เด็กบริหารการตลาด ม.หอการค้าไทย ติวเข้มโมเดลธุรกิจตลาดกลางคืน เน้นนศ.ซื้อ - ขายจริง

อังคาร ๒๐ เมษายน ๒๐๒๑ ๐๙:๓๘
ก่อนวิกฤตไวรัสโคโลน่าโควิด 19 จะกลับมาในครั้งที่ 3 คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด ชั้นปีที่ 4  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สนับสนุนหาพื้นที่การเรียนรู้ทางธุรกิจตลาดนัดกลางคืนให้กับนักศึกษา เพื่อสร้างการเรียนรู้ เนื่องจากปัจจุบันพบว่าธุรกิจตลาดนัดกลางคืนมีเงินหมุนเวียนต่อคืนมูลค่าหลายล้านบาท

โดยให้นักศึกษาสามารถรู้หลักการตลาดทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติจริง ซึ่งมุ่งเน้นให้นักศึกษาลงมือสร้างโอกาสตลาดธุรกิจส่งให้ผู้บริโภค มีการคิดค้นสินค้าและบริการ เพื่อทำการค้าขายจริงในตลาดหัวมุม ถนนรามอินทรา กรุงเทพฯ 

นายทักษิณ อาจเชื้อ , นายปฐมฉัตร ปิยะไทยเสรี , นางสาววรนันท์ ทิพโชติและนายพีรชิช รุจิระปริญญา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หรือกลุ่มกลุ่ม 412 (คุกกี้) เล่าว่า "การได้มาศึกษาธุรกิจตลาดกลางคืนทำให้ได้ประสบการณ์อย่างมาก

ซึ่งพวกเราไม่รู้มาก่อนตลาดกลางคืนจะสามารถช่วยสร้างรายได้ให้กับทีมได้ ทางทีมเลือกทำคุกกี้ขาย เพราะตอนแรกได้ทดลองทำหลายผลิตภัณฑ์ แต่สุดท้ายเลือกคุกกี้ เพราะน่าจะตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ามากที่สุด

เนื่องจากก่อนจะมาขายนั้นทีมได้มีการสำรวจตลาดก่อน ปรากฏว่าคุกกี้มีร้านค้าแค่ร้านค้าเดียว แต่ให้บริการในรูปแบบทางอ้อมเพราะไม่ได้ผลิตโดยตรง ทางทีมจึงมองเห็นโอกาสตรงนี้ทางการตลาดและเลือกที่จะทำคุกกี้ออกมาขาย

ที่สำคัญสมาชิกในกลุ่มยังมีสูตรในการทำคุกกี้ให้ได้รสชาติที่ดีมาก จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ คือ ส่วนผสมของคุกกี้และตัวช็อคโกแลตชิพ ซึ่งส่วนผสมและวัตถุดิบที่เลือกใช้มีคุณภาพและรสชาติที่ดี เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสว่าคุกกี้ของร้านพิ่เศษกว่าท้องตลาดทั่วไป ในส่วนของตัวช็อคโกแลตชิพใช้วัตถุดิบที่ดีกว่าท้องตลาด

โดยเลือกใช้ดาร์คช็อกโกแลตและผงโกโก้อย่างดีมาผสมให้เข้ากันและเวลาทานจะรู้สึกว่าหอมเนยและมีรสชาติที่ดีมากกว่าคุกกี้ทั่วไป ที่สำคัญร้านเราไม่ใส่สารกันบูด ทำให้เวลาในการเก็บรักษานั้นตัวช็อคโกแลตสามารถนำเข้าตู้เย็นเก็บไว้ได้เป็นอาทิตย์ แต่ถ้าเป็นตัวคุกกี้ธรรมดาเอาไว้ในอุณหภูมิห้องก็จะสามารถเก็บได้ 1 - 2 อาทิตย์" 

" ปัญหาอุปสรรคที่พบในการขายตลาดนัดกลางคืน คือ การขายของช่วงกลางคืน โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนทำให้มีลูกค้าสัญจรไปมาไม่เหมือนต้นเดือนและเกิดพฤติกรรมการซื้อที่น้อยลง เนื่องจากผู้บริโภคต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งจะแตกต่างจากช่วงต้นเดือนอย่างมาก

โดยรายได้ที่เราได้ต่อวันนั้นเฉลี่ยอยู่ที่หลายพันบาท ทางทีมได้นำความรู้ทั้งหมดที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ในการทำการตลาดในห้องเรียนมาปรับใช้ เช่น เวลาขายสินค้าจะดูช่วงเวลาถ้าเกินจากสามทุ่มแล้ว ทางทีมยังขายไม่ได้ตามเกณฑ์ที่ตั้งเป้าไว้ ต้องรีบปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการขายนั้นมาเป็นรูปแบบทางออนไลนทันที อาจจะได้ยอดขายไม่เท่ากับที่ขายหน้าร้านแต่อย่างน้อยก็ทำให้มียอดขายที่เพิ่มขึ้นได้

รวมถึงเพิ่มกิจกรรมอื่นๆ เข้ามา เช่น จัดโปรโมชั่นเรียกลูกค้ารวมถึงออกไปเดินขายคุกกี้ทั่วตลาด ถ้ามีโอกาสอยากจะต่อยอดเปิดร้านจริงๆ ของตัวเองไปเลย โดยที่อาจจะเพิ่มรสชาติและพัฒนาโปรดักส์ของทีมให้ดีกว่าเดิมในตอนนี้ เพื่อที่จะได้มีควาเป็นมืออาชีพมาขึ้นและเรียกลูกค้าให้ได้มากกว่าเดิม" กลุ่มกลุ่ม 412 กล่าวทิ้งท้าย 

ที่มา: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น