JGSEE จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และเผยแพร่ผลการศึกษา - พลวัตของการปล่อย PM2.5 และสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิด PM2.5 ทุติยภูมิในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลาง

จันทร์ ๓๑ มกราคม ๒๐๒๒ ๑๐:๓๘
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวต้อนรับในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และเผยแพร่ผลการศึกษาเพื่อรับฟังความคิดเห็น เรื่อง "พลวัตของการปล่อย PM2.5 และสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิด PM2.5 ทุติยภูมิในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลาง" ในรูปแบบออนไลน์ ภายใต้โครงการ การจัดทำแนวทางการจัดการฝุ่น PM2.5 โดยการวิจัยการเกิดอนุภาคทุติยภูมิจากการใช้ระบบแบบจำลองการจัดการคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครและภาคกลาง จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สนับสนุนโครงการโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวเปิดงาน
JGSEE จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และเผยแพร่ผลการศึกษา - พลวัตของการปล่อย PM2.5 และสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิด PM2.5 ทุติยภูมิในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลาง

รศ. ดร.สาวิตรี การีเวทย์ ประธานสายวิชาสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มจธ. หัวหน้าคณะวิจัยโครงการนำเสนอผลงานการศึกษาด้าน "พลวัตของการปล่อย PM2.5 และสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิด PM2.5 ทุติยภูมิในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลาง" ที่ชี้ให้เห็นว่าการศึกษาพลวัตของการระบายมลพิษทางอากาศ PM2.5 และสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิด PM2.5 ทุติยภูมิมีบทบาทสำคัญ ในการจัดทำแนวทางและมาตรการในการลดปริมาณ PM2.5 ในบรรยากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งนี้ ในการศึกษาพลวัตดังกล่าว ระบบบัญชีการระบายมลพิษทางอากาศ (Emission Inventory) ที่มีความละเอียดสูง ในส่วนการกระจายตัวเชิงพื้นที่ (Spatial) และ เชิงช่วงเวลา (Temporal) การปล่อยจากแหล่งกำเนิด เป็นเครื่องมือและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญที่สุด โดยระบบฯ ที่คณะวิจัยได้พัฒนาขึ้นสำหรับการระบายมลพิษทางอากาศในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) ช่วยให้เข้าใจบทบาทของแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศในเขตกรุงเทพฯและภาคกลาง ที่มีต่อสถานการณ์วิกกฤตมลภาวะจาก PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ซึ่งจะช่วยให้การวางแผนและมาตรการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศในพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ระบบ Emission Inventory ดังกล่าว ยังสามารถนำมาใช้ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดเดียวกันกับมลพิษฝุ่น PM2.5 และสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิด PM2.5 ทุติยภูมิ ช่วยให้สามารถประเมินผลประโยชน์ร่วมที่เกิดขึ้นของการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ และวางแผนและนโยบายที่นำประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ในปีค.ศ. 2050 และ Climate Neutrality ในปีค.ศ. 2065 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสัมมนาในครั้งนี้ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 170 คน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในภาครัฐและเอกชน และสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย นับเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วนในประเด็นของ PM 2.5 ที่เป็นปัญหาของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี โดยองค์ความรู้ ผลการศึกษาจากงานวิจัย และทุกความเห็น จะถูกนำไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัย วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ฝุ่นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลในอนาคตได้อย่างตรงจุดต่อไป

ที่มา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

JGSEE จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และเผยแพร่ผลการศึกษา - พลวัตของการปล่อย PM2.5 และสารตั้งต้นที่ก่อให้เกิด PM2.5 ทุติยภูมิในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลาง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๖ กทม. ประเมินผล Lane Block จัดระเบียบจราจรหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ พบรถแท็กซี่-สามล้อเครื่องจอดแช่ลดลง
๑๗:๐๓ สมาคมประกันวินาศภัยไทย Kickoff การใช้ข้อมูล Non-Life IBS พร้อมส่งมอบรายงานข้อมูลสถิติในการพัฒนาธุรกิจประกันภัยของประเทศ
๑๗:๓๖ 3 โบรกฯ ประสานเสียงเชียร์ ซื้อ SAV เคาะราคาเป้า 24-25 บาท/หุ้น คาดกำไร Q1/67 ทุบสถิติออลไทม์ไฮ รับปริมาณเที่ยวบินเพิ่ม เก็งผลงานทั้งปีโตเด่น
๑๗:๐๓ Minto Thailand คว้ารางวัล Best Official Account จาก LINE Thailand Award 2023
๑๗:๒๔ กทม. ตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร ป้ายโฆษณา ต้นไม้ใหญ่ เตรียมพร้อมหน่วยเบสท์รองรับพายุฤดูร้อน
๑๗:๓๒ ไขข้อสงสัย.เมื่อซื้อแผงโซล่าเซลล์แล้วจะขนย้ายกลับอย่างไรให้ปลอดภัย โดย เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)
๑๖:๔๕ ไทเชฟ ออกบูธงาน FHA Food Beverage 2024 ที่สิงคโปร์
๑๖:๕๓ เนื่องในวันธาลัสซีเมียโลก มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย
๑๖:๓๕ EGCO Group จัดพิธีเปิดโรงไฟฟ้า EGCO Cogeneration (ส่วนขยาย) อย่างเป็นทางการ
๑๖:๒๖ เพลิดเพลินไปกับเมนูพิเศษประจำฤดูกาล: อาหารจากแคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี ที่ โวลติ ทัสคาน กริลล์ แอนด์ บาร์ โรงแรมแชงกรี-ลา