กฎหมาย PDPA ที่ใกล้เข้ามาและ 5 สิ่งที่องค์กรต้องรู้

อังคาร ๒๘ ธันวาคม ๒๐๒๑ ๐๙:๓๖
ในยุคแห่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ สิ่งหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรก็คือ 'ข้อมูล' เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์และใช้ตอบโจทย์หรือปัญหาต่างๆ ของผู้บริโภคครับ ธุรกิจและองค์กรต่างก็รับรู้ถึงความสำคัญของการเก็บข้อมูลของลูกค้ารวมไปถึงข้อมูลผู้ใช้งานบนโลกออนไลน์ ก็ได้มีการนำระบบต่างๆ อย่าง CDP และระบบ CRM อย่างไรก็ตามการเก็บรวบรวมข้อมูลของคนคนหนึ่งโดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นการทำผิดกฎหมาย ซึ่งในประเทศไทย ก็คือ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA นั่นเองครับ

วันนี้ Connect X จะมาอธิบายเกี่ยวกับ PDPA ให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจกันอย่างง่ายๆ ครับผม

PDPA คืออะไร?

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act ที่เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือก็คือกฎหมายที่ปกป้องข้อมูลส่วนตัวไม่ให้องค์กรนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตนั่นเอง กฎหมายฉบับใหม่นี้จะไม่เพียงแค่ครอบคลุมเพียงช่องทาง Online อย่างเดียวแต่รวมไปถึง Offline ด้วย โดยกฎหมายฉบับนี้ของไทยเรา มีต้นแบบมาจากกฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของ Europe ที่มีชื่อว่า GDPR (General Data Protection Regulation) ครับ

กฎหมายเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้บริโภค โดยข้อบังคับกฎหมาย PDPA จะให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น  ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, เพศ, เบอร์โทรศัพท์, การศึกษา, ฐานะการเงิน, ประวัติสุขภาพ, ประวัติการทำงาน รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลประเภทอื่น ๆ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ บันทึกเสียง เลขบัตรประชาชน หรือข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ ที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมให้เปิดเผยหรือนำไปใช้งาน 

กฎหมาย PDPA จะบังคับใช้เมื่อไหร่?

มีการประกาศบังคับใช้ PDPA เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2563 จนภายหลังได้มีประกาศเลื่อนการบังคับใช้ออกไปอีก 1 ปี โดยเปลี่ยนการเริ่มบังคับใช้เป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2564 นั่นเอง

แล้ว PDPA จะส่งผลต่อธุรกิจคุณอย่างไร?

แน่นอนว่าแหล่งการเก็บข้อมูลของลูกค้าที่ง่ายที่สุดนั้นคงหนีไม่พ้นช่องทางออนไลน์ ที่เป็นสิ่งสำคัญของ Digital Marketer  ขอถามว่า ท่านเคยสังเกตเวลาที่ลอง Search หาสินค้าบางอย่าง แล้วหลังนั้นก็มีโฆษณาโผล่ขึ้นมาบน Facebook หรือตาม Banner Ad ของเว็บไซต์ต่างๆ นั้นบ้างไหมครับ

ใช่ครับ…สิ่งนี้ก็คือ Personalized Ads นั่นเอง ซึ่งการทำแบบนี้ธุรกิจก็ต้องอาศัยของมูลของผู้ใช้งาน การ Re-Marketing ก็เช่นกัน แต่เมื่อ PDPA มีผลบังคับใช้นั้นการเข้าถึงข้อมูลก็ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งานเสียก่อน Digital Marketers ต่างก็ได้รับผลกระทบไม่น้อยนอกจากนี้องค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินธุรกิจและแผนการตลาด สร้างหรือปรับเปลี่ยน Privacy Policy ใหม่ รวมถึงใช้ระบบจัดเก็บข้อมูล CDP ควบคู่กับระบบ CRM ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

ถ้าหากเกิดการฝ่าฝืนนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดหรือไม่เป็นตามข้อตกลง ก็อาจต้องพบกับโทษค่าปรับถึง 5 ล้านบาท

องค์กรต้องมีอะไรเพื่อรองรับ PDPA

Connect X ขอมาแนะนำ 5 ข้อง่ายๆ ที่ทุกองค์กรต้องมีเพื่อรองรับ PDPA ตามนี้เลยครับ 

1.ทุกครั้งที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงเงื่อนไขและยินยอมในการให้ข้อมูลอย่างถูกต้องครับ เช่น หากแบรนด์มีการทำฟอร์มให้ลูกค้ากรอกข้อมูลส่วนตัว จะต้องมีการระบุเงื่อนไขในการเก็บข้อมูลให้ชัดเจนเพื่อลูกค้ารับทราบถึงการยินยอมให้ข้อมูลด้วย

2.จากข้อแรก ในเงื่อนไขต้องระบุให้ชัดเจนว่าข้อมูลที่เก็บไปจะถูกใช้ทำอะไรบ้าง เช่น มีการเก็บข้อมูล อีเมลลูกค้า เพื่อส่งโปรโมชั่นในอนาคต หรือติดตามพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ ก็ต้องแจ้งให้ชัดเจนในขั้นตอนนี้ด้วยครับผม

3.โปรดระบุระยะเวลาในการเก็บข้อมูล พร้อมแจ้งวิธีจัดการกับข้อมูลเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด พร้อมแจ้งให้ลูกค้าทราบ  เช่น การเก็บข้อมูลสมาชิกร้านอาหาร ที่มีครบกำหนดระยะเวลาไว้ 3 เดือน หากต้องการเก็บข้อมูลลูกค้าต่อก็ต้องมีการระบุระยะเวลาให้ชัดเจนครับ 

หลายแบรนด์อาจจะกังวลว่าหากลูกค้าไม่ต่อสมาชิก ก็อาจจะต้องลบข้อมูลทันที แต่ต้องอย่าลืมว่าหากมีตัวช่วย เช่น ระบบ Marketing Automation ทางแบรนด์ก็สามารถส่ง Email แจ้งเตือนให้ลูกค้ามาต่อบัตรสมาชิกแบบอัตโนมัติได้เลยครับ

4.เตรียมตัวสำหรับกรณีเจ้าของข้อมูลต้องการยกเลิกการเก็บข้อมูล ว่าทางองค์กรต้องมีการดำเนินงานอย่างไร ยกเลิกผ่านระบบที่ใช้ในปัจจุบันได้หรือไม่ จะดียิ่งกว่าหากองค์กรมีระบบที่รองรับ PDPA เพื่อสร้างเงื่อนไขกับลูกค้าต้องการยกเลิกการเก็บข้อมูลให้ทำได้แบบอัตโนมัติ เพื่อป้องกันการฟ้องร้องที่อาจเกิดขึ้นครับ

เช่น หากแบรนด์มีการส่งแคมเปญหาลูกค้าผ่านช่องทาง Email ในการแจ้งเตือนโปรโมชั่นต่างๆ เมื่อลูกค้ามีการแจ้งยกเลิกรับข่าวสารทาง Email หรือขอยกเลิกการเก็บข้อมูล ทางแบรนด์ต้องมีระบบรองรับการตอบกลับเพื่อให้ Email นั้นหยุดส่งหาลูกค้าทันทีแบบอัตโนมัติ เพราะหากลูกค้าแจ้งว่ายกเลิกแล้ว แต่ทางแบรนด์ยังมีการส่งโปรโมชั่นผ่านช่องทางนั้นๆอยู่ ก็ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้

มีเครื่องมือหรือระบบที่รองรับ PDPA อย่าง Connect X ที่เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลลูกค้า หรือ CDP (Customer Data Platform) ช่วยสามารถเก็บข้อมูลลูกค้าจากทุกช่องทางไว้ในที่เดียวกัน เป็นระบบที่ได้รับมาตรฐานการเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัย มีมาตรฐาน ISO27001 และรองรับ PDPA อีกด้วย 

ผู้ประกอบธุรกิจและนักการตลาดทุกท่านที่ได้อ่านมาถึงตรงนี้ คงทราบแล้วว่าการมาถึงของ PDPA นั้นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายจริงๆ ทำให้องค์กรและแบรนด์ต้องเตรียมตัวอย่างรอบคอบมากกว่าเดิมอย่างแน่นอนครับ

Connect X คือ Platform ที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้ธุรกิจถูก Digital Disruption ถึงเวลาแล้วที่ทุกธุรกิจจะต้องเริ่ม Connect กับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) แบบไร้รอยต่อด้วย Marketing Platform ที่ไม่เพียงแต่มี Feature เด็ดๆ แต่ยังสามารถปรับแต่ง Platform Customize ให้เข้ากับแบรนด์ที่มีความแตกต่างกันได้ด้วย

ที่มา: Connect X

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง