สัมภาษณ์ อาจารย์ มจพ. คว้าทุนวิจัยเทคโนโลยีสีเขียวสำหรับยานยนต์ จาก บพข. ปี'64

พุธ ๐๘ กันยายน ๒๐๒๑ ๑๖:๐๙
ผลงานวิจัย เรื่อง "การการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์ จากเทคโนโลยีสีเขียวสำหรับยานยนต์ " โดย รศ.ดร. สุวิมล วงศ์สกุลเภสัช ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้รับทุนวิจัย จำนวน 31.2 ล้านบาท จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ประจำปีงบประมาณ 2564

เมื่อเร็วๆ นี้ รศ.ดร. สุวิมล เปิดเผยว่าทุนวิจัยเทคโนโลยีสีเขียวสำหรับยานยนต์ จาก บพข. เป็นทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันตามเป้าหมายของนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ในด้านการต่อยอดอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์และวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้ งานวิจัยนี้มีแนวคิดสืบเนื่องมาจากความต้องการในการลดปัญหามลพิษทางอากาศของประเทศไทย ได้แก่ ปัญหาฝุ่นละออง ก๊าซพิษ เขม่าควัน ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว BCG (Economy) ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชากรเป็นอย่างมาก

โดยสาเหตุสำคัญที่พบในเมืองใหญ่หรือเมืองที่มีการขยายตัวด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม คือ อากาศมีสารมลพิษเจือปน เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน รวมถึงฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ในปริมาณมาก ซึ่งพบว่าสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการเผาไหม้ของน้ำมันดีเซลในเครื่องยนต์ของพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง หนึ่งในแนวทางแก้ไขคือการใช้เชื้อเพลิงที่มีคุณภาพที่สามารถลดปริมาณเขม่าและก๊าซพิษจากการเผาไหม้น้ำมันดีเซลจากปิโตรเลียม ซึ่งเชื้อเพลิงสะอาดที่ประยุกต์ใช้ในการคมนาคมที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันพืชหรือผลิตภัณฑ์พลอยได้ และน้ำมันเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์จากกระบวนการฟิชเชอร์-โทรปช์ (Fisher Tropsch) ซึ่งพบว่าน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพนี้มีค่าซีเทนที่สูงกว่าน้ำมันที่ได้จากปิโตรเลียมและไม่ปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมเพราะมีองค์ประกอบของซัลเฟอร์ต่ำ วัตถุประสงค์ของงานวิจัย มุ่งเน้นในการพัฒนากระบวนการผลิตน้ำมันชีวภาพโดยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตตลอดทั้งกระบวนการให้มีประสิทธิภาพการผลิตที่มากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการการใช้งานจริงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการและกรรมวิธีการผลิตที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติและลดการปลดปล่อยมลพิษ ตรวจสอบคุณสมบัติน้ำมันที่ผลิตได้และทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานจริง รวมถึงประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพและน้ำมันเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการใช้งานในเครื่องยนต์ รวมถึงผลกระทบด้านเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนการผลิต และ ความคุ้มค่าในการลงทุนลักษณะเด่นของงานวิจัย มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการผลิตน้ำมันชีวภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมการผลิตก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซสังเคราะห์จากก๊าซชีวภาพ การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์จากกระบวนการฟิชเชอร์-โทรปช์ การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงเหลวชีวภาพจากน้ำมันปาล์มและผลพลอยได้กับก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซสังเคราะห์ และ การทดสอบน้ำมันเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์และน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพที่สังเคราะห์ได้ในเครื่องยนต์จริง งานวิจัยนี้เป็นการบูรณาการงานวิจัยจากหลายภาคส่วนทั้งในส่วนภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม และคณะทำงานที่มีคณาจารย์มีความเชี่ยวชาญจาก สาขาวิศวกรรมเคมี วิทยาศาสตร์อุตสาหกรรม และวิศวกรรมเครื่องกล จากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังได้รับความอนุเคราะห์ร่วมทุนสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัทเชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัทพลวัชร์ เครื่องยนต์ จำกัด และ บริษัทวีระสุวรรณ จำกัด ในการพัฒนาทั้งในส่วนการให้คำแนะนำด้านกระบวนการและการทดสอบกับเครื่องยนต์จริง

นอกจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีกระบวนการแล้ว ทางโครงการยังศึกษาการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์ของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์และน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพที่สังเคราะห์ขึ้น เพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจด้าน BCGประโยชน์จากงานวิจัยนี้สามารถกระตุ้นการเพิ่มขึ้นของ GDP จากการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น น้ำมันปาล์ม ที่เป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ช่วยส่งเสริมการใช้น้ำมันชีวภาพสังเคราะห์ที่ผลิตจากทรัพยากรหมุนเวียนในประเทศ ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณการปลดปล่อย CO2 และ PM 2.5 รวมถึงเพิ่มสัดส่วนการพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองต่อการพึ่งพาเทคโนโลยีจากภายนอก ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศได้

สอบถามรายละเอียดได้ที่ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) หรือที่ รศ.ดร. สุวิมล วงศ์สกุลเภสัช โทรศัพท์ 02-555 2000 ต่อ 8245 หรือ 095-168-1515

ที่มา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๕๑ อายุน้อยก็เสี่ยงนะ! สังเกตสัญญาณโรคหลอดเลือดสมองในหนุ่ม-สาว Stoke in the young
๐๘:๒๕ เกิร์ลกรุ๊ปสาว DE GIFT' (เดอ กิฟท์) ปังเกินเบอร์!!!! เตรียมปล่อยของโชว์ Performance เวที Dalat Best Dance Crew 2024
๐๘:๓๘ ทรีตเมนต์ยกกระชับผิวหน้า
๐๘:๒๑ โค้งสุดท้ายหลักสูตรดับทุกข์ผู้บริหารรุ่นแรก เผยชุด 2 มีบิ๊กเนมสนใจเพียบทั้งอดีต รมต.และ สว.
๐๘:๐๙ DEK SPU โชว์สกิล! คว้ารางวัล SPU TikTok Challenge 2024
๐๘:๑๔ แพ็กเกจห้องประชุม สัมมนาใจกลางกรุงเทพฯ ที่โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ จี
๐๘:๔๖ มารู้จักอาจารย์ของแพทย์ คุณหมอหนุ่ม - อาจารย์นายแพทย์ รัสมิ์ภูมิ สุเมธีวิทย์
๐๘:๒๖ ร่วมวางพวงมาลาวันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
๐๘:๓๕ กทม. ประสาน กฟน. เร่งแก้ไขฝาบ่อพักท่อชำรุดเชิงสะพานข้ามแยกเสนานิคม
๐๘:๓๒ ก.แรงงานหนุนจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี 67 พร้อมเปิดพื้นที่รับฟังข้อเรียกร้อง ย้ำแรงงานเป็นกำลังผลักดันเศรษฐกิจสังคมไทย