เตรียมพร้อมรับมือโลกหลังวิกฤติโรคระบาดด้วยเทคโนโลยี

ศุกร์ ๒๕ ธันวาคม ๒๐๒๐ ๑๐:๐๓

ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกเผชิญหน้ากับโรคระบาดโดยไม่มีใครคาดคิด เทคโนโลยีถูกนำมาช่วยแก้ไขวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการแพทย์ การอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป และคาดการณ์ว่าเทคโนโลยียังจะเป็นปัจจัยหลักสำคัญของโลกหลังภาวะการโรคระบาดอีกด้วย ภายในงานสัมมนาหัวข้อ "Beyond the Pandemic: A Decade of Challenges from 2021'' นายไมเคิล แมคโดนัลด์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล หัวเว่ย เอเชีย-แปซิฟิก กล่าวถึงเทรนด์ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น รวมถึงแนวทางการปรับวิธีดำเนินธุรกิจในโลกหลังโควิด-19 ว่า "สิ่งที่ภาคธุรกิจควรคำนึงถึงคือการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรและการดำเนินธุรกิจจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ซึ่งมีการขยายตัวอย่างมีนัยยะสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด" โดยเทคโนโลยี 5G เปรียบเสมือนเครื่องมือผลักดันสู่ความเป็นดิจิทัล ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพด้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 5G เป็นลำดับที่ 3 - 4 ของโลก หากในปี พ.ศ. 2564 มีการร่วมลงทุนของภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนสู่รูปแบบดิจิทัล จะนำมาซึ่งประโยชน์มากมายที่ครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรมทั้งด้านเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจ และการสาธารณสุข"

ก่อนหน้านี้ หัวเว่ยให้ข้อมูลว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การจับจ่ายใช้สอยที่เปลี่ยนเป็นรูปแบบออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิด การขยายตัวของธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ ไม่ว่าจะเป็นการใช้จ่ายผ่าน QR Payment หรือธุรกิจ Food Delivery นอกจากนี้ หลายองค์กรเริ่มมีนโยบายสนับสนุนการทำงานทางไกลและการประชุมออนไลน์ ซึ่งเร่งให้เกิดการใช้งานอุปกรณ์อัจฉริยะและเทคโนโลยีคลาวด์ที่สนับสนุนการทำงานทางไกลที่ต้องอาศัยความเร็วและความหน่วงต่ำ เป็นตัวอย่างของการเชื่อมต่อแบบไร้รอยต่อ (Seamless Connection) ที่จะทำให้เกิดการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับด้านการสาธารณสุข ในหลายประเทศก็เริ่มมีการผ่าตัดจากระยะไกลด้วยโครงข่ายเทคโนโลยีที่มีแบนด์วิดท์สูงขึ้นเพื่อเพิ่มความคมชัด รวมถึงการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอัจฉริยะที่สามารถประมวลผลและตัดสินใจได้ในระยะเวลาอันสั้น จึงถูกนำมาใช้เพื่อช่วยตรวจวินิจฉัยโควิด-19 ในประเทศไทย ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยีมีบทบาทมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ กับทั้งชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจ การปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงจึงจะช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของภูมิภาครวมถึงยุคเทคโนโลยีอัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์แบบ

นอกจากภาคธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว การวางรากฐานด้านโครงสร้างต่าง ๆ ของรัฐบาลก็มีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศเช่นกัน ซึ่งนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวถึงแนวทางการบริหารด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยซึ่งต้องมีเทคโนโลยีเป็นหนึ่งในกลไกหลักของการขับเคลื่อน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้สังคมไทยในทุกภาคส่วนเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ประชาชนได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ได้เป็นอย่างดี และในอนาคตการแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยี (Transfer of Technology) จะไม่จำกัดแต่เพียงการหยิบยืมหรือซื้อขายระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ถึงแม้ว่าสถานการณ์โรคระบาดจะยังคงทรงตัว แต่กลับกลายเป็นโอกาสในการให้ความสำคัญด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่จะมีบทบาทอย่างเห็นได้ชัดในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ทั้งในภาคสาธารณสุข ภาคธุรกิจ หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถรับมือกับสภาวการณ์ใหม่ของ โลกในยุคหลังโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในอนาคต

เกี่ยวกับหัวเว่ย

หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชั่นที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม, ไอที, สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและบริการที่ครบวงจรของ

หัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรทุกรูปแบบและทุกขนาด นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิคใหม่ ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า เรามีพนักงานกว่า 194,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๓๐ เม.ย. GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๓๐ เม.ย. PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๓๐ เม.ย. LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๓๐ เม.ย. ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๓๐ เม.ย. LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๓๐ เม.ย. SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๓๐ เม.ย. STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๓๐ เม.ย. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน