SFT พร้อมสนับสนุนแบรนด์ไทยใช้ฉลากฟิล์มหดรัดรูปที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หลังภาครัฐเร่งดันโมเดลเศรษฐกิจ BCG รับมือกฎเกณฑ์การค้าโลก

พุธ ๒๐ ตุลาคม ๒๐๒๑ ๑๗:๒๓
'บมจ.ชริ้งเฟล็กซ์ (ประเทศไทย) หรือ SFT' หนึ่งในผู้นำการให้บริการ Labeling Solutions แบบครบวงจร ด้วยผลิตภัณฑ์ฉลากฟิล์มหดรัดรูปในภูมิภาคอาเซียน โชว์วิสัยทัศน์ด้านการผลิตฉลากฟิล์มหดรัดรูปที่ปรับตัวให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ด้าน BCG ของไทย พร้อมเร่งรณรงค์การใช้ฉลากฟิล์ม r-PET ที่ผลิตจากการใช้เม็ดพลาดสติกรีไซเคิล ช่วยสร้างภาพลักษณ์แบรนด์และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันสินค้าไทยในต่างประเทศ รับกฎเกณฑ์การค้าโลกที่ให้ความสำคัญด้านผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

นายซุง ชง ทอย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชริ้งเฟล็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SFT หนึ่งในผู้นำการให้บริการ Labeling Solutions แบบครบวงจรด้วยผลิตภัณฑ์ฉลากฟิล์มหดรัดรูปในภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยว่า จากแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนของประเทศไทยของภาครัฐในช่วงปี 2564-2569 ด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy (BCG) ที่มุ่งสร้างความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากร การดูแลสิ่งแวดล้อม และยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมให้อยู่ภายใต้เศรษฐกิจ BCG เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย เพื่อส่งสินค้าไปทำตลาดยังต่างประเทศได้ดีขึ้น และสอดรับกฎเกณฑ์การค้าโลกที่ให้ความสำคัญกับสินค้าที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ในฐานะที่เป็นผู้นำด้านการให้บริการ Labeling Solutions แบบครบวงจรด้วยผลิตภัณฑ์ฉลากฟิล์มหดรัดรูปเพื่อนำผลิตภัณฑ์ของ SFT เข้าไปมีส่วนช่วยผู้ประกอบการไทยเพื่อสร้างภาพลักษณ์และแบรนด์สินค้าให้มีความเข้มแข็ง โดยมีนโยบายดำเนินงานที่สำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฉลากฟิลม์หดรัดรูปที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ฟิล์ม
r-PET (Recycled Polyethylene Terephthalate) ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลจากพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้ว 30% (post-consumer recycle: PCR) มาเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตฉลากทั้งระบบการพิมพ์กราเวียร์และแบบดิจิทัลเพื่อลดปริมาณการใช้พลาสติกใหม่

ทั้งนี้ SFT จึงได้จัด Online conference 'The Road to Sustainability with Shrinkflex' ในช่วงวันที่ 28 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่จัดขึ้นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีการถ่ายทอดความรู้ พร้อมนำเสนอตัวเลือกนวัตกรรมใหม่ๆ ของฉลากฟิล์มหดรัดรูปที่ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม เพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจให้แก่พันธมิตรทางธุรกิจ คู่ค้า และผู้ประกอบการในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเครื่องดื่ม เครื่องสำอางค์ สินค้าอุปโภคบริโภค ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ฉลากฟิล์ม r-PET เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ตราสินค้าของลูกค้า รองรับเทรนด์ของผู้บริโภคที่มองหาสินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ที่ส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้มากขึ้น

"การดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต ผู้บริโภคจะมองหาสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในปัจจัยในการพิจารณา ดังนั้น ผู้ประกอกบการทุกรายต้องตื่นตัวและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือมีการใช้ทรัพยากรที่มีความคุ้มค่าสูงสุด ซึ่ง SFT มีศักยภาพและความพร้อมตลอดจนความมุ่งมั่นอย่างเต็มเปี่ยม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ฉลากฟิล์มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยสนับสนุนผู้ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศและร่วมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน" นายซุง ชง ทอย กล่าว

ที่มา: เอ็ม ที มัลติมีเดีย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน