) และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) สอดคล้อง กับนโยบายภาครัฐในการพัฒนาประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 ในอนาคตอันใกล้นี้"

ด้านดร.สุรภีร์ โรจนวงศ์ นายกสมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย กล่าวว่า "การขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยอย่างเป็นรูปธรรมนั้น ต้องอาศัยการดำเนินการแบบบูรณาการของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และเอกชน มีการพัฒนาอย่างชัดเจนอย่างเป็นระบบ รวมทั้งต้องมีการกำกับดูแลเพื่อให้การดำเนินงานมีผลสัมฤทธิ์ สมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาบุคลากร สมาชิกและเครือข่ายของทั้งสองฝ่าย"

"โดยแนวทางและขอบเขตที่จะร่วมกันพัฒนานั้น ทั้งสมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย และ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จะจัดให้มีการฝึกอบรมบุคลากร สมาชิกและเครือข่ายของทั้งสองฝ่าย ในหัวข้อที่เหมาะสม รวมทั้งการสนับสนุนวิทยากรหรือสถานที่ฝึกอบรมซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากนี้ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพัฒนาข้อกำหนดฉลากคุณภาพสำหรับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทย เพื่อรับรองผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทยในกลุ่มผ้าทอมือและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าทอพื้นเมือง เช่น ด้านคุณภาพ ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการใช้งานและ ความสวยงาม เป็นต้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคด้วยการยกระดับมาตรฐานคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไทยในกลุ่มผ้าทอมือและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าทอพื้นเมือง และเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์จะร่วมกันพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงคนรุ่นใหม่และตอบสนองความต้องการของตลาด"

เพื่อตอกย้ำให้ชัดเจนถึงศักภาพและฝีมือของคนไทย ทั้ง 2 องค์กรได้จัดให้มีการแสดงผลิตภัณฑ์ต้นแบบของกลุ่มผู้ผลิตผ้าไทยที่เข้าร่วมโครงการ "พัฒนาสินค้าผ้าไทยสู่ตลาดโลกด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงผ้าไทยว่าสามารถนำมาพัฒนาให้มีรูปแบบที่ทันสมัยด้วยแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ และสมาคมฯ ยังได้นำผลิตภัณฑ์ของสมาชิกที่มีความปราณีตสวยงามมาร่วมสมทบเพื่อจัดแสดงในงานนี้ด้วย งานนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ การสร้างสรรค์ของหัตถกรรมไทยทัดเทียมนานาประเทศ พร้อมจะพัฒนาแฟชั่นไทยให้เป็นศูนย์กลางในอาเซียน และเติบโตในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน