วว. ลงนามความร่วมมือกับมูลนิธิณภาฯ วศ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี / อุดรธานี มุ่งสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดพืชสมุนไพรไทย

พุธ ๑๐ มีนาคม ๒๐๒๑ ๑๐:๕๘
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวง อว. ร่วมเป็นเกียรติและสักขีพยาน เนื่องในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดพืชสมุนไพรไทย ระหว่าง นายเอกภพ เดชเกรียงไกรสร รองประธานมูลนิธิณภา ในพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิด ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นายปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ผศ.ดร.วัฒนา รัตนพรหม รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และ ผศ.จรูญ ถาวรจักร อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี เพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ ดอกจันทน์กะพ้อ พัฒนาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากพืช พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์บำรุงผิว - บำรุงผิวหน้า พร้อมชู "ไทยแบรนด์" สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับผู้พ้นโทษ ผู้ขาดโอกาส และชุมชน ในวันอังคารที่ 9 มีนาคม 2564 ณ ห้องแถลงข่าวชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวง อว. ถนนโยธี

ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ จะทำให้เห็นถึงการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของ อว.ไปให้บริการมูลนิธิณภาฯ ในพระราชดำริฯ ซึ่งจะมีผลต่อประชาชนและชุมชนต่างๆ โดยมูลนิธินภาฯ จะเข้ามาช่วยทำแบรนด์ ทำตลาด เสริมในสิ่งที่ อว. ยังขาดอยู่ ขณะที่มหาวิทยาลัยราชภัฎ ก็จะนำความรู้ลงสู่ชุมชนเช่นเดียวกับ วว. และ วศ. จะได้นำงานวิจัยของตนเองมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น

ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง กล่าวว่า อว. จะนำงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนมาสร้างเป็นแบรนด์ไทยที่มีความเข้มแข็งขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ขณะเดียวกันความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยสร้างทักษะให้กับชุมชนในการพัฒนาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นสากลยิ่งขึ้น เพื่อสร้างรายได้สามารถแข่งขันในตลาดสินค้าได้

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ ทั้ง 5 หน่วยงานจะร่วมกันศึกษาวิจัย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยยึดหลัก BCG Model โดยนำวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาพัฒนาต่อยอดให้ได้สินค้าที่มีเอกลักษณ์และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มี โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือการศึกษาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากพืชสมุนไพรไทยท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีสรรพคุณของสมุนไพรไทยตามมาตรฐานสากลและสามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้พ้นโทษ ผู้ขาดโอกาส และชุมชนอย่างยั่งยืน

ประเด็นที่น่าสนใจภายใต้ความร่วมมือ คือ การวิจัยสารสกัดจากพืชสมุนไพรไทย ได้แก่ ดอกบัวแดง ดอกจันทน์กะพ้อ ดอกเก็ดถวา และดอกกฤษณา เพื่อสกัดเป็นสารออกฤทธิ์สารหอมระเหย หรือสารสกัดรูปแบบอื่นที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบการบำรุงผิว ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผม ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการทำความสะอาดในครัวเรือน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยในส่วนของ วว.จะมีการจัดตั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสกัดสารออกฤทธิ์และสารหอมระเหยจากพืชสมุนไพรให้กับมูลนิธิณภาฯ ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ดำเนินงานของ สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ฯ ของ กรมหลวงราชสาริณีด้วย

เป้าหมายของผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจากการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือนี้ คือ 1. สร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนใน 2 กลุ่ม คือ  กลุ่มผู้ด้อยโอกาสในกลุ่มผู้พ้นโทษหญิง-ชาย ที่ไม่มีโอกาสได้รับรู้ความเป็นไปของสังคมภายนอก ให้ได้รับการฝึกอบรมวิชาชีพพัฒนาทักษะให้สามารถผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เป็นการเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพให้แก่ผู้พ้นโทษให้สามารถออกมาประกอบอาชีพ รวมถึงมูลนิธิณภาฯ จะรับผู้พ้นโทษบางส่วนเข้าทำงานกับมูลนิธิ  และกลุ่มผู้ขาดโอกาสในบริเวณโดยรอบจังหวัดพื้นที่การดำเนินงานของมูลนิธิณภาฯ เช่น อุดรธานี สุราษฏร์ธานี ให้สามารถมีอาชีพและรายได้ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่   และ 2. เกิดผลิตภัณฑ์จากสารสกัดไม้ดอกไทย ภายใต้แบรนด์จัน (chann) ที่มีความที่โดดเด่นมีความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ให้สามารถนำไปจัดจำหน่ายได้ ก่อให้เกิดรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนแก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน