ก.แรงงาน แจ้งเตือนช่างประเมินไลเซนส์ใหม่ ก่อนหมดอายุ ต.ค. 64 นี้

พฤหัส ๑๙ สิงหาคม ๒๐๒๑ ๐๙:๔๐
กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ย้ำช่างที่มีไลเซนส์แล้วให้เข้ารับการประเมินทักษะใหม่ ก่อนจะหมดอายุในเดือนตุลาคม 2564 นี้ เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย สร้างโอกาส ความมั่นคงในอาชีพ และความปลอดภัยสาธารณะ

นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยแรงงานทุกกลุ่มต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และเน้นย้ำให้แรงงานยังคงต้องได้รับการพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะฝีมือแรงงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นแรงงานคุณภาพควบคู่กับความปลอดภัยจากสถานการณ์โควิด-19 รักษาคุณภาพและโอกาสในการทำงานในยุค New Normal โดยเฉพาะสาขาอาชีพที่จำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะต้องได้รับการประเมินความรู้ความสามารถจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

นายธวัช กล่าวต่อไปว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 ประกาศให้ช่างที่ต้องผ่านการประเมินและได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ คือ ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร โดยเริ่มมีผลบังคับให้ ช่างฝีมือเข้ารับการประเมิน ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2559 และจะหมดอายุในเดือนตุลาคม 2564 ปัจจุบันมีช่างที่ผ่านการประเมินและอยู่ในเกณฑ์ที่หนังสือรับรองจะหมดอายุ จำนวน 152,528 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ส.ค.64) ทั้งนี้ หนังสือรับรองความรู้ความสามารถ มีอายุ 5 ปี และยังคงใช้หลักเกณฑ์การประเมินเดิมคือต้องได้คะแนนประเมินไม่น้อยกว่า 85 คะแนน จาก 100 คะแนน โดยพิจารณาจากผลผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประสบการณ์ด้านการประกอบอาชีพหรือการฝึกอบรม คุณลักษณะส่วนบุคคลที่แสดงถึงศักยภาพในการประกอบอาชีพหรือการทำงาน ผู้ที่ต้องการเข้ารับการประเมินใหม่ ต้องยื่นเอกสารหลักฐานซึ่งได้แก่ 1.แบบคำขอ (แบบ คร.10) สามารถดาวน์โหลด ได้ที่เว็บไซต์ สำนักงานรับรองความรู้ความสามารถ www.dsd.go.th/oloc 2.บัตรประชาชน 3.หนังสือรับรองความรู้ความสามารถ (ฉบับเดิม) 4.บัตรประจำตัวผู้ได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ (ฉบับเดิม) 5.รูปถ่ายขนาด 1x1.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)

ในส่วนของมาตรการป้องกันโควิด-19 และอำนวยความสะดวกให้แก่ช่างที่รับการประเมินใหม่ สามารถยื่นเอกสารผ่านช่องทางของระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะโทรแจ้งเพื่อนัดวันฟังคำชี้แจงนัดสัมภาษณ์ผ่านทางห้องประเมินออนไลน์ (แอปพลิเคชัน Zoom) เพื่อลดความแออัด เพิ่มความปลอดภัยในวันที่ทำการประเมิน หากผู้รับการประเมินใหม่ไม่สะดวกก็สามารถยื่นเอกสารหลักฐานได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน (สนพ.) ศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถของภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากกพร. ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศได้ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความภูมิใจในวิชาชีพของตนเอง โปรดอย่าลืมดูวันหมดอายุของหนังสือรับรองฯ ของท่าน และติดต่อขอรับการประเมินใหม่ ก่อนที่จะหมดอายุ 30 วัน เพื่อประโยชน์แก่ตัวท่านเอง หากท่านย้ายกลับภูมิลำเนา หรือย้ายที่อยู่ไปจังหวัดใดก็สามารถติดต่อขอรับการประเมินใหม่ได้ทุกจังหวัดที่ท่านสะดวก ส่วนช่างที่ยังไม่เคยเข้ารับการประเมินขอให้รีบติดต่อเข้ารับการประเมินโดยด่วน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและถูกต้องตามกฎหมาย

หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานรับรองความรู้ความสามารถ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทร. 0 2245 1703 หรือwww.facebook.com/oloc.dsd1

ที่มา: กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๘ เม.ย. Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๘ เม.ย. Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๘ เม.ย. โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๘ เม.ย. 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๘ เม.ย. TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๘ เม.ย. SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๘ เม.ย. โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๘ เม.ย. หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๘ เม.ย. คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital