วว. จัดอบรมการเพิ่มปริมาณคุณภาพผลผลิตมะม่วงนอกฤดู & การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ณ จังหวัดอุดรธานี พร้อมมอบบรรจุภัณฑ์จำหน่ายมะม่วงออนไลน์จำนวน 5,000 กล่อง

อังคาร ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๑ ๑๕:๔๑
นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการอบรมเรื่อง "การเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตมะม่วงนอกฤดูและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์" พร้อมมอบบรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายมะม่วงออนไลน์ผลงานวิจัย วว. จำนวน 5,000 กล่อง ให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ อ.หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกมะม่วงนอกฤดูมากที่สุดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีพื้นที่ในการเพาะปลูกจำนวน 22,000 ไร่ มีสมาชิกรวม 150 สวน เพื่อช่วยส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การจัดกิจกรรมดังกล่าวของ วว. มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลสำเร็จการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้าไปเสริมความเข้มแข็งให้กับพี่น้องเกษตรกร ผู้ประกอบการ ในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้ได้มาตรฐาน สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างเป็นรูปธรรม ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ณ วิสาหกิจชุมชนคนรักมะม่วง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. กล่าวว่า วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเพิ่มปริมาณและผลผลิตมะม่วงนอกฤดู ที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นกว่าเดิม 1-2 เท่า ช่วยแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด เพิ่มมูลค่าและสามารถส่งออกได้ โดยมีวิธีการ 1.การเพิ่มจำนวนยอดอ่อน 2.การเพิ่มจำนวนการออกดอก และ 3.การเพิ่มการติดผลของมะม่วง โดยเทคนิคการเพิ่มผลผลิตมะม่วงนอกฤดูผลงานวิจัยและพัฒนา วว. หากเกษตรกรนำไปใช้แพร่หลายจะช่วยเพิ่มผลผลิตมะม่วงและสร้างรายได้ที่มั่นคง สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตรของไทยให้ยั่งยืน

สำหรับบรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายมะม่วงออนไลน์นั้น เป็นผลสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาของ ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย วว. เพื่อรองรับปริมาณผลผลิตมะม่วงล้นตลาดกว่า 20,000 ตัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง รองรับน้ำหนักผลผลิตได้ถึง 5 กิโลกรัมต่อกล่อง รับน้ำหนักการเรียงซ้อนได้ 14 ชั้น ช่วยป้องกันความเสียหายและรักษาคุณภาพของผลิตผล หากกล่องเกิดการยุบตัวในระหว่างการขนส่งและเก็บรักษา นอกจากนี้ยังมีการเจาะช่องระบายอากาศอย่างเหมาะสม เพียงพอต่อการหายใจและคายน้ำของผลมะม่วง จึงช่วยลดการสะสมความร้อนและความชื้นภายในกล่อง ช่วยให้ยืดอายุการเก็บได้ นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ผลิตจากกระดาษลูกฟูก 5 ชั้น ที่มีการดูดซึมน้ำต่ำ ทำให้รักษาความแข็งแรงของกล่องไว้ได้แม้จะเก็บในห้องเย็นที่มีความชื้นสูง อีกทั้งรูปแบบและขนาดของกล่อง (50 x 30 เซ็นติเมตร) จะช่วยประหยัดพื้นที่ ทั้งเพื่อการเก็บรักษา การขนส่งและขนถ่าย ในส่วนกราฟิกออกแบบกล่องพิมพ์สีเดียว จึงช่วยลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ยังออกแบบให้ใช้กล่องที่มีขนาดมาตรฐานเพียงขนาดเดียว เพื่อบรรจุมะม่วงทุกเกรดที่มีขนาดผลแตกต่างกันได้ เพียงแค่ใช้แผ่นกั้น เพื่อลดการเคลื่อนที่ของผลมะม่วง

วว. พร้อมให้บริการและคำแนะนำปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้แก่ทุกภาคส่วน เพื่อความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2577 9000 อีเมล [email protected] www.tistr.or.th

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๑๓ นักวิชาการ TEI แนะมุมมองการสร้าง Urban Climate Resilience ต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๐๙:๓๙ TEI เปิดวงเสวนา บทเรียนและทางออกการจัดการกากแคดเมียม ? พร้อมเร่งแก้ปัญหา โจทย์ใหญ่กากแคดเมียม จัดการอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง
๐๙:๒๔ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาสในโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี ณ
๐๙:๑๑ เขตปทุมวันกำชับเจ้าของพื้นที่ตั้งวางสิ่งของ-อุปกรณ์การค้าริมกำแพงส่วนบุคคลให้เรียบร้อย
๐๙:๓๔ ม.หอการค้าไทย ปฐมนิเทศสำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านนวัตกรรมการบริการ รุ่นที่ 5 (Top Executive Program for Creative Amazing Thai Services :
๐๙:๐๒ เฮงลิสซิ่ง รับรางวัล หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับดีเด่น โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
๐๙:๔๕ มูลนิธิเฮอริเทจ (ประเทศไทย) ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสมุทรสาคร
๐๙:๔๔ พาราไดซ์ พาร์ค ต้อนรับ The Little Gym เปิดสาขาที่ 3
๐๙:๒๕ STI จัดอบรมหลักสูตร ChatGPT ผู้ช่วยงานอัจฉริยะในยุคดิจิทัล เพื่อยกระดับพนักงานสู่ยุค AI
๐๘:๕๑ จีนเปิดตัว เห็ดหลินจืออำเภอกวน ณ งานวันเห็ดโลก ประจำปี 2567