กองทุนฟื้นฟูฯ เร่งพิจารณาโครงการฟื้นฟูอาชีพที่องค์กรเกษตรกรยื่น ย้ำโครงการดี อนุมัติไว ผ่านแล้วกว่า 200 โครงการ

พฤหัส ๒๗ พฤษภาคม ๒๐๒๑ ๑๖:๐๓
นางรัชฎาภรณ์  แก้วสนิท  ประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรสมาชิกที่มีอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 5.6 ล้านคน นับเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรกำลังเร่งดำเนินการตามเจตนารมณ์ของ กฟก. ที่ต้องการเปิดโอกาสให้เกษตรกรสมาชิกที่ได้รับการจัดการหนี้แล้ว ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้วยการรวมกลุ่มไม่น้อยกว่าจำนวน 50 คน ขึ้นทะเบียนกับกฟก.ในนามองค์กรเกษตรกร และจัดทำแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพที่มีกิจกรรมด้านการเกษตร เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย 

"ในส่วนของผลการพิจารณาเพื่ออนุมัติแผนงานและโครงการฟื้นฟูที่องค์กรเกษตรกรได้เสนอยื่นของปีงบประมาณ  2564  จนถึงขณะนี้ ได้มีการอนุมัติไปแล้วกว่า 200 โครงการ แต่ละโครงการได้รับงบประมาณสนับสนุนประมาณ 400,000-500,000 บาท ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนของการโอนเงินสนับสนุนให้กับองค์กรเกษตรกรที่ได้รับการอนุมัติ"

นางรัชฎาภรณ์ กล่าวต่อไปว่า พร้อมกันนี้อยากทำความเข้าใจกับองค์กรเกษตรกร ที่ยื่นโครงการฟื้นฟูเกี่ยวกับอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อว่า ขณะนี้ทางกองทุนฯ ได้ระงับการพิจารณาไว้เป็นการชั่วคราว สาเหตุเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคลัมปี สกินในพื้นที่ภาคอีสาน ที่ส่งผลให้โคกระบือของเกษตรกรป่วยเป็นจำนวนมาก โดยหลังจากที่สถานการณ์ดีขึ้นและแก้ไขปัญหาการระบาดได้เรียบร้อย จะนำโครงการที่ยื่นกลับมาพิจารณาอีกครั้ง"

นางรัชฎาภรณ์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ในส่วนของการพิจารณาโครงการฟื้นฟูนั้น กองทุนฯ จะมีขั้นตอนตามระเบียบที่กำหนด เพื่อเป็นการเร่งช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกให้สามารถสร้างรายได้จากอาชีพตามโครงการฟื้นฟู ที่เสนอ ดังนั้นจะเน้นให้พิจารณาอนุมัติผ่านสำนักงานแต่ละจังหวัด ซึ่งจะมีคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด ประกอบด้วย ผู้แทนเกษตรกร 8 คน ตัวแทนราชการ 4 คน และภาคประชาชน 4 คน ทำหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองในเบื้องต้นก่อน จากนั้นจึงจะส่งแผนงานโครงการที่เห็นชอบจากคณะอนุกรรมการฯ จังหวัดมายังสำนักงานที่ส่วนกลาง ซึ่งจะมีการตรวจสอบและพิจารณาอีกครั้งก่อนการอนุมัติ ในขั้นตอนการอนุมัตินั้นขอเพียงให้มีแนวโน้มของการดำเนินโครงการว่ามีความเป็นไปได้ ทางกองทุนฯจะอนุมัติให้ทันที

" ขณะนี้ได้มีหลายโครงการที่ได้รับการอนุมัติ และได้ไปดำเนินการจนประสบความสำเร็จ สามารถ  ทำให้เกษตรกรสมาชิกสร้างรายได้ เช่น การปลูกผัก การทำเกษตรแบบพอเพียง เลี้ยงปลา เพาะเห็ด เลี้ยงสุกร เป็นต้น" นางรัชฎาภรณ์  กล่าวปิดท้าย 

ที่มา: กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น