สกพอ. สานความร่วมมือกับ JETRO ดึงภาคเอกชนญี่ปุ่นลงทุนในพื้นที่ EEC

ศุกร์ ๑๔ มกราคม ๒๐๒๒ ๑๓:๐๗
กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ญี่ปุ่น หนุน เจโทร - สกพอ. ลงนามความร่วมมือ ดึงดูดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงกลุ่มสุขภาพ กลุ่มดิจิทัล กลุ่มการลงทุนคาร์บอนต่ำ และกลุ่มโลจิสติกส์ เข้ามาลงทุนใน อีอีซี การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ สอดคล้องนโยบาย BCG โมเดลของไทย
สกพอ. สานความร่วมมือกับ JETRO ดึงภาคเอกชนญี่ปุ่นลงทุนในพื้นที่ EEC

นายฮากิอูดะ โคอิจิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (เมติ) ประเทศญี่ปุ่น ได้เข้าหารือกับนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในประเด็นการขยายความร่วมมือในการผลักดันให้อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของญึ่ปุ่นเข้ามาลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

ทั้งนี้ เพื่อให้ความร่วมมือดังกล่าวเกิดผลเป็นรูปธรรม และเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ จึงมีความเห็นร่วมกันให้ทั้ง 2 ฝ่าย ลงนามบันทึกแสดงเจตจำนงระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) โดยนายคณิศ แสงสุพรณ เลขาธิการ สกพอ. และ นายทาเคทานิ อัทสึชิ ประธานเจโทร สำนักงานประจำกรุงเทพฯ เป็นผู้ลงนาม เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565

โดยทั้ง 2 ฝ่าย เห็นพ้องในการผลักดันให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นลงทุนในพื้นที่อีอีซีที่เน้นด้านเทคโนโลยีขั้นสูง การต่อยอดด้านการวิจัยและพัฒนาร่วมกันชักจูงการลงทุนใหม่จากภาคเอกชนญี่ปุ่นในพื้นที่อีอีซี ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มสุขภาพ กลุ่มดิจิทัล กลุ่มการลงทุนคาร์บอนต่ำ และกลุ่มโลจิสติกส์ โดยการส่งเสริมการลงทุนจะเน้นความสำคัญของการดำเนินนโยบายและเป้าหมายของทั้งสองประเทศ ที่เน้นการเพิ่มความสำคัญด้านห่วงโซ่การผลิต และการมุ่งเน้นการส่งเสริมการลงทุนภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 และ BCG โมเดล (เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy เศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy เศรษฐกิจสีเขียว Green Economy)

นอกจากนี้ จากการหารือร่วมกัน ประเทศญี่ปุ่นเตรียมผลักดัน แนวคิด "Asia-Japan Investing for the Future Initiative" หรือ AJIF ที่เน้นการขยายการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจและการลงทุนกับภาคเอกชนในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง และการพัฒนานวัตกรรมรวมทั้งการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านโครงสร้างพลังงานใหม่เพื่อมุ่งสู่การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่น

ในขณะที่ฝ่ายไทยตอบรับนโยบายดังกล่าว ด้วยมีความสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจ BCG โมเดลของรัฐบาล ที่ต้องการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย รวมทั้งยังได้เน้นย้ำว่าประเทศไทยยังคงมีนโยบายในการรักษาฐานการผลิตยานยนต์ที่เข้มแข็งและมีศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นตลาดยานยนต์ไฟฟ้าหรืออุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง และนโยบายการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าของไทย จะช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านและการเติบโตให้กับภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในประเทศไทยได้ยิ่งไปกว่านั้น การหารือครั้งนี้ ประเทศไทยและญี่ปุ่น ยังได้เห็นพ้องกันในขยายความร่วมมือในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของโลกจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นการใช้พลังงานสะอาด ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน รวมถึงเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานอัจฉริยะแห่งอนาคตอีกด้วย

ที่มา: โมเดิร์นเทียร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน