กลุ่ม Maybank Kim Eng จัดสัมมนา Invest ASEAN 2021 ในหัวข้อ ASEAN Financials : The Shape of Things to Come

จันทร์ ๑๔ มิถุนายน ๒๐๒๑ ๑๕:๒๘
กลุ่ม Maybank Kim Eng จัดงานสัมมนา Invest ASEAN 2021 ในหัวข้อ  ASEAN Financials: The Shape of Things to Come โดยได้รับเกียรติจาก Dr Li Lian Ong, Group Head and Lead Specialist, ASEAN Macro Economic Research Office (AMRO); Dean Tong, Managing Director and Head of Group Human Resources, United Overseas Bank; และ Pranav Seth, Chief Digital Officer, Techcombank Vietnam มาร่วมแชร์ประสบการณ์ พร้อมวิเคราะห์เจาะลึก ถึงภาพรวมและทิศทางการเงินในภูมิภาคอาเซียน นำเสนอผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ จัดขึ้น ณ ประเทศสิงคโปร์

โดยทีมวิจัย บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ได้สรุปประเด็นสำคัญของงานสัมมนา Invest ASEAN 2021 ในหัวข้อ  ASEAN Financials: The Shape of Things to Come ไว้ดังนี้

พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในช่วงวิกฤต COVID-19 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการเงินก็เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างเลี่ยงไม่ได้ จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หลังเทคโนโลยีถูกเร่งให้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเร็วขึ้น อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีหลายๆ แบบ ที่ถือเป็นความท้าทายต่อสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ทั้งจากการแพร่หลายในวงกว้างอย่างรวดเร็วของ Block Chain, Cryptocurrency หรือ แม้กระทั่ง AI ซึ่งในมุมมองของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เห็นว่าปัจจัยต่างๆเหล่านี้อาจทำให้เกิดการ Disruption ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในฐานะผู้เป็นตัวกลางในระบบเศรษฐกิจทั้งแหล่งระดมทุน แหล่งออมเงิน แบบดั้งเดิมได้เช่นกัน หากภาคธุรกิจไม่สามารถปรับตัวทันกับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ในฐานะผู้กำหนดนโยบาย (Regulator) ก็ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่ต้องปรับตัวและก้าวให้ทันตามสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน

โดยโอกาสสำหรับธุรกิจที่ปรับตัวได้เร็ว และยึดความต้องการลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ในฐานะของผู้ให้บริการด้านการเงิน นอกจากจะเป็นความท้าทายและยังเป็นโอกาสที่ดี ที่ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และมีบางมุมที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิมยังมีข้อได้เปรียบ หากเทียบกับ Fintech (Ant Group สร้าง Ecosystem ของตนเอง และทำธุรกิจในลักษณะเดียวกับธนาคารพาณิชย์ อย่างเช่น 1) ฐานข้อมูลที่ได้จากพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน การทำธุรกรรมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โอนเงิน การใช้จ่ายผ่านบัตร การขอสินเชื่อ เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญที่จะสามารถเข้าถึงและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ หากสามารถปรับตัว เห็นประโยชน์ และนำมาใช้  2) ความน่าเชื่อถือ และงานบริการบางอย่าง ที่เทคโนโลยี ยังไม่สามารถเข้ามาทดแทนได้ เป็นต้น

นายธีรเศรษฐ์ พรหมพงษ์ นักกลยุทธ์เศรษฐศาสตร์มหภาค บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) มีความเห็นเพิ่มเติมว่าจากภาพสะท้อนมายังอุตสาหกรรมการเงินต่อประเทศไทยก็คือ 1) เทคโนโลยีและสิ่งที่อาจถูกมองว่าจะทำให้เกิด Disruption อาจเป็นโอกาสสำหรับทั้งภาคธุรกิจที่ปรับตัวได้เร็ว รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายที่เกื้อหนุนและเข้าใจบริบทของสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง 2) ความท้าทายของประเทศไทยยังมีค่อนข้างมาก หากเทียบการปรับตัวสู่ยุคดิจิตอลในช่วงที่ผ่านมา เทียบกับประเทศใน ASEAN

ที่มา: บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง