บีโอไอ หนุนผู้ผลิตชิ้นส่วน SMEs ไทยเชื่อมธุรกิจต่างประเทศ ดึงร่วมงาน M-TECH Osaka ที่ญี่ปุ่น

พฤหัส ๒๘ ตุลาคม ๒๐๒๑ ๑๓:๒๐
บีโอไอดึงผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยที่เป็น SMEs เข้าร่วมงานแสดงเทคโนโลยีและชิ้นส่วนเครื่องจักรกล M-Tech Osaka ที่ประเทศญี่ปุ่น หวังต่อยอดให้กับผู้ประกอบการ SMEs ไทย โดยเน้นอุตสาหกรรมผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ไทยมีศักยภาพไปสู่ตลาดต่างประเทศ คาดว่าจะเกิดมูลค่าการซื้อขายประมาณ 4,525 ล้านบาท

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า กองพัฒนาผู้ประกอบการไทย ร่วมกับ สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน นครโอซากา นำผู้ประกอบการ SMEs ไทย เข้าร่วมงานแสดงสินค้า M-Tech Osaka 2021 ณ ศูนย์แสดงสินค้า INTEX Osaka ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นงานแสดงเทคโนโลยีและชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและเครื่องจักรกลที่สำคัญงานหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 6 - 8 ตุลาคม 2564 เพื่อสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการ SMEs ไทยในการเข้าสู่ห่วงโซ่การผลิตในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่อุตสาหกรรมการผลิตของโลกได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อกระจายความเสี่ยงโดยการจัดซื้อชิ้นส่วนจากหลายแหล่ง แทนแห่งเดียวดั่งในอดีต นอกจากนี้ญี่ปุ่น นับเป็นคู่ค้าหลักด้านชิ้นส่วนอุตสาหกรรมของไทย ดังนั้นการเข้าร่วมงาน M-Tech จึงมีบทบาทสำคัญในการแสดงศักยภาพและความคล่องตัวในการผลิตของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนของไทย โดยเฉพาะ SMEs

งาน M-TECH Osaka หรือ 24th Mechanical Components & Materials Technology Expo Osaka เป็นงานแสดงเทคโนโลยีและชิ้นส่วนเครื่องจักรกลทุกประเภท เช่น Mechanical part, Bearings, Fasteners, Motor, Compressor, Metal and plastic processing technology มีผู้เข้าร่วมออกบูธ จำนวน 506 บริษัท และผู้เข้าเยี่ยมชมงานทั้งสิ้น 16,906 ราย โดยส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมยานยนต์ อากาศยาน อิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และการผลิตเครื่องจักร โดยในปีนี้รูปแบบการแสดงสินค้าเป็นการผสมผสานการออกบูธในสถานที่จริงร่วมกับแบบออนไลน์ (Onsite and Virtual) หรือเป็นแบบ Hybrid เนื่องจากในญี่ปุ่นเองก็อยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่นเดียวกับประเทศไทย    

สำนักงานได้จัดพื้นที่แสดงชิ้นส่วนภายใต้ Thailand Pavilion โดยมีผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยที่เป็น SMEs เข้าร่วมออกบูธทั้งสิ้น 10 บริษัท และเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น ยานยนต์ เครื่องจักรเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ เหล็กและโลหะ รวมทั้งเคมีภัณฑ์ เป็นต้น โดยบริษัทที่ให้ความสนใจผู้ผลิตชิ้นส่วนจากไทย ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทญี่ปุ่นที่มีบริษัทลูกหรือสาขาอยู่ในพื้นที่เขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย ได้แก่ Panasonic Corporation, Kawasaki Heavy Industries, Kobelco, Mitsubishi Heavy Industries, Toyota Tsusho,Mizuho, Fujitec เป็นต้น สำนักงานคาดว่าการเข้าร่วมงานครั้งนี้จะก่อให้เกิดธุรกิจต่อเนื่องในการซื้อขายชิ้นส่วนในอนาคต จำนวน 163 คู่ มูลค่าการซื้อขายประมาณ 4,525 ล้านบาท

ที่มา: ซิน คัมปานี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น