ฉันทนาเฮ! สปส.ใจป้ำอุแว้ 12,000 บาทรับปีใหม่

ศุกร์ ๐๘ ธันวาคม ๒๐๐๖ ๑๖:๒๓
กรุงเทพฯ--8 ธ.ค.--สปส.
สปส.ปรับสิทธิคลอดบุตรใหม่เหมาจ่ายให้ผู้ประกันตนโดยตรง เป็นเงิน 12,000 บาทต่อการคลอดหนึ่งครั้ง ดีเดย์ 1 ม.ค.’50 นี้
นายจุฑาธวัช อินทรสุขศรี ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ที่ผ่านมา สปส.ได้ใช้ระบบเหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลในอัตรา 377 บาท/คน/ปี โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร 12,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง (รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดตั้งแต่การฝากครรภ์ คลอดบุตร บริบาลทารก ฯลฯ ) จำนวนผู้ประกันตนที่มีสิทธิกรณีคลอดบุตรประมาณ 8.1 ล้านคน ปีหนึ่ง สปส.ต้องจ่ายเงินเหมาจ่ายให้แก่โรงพยาบาลประมาณปีละ 3,000 ล้านบาท (377 บาท X 8.1 ล้านคน)
ทั้งนี้ ในแต่ละปีจะมีผู้ประกันตนหญิงและภรรยาของผู้ประกันตนชายใช้สิทธิประมาณ 3% ของผู้ประกันตนที่มีสิทธิ หมายความว่าในจำนวนผู้ประกันตน 100 คน จะมีผู้ใช้สิทธิคลอดบุตรเพียง 3 คน แสดงว่า ใน 1 ปี จะมีผู้ใช้สิทธิทั้งสิ้นประมาณ 250,000 คน /ปี เท่านั้น
จากการดำเนินการที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีข้อร้องเรียนจำนวนมากเกี่ยวกับความไม่สะดวกในการใช้สิทธิเนื่องจากในระบบเหมาจ่ายกำหนดให้ผู้ประกันตนหญิงหรือภรรยาผู้ประกันตน ต้องเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ซึ่งไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ประกันตนในระดับผู้ใช้แรงงานที่ผู้ประกันตนหญิงมักกลับไปคลอดบุตรที่ภูมิลำเนา (ผลงานวิจัยเรื่องประโยชน์ทดแทนการคลอดบุตรภายใต้พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ) ส่วนผู้ประกันตนชายที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดปริมณฑล ภรรยาอยู่ที่ภูมิลำเนาเดิมจะไม่สามารถใช้สิทธิที่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ของผู้ประกันตนได้ และหากผู้ประกันตนหญิงหรือภรรยาผู้ประกันตนชายไม่ได้คลอดบุตรที่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ผู้ประกันตนจะเบิกเงินคืนได้เพียง 6,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับมาตรฐานการรักษา และการถูกเรียกเก็บเงินจากโรงพยาบาลบางแห่ง เช่น กรณีคลอดบุตร ปกติให้อยู่โรงพยาบาลเพียง 1 วัน กรณีผ่าตัดคลอดให้อยู่โรงพยาบาลเพียง 2 วัน เป็นต้น
จากผลการวิจัย เรื่องความคิดเห็นของผู้ประกันตนที่มีต่อรูปแบบการให้สิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร พบว่าผู้ประกันตน ร้อยละ 75.82 เลือกรูปแบบการเหมาจ่ายเงินค่าคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตน ดังนั้นคณะกรรมการการแพทย์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคมจึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์กรณีคลอดบุตรจากการเหมาจ่ายให้แก่โรงพยาบาล เป็นการเหมาจ่ายให้แก่ผู้ประกันตน ในอัตรา 12,000 บาท ต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550
นายจุฑาธวัช กล่าวต่อว่า การเหมาจ่ายให้แก่ผู้ประกันตน 12,000 บาทต่อครั้ง ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของกองทุนฯ เนื่องจากจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ผู้ประกันตนจะเท่ากับจำนวนเงินเหมาจ่ายที่สปส.จ่ายให้แก่โรงพยาบาล แต่การเหมาจ่ายให้แก่ผู้ประกันตนประโยชน์ทดแทนจะถึงมือผู้ประกันตนโดยตรง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ศูนย์สารนิเทศ สายด่วน 1506 /www.sso.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน