ม.มหิดล ร่วมพัฒนาแอปพลิเคชัน "กินยาแล้ว" เชื่อมโยงนวัตกรรมจัดยาด้วยระบบ AI

จันทร์ ๐๑ มีนาคม ๒๐๒๑ ๑๐:๐๖
นับวันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ยิ่งเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องต่อการดำเนินชีวิตในโลกยุคปัจจุบัน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นริศ หนูหอม รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ร่วมวิจัยในคลัสเตอร์ดิจิทัล ของเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (Research University Network Thailand หรือ RUN) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีความพยายามอย่างยิ่งที่จะเร่งพัฒนางานวิจัย และนวัตกรรมต่างๆ โดยอาศัยความร่วมมือจากหลากหลายหน่วยงานทั้งภายใน และภายนอก เพื่อแก้ไขปัญหา และบรรเทาวิกฤติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยได้ร่วมสร้างนวัตกรรมระบบข้อมูลยา จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาแอปพลิเคชัน "กินยาแล้ว" เพื่อตรวจสอบชนิดยา และแจ้งเตือนการกินยา ซึ่งจัดทำเสร็จสิ้น และอยู่ในระหว่างการทดลองใช้ และโครงการพัฒนาระบบอัตโนมัติ AI สำหรับตรวจสอบความถูกต้องของการจัดยา เพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาล และลดการติดเชื้อของเจ้าหน้าที่จัดยา ซึ่งเป็นโครงการที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการพัฒนา

ซึ่งจุดเด่นของแอปพลิเคชัน "กินยาแล้ว" คือการสามารถอ่านข้อมูลจาก QR Code เพื่อดึงข้อมูลรายการยาเข้าสู่ระบบการแจ้งเตือนเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยลืมกินยา อีกทั้งช่วยให้ผู้ดูแลสามารถทราบเวลาที่จะต้องจัดเตรียมยาให้ผู้ป่วย หรือย้ำเตือนผู้ป่วยไม่ให้ลืมกินยา สำหรับอีกโครงการเป็นการพัฒนาต่อยอดจากโครงการแรก โดยเชื่อมโยงระบบยาจากโรงพยาบาลสู่ผู้ป่วยผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ ซึ่งผู้ป่วยสามารถนำ QR Code ที่สร้างจาก Platform ไปรับยาจากร้านขายยาใกล้บ้านได้โดยไม่ต้องรอคิวรับยาที่โรงพยาบาล ซึ่งมีกลไกตรวจสอบความถูกต้องของการจัดยาด้วยระบบอัตโนมัติ AI โดยทีมผู้วิจัยจะดำเนินการยื่นจดสิทธิบัตรทางนวัตกรรมต่อไป

ผู้ป่วยมีความคาดหวังต่อการบริการดูแลรักษาสุขภาพที่มีความสะดวกสบาย และการเข้าถึงบริการที่ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติ COVID-19 ที่โรงพยาบาลมีความแออัด ซึ่งระบบ AI จะเข้ามาช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการจัดยา ตลอดจนช่วยแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้มีเวลามากขึ้นสำหรับการวางแผนเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้นได้ต่อไป

"คนที่อยู่รอดไม่ใช่คนที่ฉลาดที่สุด แต่เป็นคนที่ปรับตัวได้ดีที่สุด อนาคตจะเป็นอย่างไรอยู่ที่เราปรับตัว วิกฤติ COVID-19 ที่ผ่านมา ทำให้เราได้เรียนรู้ และปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ รอบตัว ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น หากพวกเราคนไทยพร้อมร่วมแรงร่วมใจสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศไทย สุดท้ายเชื่อว่าเราก็จะสามารถผ่านวิกฤติต่างๆ ไปได้ในที่สุด" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นริศ หนูหอม กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๓๐ เม.ย. GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๓๐ เม.ย. PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๓๐ เม.ย. LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๓๐ เม.ย. ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๓๐ เม.ย. LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๓๐ เม.ย. SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๓๐ เม.ย. STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๓๐ เม.ย. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน