อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมกิจกรรม "พลังชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำสู่สายธารกว๊านพะเยา" พร้อมทำฝายชะลอน้ำ เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกยูงในจังหวัดพะเยา

พฤหัส ๑๑ มีนาคม ๒๐๒๑ ๑๖:๒๔
วันนี้วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ได้รับเมตตาพระเดชพระคุณจาก พระเมธีวชิโรดม ว.วชิรเมธี และ คณะธรรมยาตราฯ ในการทำกิจกรรมบวชป่า ทำฝายชะลอน้ำ เพื่อเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกยูง โดยมหาวิทยาลัยพะเยา ในการนำของ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศ์บางโพธิ์ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมกิจกรรม การขับเคลื่อนพลังชุมชนรักษ์ป่า รักษ์นกยูง "พลังชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำสู่สายธารกว๊านพะเยา" ณ อ่างเก็บน้ำห้วยถ้ำ ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในการนี้ได้รับเกียรติจากประธานในพิธี รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา ท่านสวัสดิ์ หอมนาน และผู้กล่าวว่ารายงาน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ ท่านประกาย ใจบุญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศ์บางโพธิ์ กล่าวว่า "มหาวิทยาลัย มีความมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งที่จะอนุรักษ์นกยูงไทยและผืนป่าแม่กา แม่นาเรือแห่งนี้ ไว้ให้อุดมสมบูรณ์ ในอนาคตซึ่งจะมีโครงการต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน มีอาคารศูนย์การเรียนรู้นกยูงไทย ที่จะเป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์และเรียนรู้นกยูงไทยอย่างครบวงจร มหาวิทยาลัยจึงอยากจะสร้างสภาพแวดล้อมต้นแบบของการอยู่ร่วมกัน ระหว่างคนกับนกยูงอย่างครบวงจร นกยูงไทย ป่า และคนจะต้องสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข การอนุรักษ์และการพัฒนาจะดำเนินไปควบคู่กันอย่างสมดุล นี่เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยตั้งใจที่จะทำโดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กัน" ทั้งนี้มหาวิทยาลัยพะเยา โดย สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์การเรียนรู้นกยูงไทย พร้อมเครือข่ายอนุรักษ์นกยูงไทย ได้ดำเนินการจัดงาน "พลังชุมชนรักษ์ป่าต้นน้ำสู่สายธารกว๊านพะเยา" การเดินธรรมยาตรา บวชป่า ทำฝายชะลอน้ำ ผืนป่าต้นน้ำห้วยถ้ำ ถิ่นที่อยู่อาศัยนกยูงไทย ร่วมกับชุมชน ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการบูรณาการการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด ตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งสำหรับประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลแม่นาเรือ จึงควรต้องให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ควบคู่ไปกับการสร้างฝ่ายทำให้พื้นดินเกิดการอุ้มน้ำ เพื่อส่งผลดีต่อบริเวณโดยรอบ และเป็นแหล่งน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคของมนุษย์และสัตว์ ตลอดจนภาคการเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับแนวพระราชดำริ ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ เกี่ยวกับการพัฒนา และฟื้นฟูป่าไม้ ด้วยการสร้างฝ่ายต้นน้ำ โดยใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย เกิดการสัมพันธ์ซึ่งกันและกันก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อไป

ที่มา: มหาวิทยาลัยพะเยา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง