มูลนิธิพัฒนามหาสมุทรแห่งประเทศจีน สำรวจเทคนิคใหม่ในการสังเกตการณ์ พร้อมสร้างความร่วมมือระหว่างจีนกับไทยเพื่อปกป้องสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล

อังคาร ๐๗ ธันวาคม ๒๐๒๑ ๑๑:๔๐
โลมาอิรวดี (Orcaella brevirostris) เป็นโลมาเฉพาะถิ่นที่พบในน่านน้ำชายฝั่งของภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ทำให้ประชากรโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลาของไทยอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้จัดให้เป็นสายพันธุ์ที่เปราะบาง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนและไทยได้กระชับความร่วมมือระหว่างกันในการสังเกตการณ์และการวิจัยสัตว์ทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงโลมาอิรวดีด้วย

ประเทศไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการอนุรักษ์ประชากรโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา และได้สั่งสมประสบการณ์มานานกว่าสิบปี อย่างไรก็ตาม วิธีสังเกตการณ์แบบเดิม ๆ ที่นักวิจัยเคยใช้ เช่น การถ่ายภาพจากเรือ ยังมีข้อจำกัดและไม่มีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2554 จีนและไทยได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการสังเกตการณ์และส่งเสริมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

สิ่งที่ดึงดูดให้นักวิทยาศาสตร์จากจีนและไทยมาทำวิจัยร่วมกันนั้น ไม่ใช่แค่เพราะโลมาอิรวดีใกล้สูญพันธุ์เท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะโลมาอิรวดีมีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลด้วย โดยโลมาอิรวดีอยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหารทางทะเล ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบนิเวศทางทะเลที่ดี นอกจากนี้ โลมาอิรวดียังมีความหมายต่อชาวบ้านในพื้นที่ด้วยเช่นกัน โดยโลมาอิรวดีช่วยต้อนปลาเข้าอวนแลกกับอาหารจากชาวประมง อีกทั้งยังมีผลต่อจิตใจของชาวบ้าน โดยบางวัดในประเทศไทยถึงกับจัดบูชาโครงกระดูกและชิ้นส่วนของโลมาอิรวดีเลยทีเดียว

"ด้วยเหตุนี้ การคุ้มครองโลมาอิรวดีจึงมีความสำคัญทั้งทางนิเวศวิทยา รวมถึงทางสังคมและวัฒนธรรม" ดร.จาง เสวี่ยเล่ย หัวหน้าทีมวิจัยสัตว์ทะเลใกล้สูญพันธุ์ จากสถาบันสมุทรศาสตร์ (First Institute of Oceanography) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติของจีน กล่าว

นักวิจัยจากจีนและไทยได้พัฒนาระบบสังเกตการณ์แบบบูรณาการ ด้วยการประยุกต์ใช้พาหนะไร้คนขับทั้งทางอากาศและทางทะเล ร่วมกับเทคโนโลยีไบโออะคูสติก และเทคนิคทางอณูชีววิทยา ทำให้สามารถรวบรวมและส่งข้อมูลรวมถึงภาพของโลมาได้แบบเรียลไทม์

เทคโนโลยีขั้นสูงเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในการสังเกตและการวิจัยสัตว์ทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทยมาระยะหนึ่งแล้ว และในเดือนพฤษภาคม 2558 ทีมวิจัยมีความก้าวหน้าครั้งสำคัญ โดยโดรน DJI ติดกล้องสามารถจับภาพพะยูน หรือตำนาน "นางเงือก" แห่งท้องทะเลได้สำเร็จ ในบริเวณน่านน้ำทางตอนเหนือของเกาะลิบง ซึ่งถือเป็นการยืนยันการดำรงอยู่ของสายพันธุ์ดังกล่าวในพื้นที่นี้เป็นครั้งแรก และสนับสนุนให้มีการออกมาตรการอนุรักษ์

สี่งที่ดร.จาง ประทับใจมากที่สุดก็คือ ประสบการณ์จากการสังเกตโลมาอิรวดีด้วยการสังเกตการณ์รูปแบบใหม่นี้ในทะเลสาบสงขลา ซึ่งถือเป็นการพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของเทคโนโลยีดังกล่าว ที่ผ่านมาผลจากกิจกรรมของมนุษย์ได้ทำให้โลมาในพื้นที่มีความไวต่อมนุษย์ จนทำให้ยากต่อการสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์และการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับขนาดของประชากรโลมาและรูปแบบการทำกิจกรรมของโลมา

เพื่อแก้ปัญหานี้ ในเดือนพฤษภาคม 2558 ดร.จาง และเพื่อนร่วมงานชาวไทย ได้สังเกตการณ์แบบสามมิติจากทางอากาศ บนผิวน้ำ และใต้น้ำในทะเลสาบสงขลา โดยติดตั้งเซ็นเซอร์ไบโออะคูสติกใต้น้ำจำนวนมาก รวมถึงส่งเรือสำปั้นขนาดเล็กและเครื่องบินเล็กที่ขับโดยมนุษย์ออกร่วมสำรวจ

"เราพบว่าเวลาที่โลมาปรากฏตัวตรงกับเวลาที่เรากลับเข้าฝั่งเพื่อรับประทานอาหารกลางวันพอดี เรารู้สึกประหลาดใจและตระหนักว่าสัตว์ที่อ่อนไหวเหล่านี้ฉลาดแค่ไหนในการตอบสนองต่อเสียงแปลก ๆ ของเครื่องเรือ" ดร.จาง กล่าว จากนั้นทีมวิจัยได้ปรับเปลี่ยนตารางเวลา ดับเครื่องยนต์ รอบนเรือภายใต้แสงแดดที่แผดจ้า และในตอนเที่ยง โลมาอิรวดีประมาณ 20 ตัวก็ออกมากินอาหารเพราะคิดว่าไม่มีคนแปลกหน้ามารบกวน ทีมงานจึงสามารถรวบรวมข้อมูลที่ต้องการมานาน

"จากการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนประชากร พื้นที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมที่สำคัญอื่น ๆ ของโลมาอิรวดีเหล่านี้ ทำให้เราสามารถพัฒนากลยุทธ์การอนุรักษ์ที่ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงของระบบนิเวศทางทะเล" ดร.จาง กล่าว

นอกจากนี้ ความท้าทายจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ส่งผลต่อการทำงานร่วมกันในสถานที่ของทีมงานจากนานาชาติ ทำให้ ดร.จางและทีมงานลองพยายามใช้วิธีสังเกตการณ์แบบใหม่ เช่น การใช้แท็กดาวเทียม ที่สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของเต่าและวาฬ โดยหวังว่าจะได้รับข้อมูลที่มีค่ามากขึ้นเกี่ยวกับถิ่นที่อยู่อาศัยและรูปแบบการอพยพ

"เราหวังว่าแพลตฟอร์มการสังเกตการณ์แบบไร้มนุษย์นี้จะช่วยปลดปล่อยนักวิจัยจากงานหนักที่ไม่ต้องใช้สติปัญญามากนัก เพื่อให้พวกเขาสามารถทุ่มเทนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ให้กับงานที่มีคุณค่ามากกว่า และมีส่วนร่วมสนับสนุนมากขึ้นในการคุ้มครองโลมาอิรวดีและสัตว์ทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์อื่น ๆ" ดร.จาง เสวี่ยเล่ย กล่าว

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1701876/Scientists_China_Thailand_observing_dugongs_dolphins_Libong_Island_Photo_Dr.jpg
คำบรรยายภาพ: คณะนักวิทยาศาสตร์จากจีนและไทยสังเกตการณ์พะยูนและโลมาบริเวณเกาะลิบง ภาพโดยดร.จาง เสวี่ยเล่ย



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง