ผลวิจัยใหม่พบว่าธุรกิจครอบครัวพร้อมที่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจโลก โดยมุ่งความสำคัญไปที่เป้าหมาย ชุมชน และความอดทน

พฤหัส ๒๒ เมษายน ๒๐๒๑ ๐๘:๔๒
เคพีเอ็มจี ไพรเวทเอ็นเตอร์ไพร์สและ STEP Project Global Consortium ออกบทวิเคราะห์การตอบสนองของธุรกิจครอบครัวต่อวิกฤติโควิด-1921 เมษายน 2564 - รายงานฉบับใหม่จาก STEP Project Global Consortium และเคพีเอ็มจี ไพรเวทเอ็นเตอร์ไพร์ส แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างที่เป็นเอกลักษณ์ของธุรกิจครอบครัวทำให้ธุรกิจเหล่านี้ตอบสนองต่อผลกระทบของโควิด-19 ได้ดี งานวิจัยพบว่าการเข้ามามีส่วนร่วมของครอบครัวเจ้าของธุรกิจและการบริหารโดยคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่นในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และทำให้ธุรกิจครอบครัวมีบทบาทในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ

รายงาน Mastering a comeback: How family businesses are triumphing over COVID-19 เป็นการวิเคราะห์ธุรกิจครอบครัวเกือบ 2,500 ธุรกิจ และธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจครอบครัวอีกกว่า 500 ธุรกิจ ซึ่งรายงานฉบับนี้พบว่ายุทธศาสตร์ที่ธุรกิจครอบครัวต่างใช้เพื่อจัดการกับผลกระทบของโควิด-19 นั้นสามารถสรุปได้เป็น 3 ประเด็นหลักดังนี้

  1. ขันติและการไม่ผลีผลาม ธุรกิจครอบครัวจะให้ความสนใจกับการส่งทอดธุรกิจไปยังรุ่นต่อไป และการอยู่รอดในระยะยาว เพราะฉะนั้นจะมีความใจเย็นในการตัดสินและไม่ผลีผลาม โดยการรอให้เข้าใจผลกระทบของโควิด-19 ทั้งหมดต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมก่อน เพื่อหาทางออกในระยะยาว มากกว่าการตอบสนองต่อผลกระทบเฉพาะหน้าโดยหวังผลระยะสั้น
  2. การแปลงโฉมธุรกิจ รายงานพบว่า ธุรกิจครอบครัวมีแนวโน้มที่จะมีนโยบายแปลงโฉมธุรกิจมากกว่าธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจครอบครัวถึงร้อยละ 42 ธุรกิจครอบครัวที่มีคนในครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวหลายรุ่นทำงานอยู่มีโอกาสที่จะวางนโยบายแปลงโฉมธุรกิจมากกว่าครอบครัวที่มีรุ่นเดียวมากกว่าถึงร้อยละ 45
  3. ความรับผิดชอบต่อสังคม ธุรกิจครอบครัวนอกจากที่จะตัดสินใจดำเนินการเพื่อปกป้องธุรกิจและครอบครัวจากผลกระทบของโควิด-19 แล้วยังคำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ของสังคมอีกด้วย รวมถึงคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลาย เช่นพนักงาน ลูกค้า ซัพพลายเออร์ และชุมชน

"ในประเทศไทยนั้น ในช่วงโควิด-19 เราเห็นธุรกิจครอบครัว จำนวนมากที่ เป็นผู้เบิกทางในการทำประโยชน์ และทดแทนคุณต่อสังคมและชุมชนที่พวกเขาดำเนินธุรกิจอยู่" ศศิธร พงศ์อดิศักดิ์ หัวหน้าฝ่ายไพรเวท เอ็นเตอร์ไพรส์ เคพีเอ็มจีประเทศไทยกล่าว "เราได้เห็นความพยายามในการตอบแทนคุณสังคมและการร่วมมือกับชุมชนในการฝ่าฟันวิกฤติไปด้วยกัน เนื่องจากธุรกิจครอบครัวมักมีความผูกพันต่อชุมชนสูง นอกจากจะเป็นการส่งผลประโยชน์ให้กับสังคมแล้ว ยังถือว่าเป็นการสร้าง brand loyalty และการกระชับความสัมพันธ์ของธุรกิจต่อชุมชนที่พวกเขาดำเนินธุรกิจอยู่"

อ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่นี่: https://home.kpmg/th/en/home/insights/2021/02/global-family-business-report-covid-19-edition.html

ที่มา: เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน