งานวิจัยใหม่เผย ลูกค้าธนาคารดิจิทัล 82% ลูกค้าธนาคารปกติ 72% และลูกค้าแอปพลิเคชันกลุ่มฟินเทค 74% ในประเทศไทย ต่างต้องการรับข้อเสนอประกันภัยที่ตรงใจตามข้อมูลการทำธุรกรรม

ศุกร์ ๓๐ กรกฎาคม ๒๐๒๑ ๑๖:๔๑
ข้อมูลชี้ให้เห็นว่า ผู้บริโภคสนใจข้อเสนอประกันภัยและการรับประกันที่ตรงกับความต้องการและความสะดวกของธนาคารที่พวกเขาใช้บริการ รวมถึงข้อเสนอการรับประกันจากธนาคาร นีโอแบงก์ e-wallets และแอพฟินเทคอื่น ๆ

แบบสำรวจ ลูกค้าธนาคารจำนวน 502 ราย ในประเทศไทยของ Momentive (บริษัทวิจัยของ SurveyMonkey) ครั้งล่าสุดภายใต้การว่าจ้างจาก โคเวอร์ จีเนียส ได้ทำการศึกษาและทำความเข้าใจว่าลูกค้าของธนาคาร นีโอแบงก์ และแอปพลิเคชันกลุ่มฟินเทค จะตอบสนองต่อข้อเสนอประกันแบบพ่วงซึ่งอาศัยข้อมูลธุรกรรมที่ทางลูกค้าทำขึ้นจริงได้อย่างไร โดยลูกค้าจะต้องตอบคำถามต่อไปนี้

สมมติว่าคุณอนุญาตให้ทางธนาคารจัดการธุรกรรม ตรวจสอบธุรกรรมของคุณ และนำเสนอการคุ้มครองตามประวัติการซื้อสินค้าของคุณในแอปพลิเคชันของธนาคารแล้ว คุณจะมีความสนใจให้ทางธนาคารนำเสนอการคุ้มครองเหล่านี้มากน้อยเพียงใด โปรดระบุ ผลการวิจัยพบว่า ลูกค้าธนาคารดิจิทัลในประเทศไทย 82% สนใจที่จะรับข้อเสนอประกันแบบพ่วงซึ่งอิงจากข้อมูลการทำธุรกรรม เช่นเดียวกับลูกค้าธนาคารออฟไลน์อีก 72% โดย "ความสะดวกสบาย" ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กลุ่มเป้าหมาย 63% มองว่าเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้พวกเขาสนใจในบริการดังกล่าว "ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบดิจิทัลมีความรวดเร็วมากกว่าเมื่อ 20 ปีก่อน" นายอารีจิตต์ จักรบดี กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของโคเวอร์ จีเนียส กล่าว "ธนาคาร นีโอแบงก์ และสถาบันการเงินอยู่ในจุดที่ได้เปรียบกับกว่าใครๆ ในการนำเสนอการประกันภัยแบบพ่วงตามการทำธุรกรรมของลูกค้า ซึ่งจะมีลักษณะที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าแบบทันที และเพิ่มมูลค่าให้กับการซื้อครั้งสำคัญของพวกเขา ด้วยก็เพราะธนาคารต่างๆ มีประวัติมาอย่างยาวนาน และได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี"

การวิจัยยังสะท้อนให้เห็นถึงการสำรวจที่คล้ายกันอีกฉบับหนึ่งที่ตีพิมพ์ไปเมื่อเดือนที่แล้วใน 12 ประเทศ โดยมีกลุ่มวิจัยเป็นชาวอเมริกัน 3,551 ราย ซึ่งเป็นการสำรวจที่ทางบริษัทเคยได้รับมอบหมายจากโคเวอร์ จีเนียส เช่นกัน ผ่านการสังเกตเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิตจำนวน 14 เหตุการณ์ หรือการซื้อครั้งใหญ่ที่ทำให้ผู้บริโภคต้องพิจารณาเลือกซื้อประกัน เช่น การคลอดบุตร การซื้อรถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ สัตว์เลี้ยง และสินค้าราคาแพง การทำสัญญาจ้างงาน และการเป็นผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า ข้อมูลทั่วโลกชี้ให้เห็นถึงความต้องการอย่างมีนัยสำคัญของผู้บริโภคที่มีต่อข้อเสนอประกันภัยตามธุรกรรมที่เกิดขึ้นในแบบทันที และตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยผู้บริโภคจะมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากถ้าพวกเขาเพิ่งตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่มีความสำคัญ หรือหากพวกเขาได้ทำประกันกับบริษัทประกันทั่วไปในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา หรือถ้าพวกเขาซื้อประกันภัยจากธนาคาร ผู้เขียนสังเกตเห็นถึงเห็นช่องว่างที่มีนัยสำคัญระหว่างการเสนอขายประกันแบบอินชัวร์เทค (การขายประกันโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้) กับการเสนอขายแบบ "แบงก์แอสชัวรันส์" ซึ่งธนาคารจะเข้าเป็นพันธมิตรกับบริษัทประกันเพื่อนำเสนอการคุ้มครองที่มักจะแยกออกจากกิจกรรมที่เป็นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน การสำรวจกลุ่มลูกค้าชาวไทยยังยืนยันถึงการที่ผู้บริโภคให้การสนับสนุนการนำเสนอขายประกันอสังหาริมทรัพย์แบบพ่วงในวงกว้าง เช่น ประกันภัยของผู้เช่า เจ้าของบ้าน และ/หรือผู้ให้เช่า (ผู้ตอบแบบสอบถาม 52% มีความในประกันประเภทนี้สูง) ประกันสุขภาพ (30%) ประกันชีวิต (26%) และการรับประกันสินค้าที่เป็นของใช้ส่วนบุคคลและเครื่องใช้ในครัวเรือนที่มีมูลค่าสูง (52%)

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาถึงบทบาทและลักษณะของผู้รับประกันแบบเก่าที่ถือเป็น "ขั้นตอนที่สอง" ของกระบวนการซื้อสินค้าในงานวิจัยครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ผู้ประกอบการธนาคารดิจิทัลและกลุ่มประชากรอายุน้อยมีแนวโน้มที่จะซื้อประกันมากกว่า อย่างไรก็ตาม ข้อมูลยังชี้ให้เห็นถึงอนาคตที่ดีขึ้นของธนาคารต่าง ๆ ในฐานะผู้จำหน่ายประกันภัย กล่าวคือ ลูกค้าชาวไทย 82% ที่เลือกใช้บริการจากบริษัทประกันหรือนายหน้าจำหน่ายประกันภัยแบบเดิมในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาต้องการที่จะได้รับข้อเสนอการคุ้มครองแบบพ่วงของธนาคารในครั้งต่อไปมากกว่าการประกันภัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประสบการณ์การซื้อประกันภัยครั้งล่าสุดจะถือเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการระบุตัวตนผู้ใช้ในกลุ่มแรก ส่วนอีกวิธีหนึ่งก็คือ การระบุผู้ใช้ของแอปพลิเคชันกลุ่มฟินเทคที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป การค้นพบครั้งสำคัญ ชี้ว่า ลูกค้าที่ใช้กระเป๋าเงินบนมือถือ 75% ผู้ใช้บริการซื้อตอนนี้ชำระภายหลัง 77% ผู้ใช้บัญชีการลงทุน 93% และผู้ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยทำบัญชี 91%  สนใจที่จะได้รับข้อเสนอประกันภัยเป็นอย่างมาก โดยผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กก็มีความสนใจในรูปแบบเดียวกันนี้สูงมากด้วยเช่นกัน (72%) "การที่ผู้บริโภคเรียกร้องให้เกิดการให้บริการอย่างราบรื่นกันเป็นวงกว้าง ทำให้เราตัดสินใจจับมือกับพันธมิตรเพิ่มเติม เช่น Shopee Thailand ในส่วนของร้านค้าปลีก สายการบินต่างๆ และตัวแทนจำหน่ายตั๋วและโปรแกรมการท่องเที่ยวบนช่องทางออนไลน์ บริษัทรถยนต์ กลุ่มการทำงานแบบยืดหยุ่น (Gig Economy) และบริษัทยานยนต์อย่าง Ola กลุ่มธุรกิจฟินเทค เช่น Intuit และกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ อีกมากมาย" นายอารีจิตต์ จักรบดี เสริม

ที่มา: มิดัส คอมมิวนิเคชั่น อินเตอร์เนชั่นเนล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง