เคพีเอ็มจี เปิดตัวบริการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะธุรกิจแบบบูรณาการ (Integrated Due Diligence) ครอบคลุมด้านการเงิน ภาษี และกฎหมาย ตอบรับการเติบโตของการควบรวมและซื้อกิจการ (M&A) ในประเทศไทย

พฤหัส ๓๐ กันยายน ๒๐๒๑ ๑๓:๐๙
ตลาดการควบรวมและซื้อกิจการ (M&A) กำลังเติบโตขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกาเหนือและบางส่วนของยุโรป ในประเทศไทย แม้ว่าโควิด-19 ระลอกที่สามจะกระทบเศรษฐกิจอย่างหนัก แต่ธุรกิจต่างๆ ยังคงดำเนินโครงการขยายธุรกิจต่อไป จากข้อมูลของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มูลค่าสะสมของการลงทุนภาคเอกชนพุ่งขึ้นถึงร้อยละ 158 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2564 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยในช่วงเวลาเดียวกัน ประเทศไทยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศได้ถึง 279 หมื่นล้านบาท ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดคือบริษัทจากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐฯ และจีน"เราเห็นถึงความต้องการซื้อขายกิจการในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นผลจากแนวโน้มธุรกิจในสถานการณ์ปัจุจุบัน เช่น การค้าปลีกออนไลน์ และวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต หรือภาคส่วนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และจำเป็นต้องปรับตัว"

เจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เมียนมาร์ และลาว กล่าว "การเข้าซื้อกิจการ การลงทุน หรือการควบรวมธุรกิจ ก่อให้เกิดความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ สำหรับบริษัทต่างๆ สิ่งที่สำคัญคือบริษัทเหล่านี้จะต้องพิจารณาข้อตกลงในทุกแง่มุมทางธุรกิจ โดยคำนึงถึงผลกระทบทางการเงิน ภาษี และกฎหมายเป็นหลัก เราจึงเปิดตัวทีมตรวจสอบวิเคราะห์สถานะธุรกิจแบบบูรณาการ (Integrated Due Diligence) เพื่อให้บริการแบบครบวงจรและไม่ยุ่งยาก สำหรับลูกค้าของเราที่ต้องการซื้อหรือขายธุรกิจ"

ทีมงาน Integrated Due Diligence ของเคพีเอ็มจี ประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญหลากสาขาวิชาชีพ ซึ่งให้บริการที่ตรงและครอบคลุมทุกความต้องการด้านการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะธุรกิจ (Due Diligence) โดยมีการตรวจสอบสถานะทางการเงิน ภาษี และกฎหมายเป็นหัวใจหลัก ด้วยการทำงานอย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพของทีมที่มีทักษะอันหลากหลาย เคพีเอ็มจี ช่วยลูกค้าปรับการทำธุรกรรมให้เหมาะสมโดยให้บริการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะธุรกิจแบบบูรณาการองค์รวม นอกเหนือจากบริการหลักด้านการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะธุรกิจแล้ว ฝ่ายที่ปรึกษาการซื้อขายกิจการของเคพีเอ็มจี ยังให้ความช่วยเหลือแบบบูรณาการที่ครอบคลุมทุกแง่มุมของการควบรวมและซื้อกิจการ (M&A) ได้แก่ การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะทางการค้าของกิจการ (Commercial due diligence) และกลยุทธ์การเติบโต เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) การปฏิบัติการ ทรัพยากรบุคคล และการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะการดำเนินธุรกิจด้วยนโยบายสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG Due Diligence) โครงสร้างทางกฎหมายและภาษี โดยบริการเหล่านี้ดำเนินงานภายใต้ความเข้าใจในความสำคัญของการสร้างมูลค่าผ่านกลไกทั้งหมดที่ได้กล่าวมา"ข้อตกลงในการควบรวมและซื้อกิจการทุกรายการมีรายละเอียดในหลายแง่มุม และได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ภาษี และกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา"

เอียน ธอร์นฮิลล์ หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาการซื้อขายกิจการ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าว "ดั้งนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกๆ ธุรกรรมการควบรวมและซื้อกิจการจะต้องมีโครงสร้างและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจน และทีมงานมืออาชีพที่จะช่วยดำเนินการธุรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะธุรกิจแบบบูรณาการของเคพีเอ็มจี มีทีมงานที่ประสานงานกันเป็นศูนย์กลาง ซึ่งช่วยให้ลูกค้าของเราสามารถจัดการกับปัญหาด้านการเงิน ภาษี และกฎหมายได้อย่างครบวงจร"

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะธุรกิจแบบบูรณาการของเคพีเอ็มจี ได้ที่ home.kpmg/th/kpmgdd

ที่มา: เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน