เสริมความแกร่งในยุคบริการภิวัฒน์ ด้วยไอเอฟเอส ฟิลด์ เซอร์วิส แมเนจเม้นท์

อังคาร ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๒ ๑๗:๒๓
นับตั้งแต่การเริ่มแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ลุกลามไปทั่วโลก เหมือนเป็นการส่งสัญญาณให้องค์กรต่างๆจำเป็นที่จะต้องมองหาทางรอดใหม่ๆที่จะเข้ามาช่วยพยุงองค์กรให้พ้นจากวิกฤตใหญ่นี้ และหนึ่งในทางรอดที่ว่านั้นก็คือการเปลี่ยนธุรกิจสินค้าให้ขยายครอบคลุมไปถึงบริการภิวัฒน์ (Servitization) ที่ดูเหมือนว่าจะสามารถเข้ามาเติมเต็มความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันที่ไม่ได้มองหาแค่สินค้าคุณภาพดีแต่ยังมองไปถึงบริการชั้นเลิศที่พึงจะได้รับ บวกกับกระแสดิจิตัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเราหลายๆคนไปแล้ว ยิ่งตอกย้ำพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับประสบการณ์ใหม่ๆที่ดีเยี่ยมซึ่งกำลังรอพวกเขาให้ไปลองสัมผัส
เสริมความแกร่งในยุคบริการภิวัฒน์ ด้วยไอเอฟเอส ฟิลด์ เซอร์วิส แมเนจเม้นท์

การปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจงานบริการ (Service is a new triumph card)
ผลสำรวจล่าสุดจาก อาเบอร์ดีน กรุ๊ป พบว่า องค์กรมากถึง 26% สามารถสร้างรายได้ใหม่จากการนำโมเดลบริการภิวัฒน์มาปรับใช้เข้ากับองค์กรตัวเอง บริการภิวัฒน์ หรือ Servitization คือการเปลี่ยนธุรกิจเดิมที่มุ่งเน้นการผลิตสินค้าหรือขายสินค้าให้สามารถขายมากกว่าแค่ตัวสินค้าเอง โดยการนำงานบริการรูปแบบต่างๆเข้ามาสนับสนุนตัวสินค้าหรืออาจจะเปลี่ยนโมเดลเป็นงานบริการด้วยเลยก็ได้ ในอดีตเราจะเห็นว่าธุรกิจเกือบทั้งหมดจะแข่งขันกันบนคุณภาพของตัวสินค้าหลัก ใครที่สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมากกว่าก็สามารถครองใจลูกค้ากลุ่มนั้นๆไปได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปปัจจัยต่างๆในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน ความแตกต่างในเชิงของตัวสินค้าเริ่มลดลงไปจนไม่สามารถมองเห็นจุดเด่นของตัวสินค้าเอง ความต้องการของลูกค้าในโลกที่ไร้พรมแดนเฉกเช่นทุกวันนี้ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตต้องเรียนรู้และปรับตัวอย่างเร็วที่สุด ฉะนั้น เราลองมาดูกันว่าจะมีปัจจัยอะไรบ้างที่จะเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการผลักดันธุรกิจทุกภาคส่วนให้ก้าวเข้าสู่โลกแห่งงานบริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในปี 2022 นี้

  1. ไลฟ์สไตล์จากกายภาพ (Physical) สู่ดิจิทัล (Digital) - ไม่เพียงแต่การทำงานที่หลายองค์กรเริ่มปรับมาเป็นเวิร์ค ฟร์อม โฮม (Work From Home) แบบเต็มเวลาเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 โดยอาศัยการทำงานร่วมกันภายในทีมผ่านเวอร์ชวล เวิร์คเพลส (Virtual Workplace) หรือการประชุมผ่านแพลตฟอร์มการประชุมออนไลน์ (Online Meeting Platform) ต่างๆ แต่รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนที่เวลาส่วนใหญ่จะอยู่ในโลกออนไลน์แทบทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น การจับจ่ายซื้อของบนเว็บ สโตร์ ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้สะดวกรวดเร็วกว่าเดิม ทั้งการเลือกสินค้า การชำระเงิน และการจัดส่งสินค้าซึ่งผู้บริโภคสามารถรอรับสินค้าอยู่ที่บ้านโดยไม่จำเป็นต้องออกจากบ้านไปรับเอง ในขณะเดียวกัน เมื่อสินค้าเสียหาย ชำรุด แทนที่จะต้องขับรถฝ่าจราจรเพื่อไปซ่อมที่ร้านและเอาตัวเข้าไปเสี่ยงกับโรคติดต่อภายนอก ลูกค้ายินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้ช่างมารับตัวสินค้าเพื่อนำกลับไปซ่อมต่อไป และเมื่อเสร็จแล้วก็นำกลับมาส่งที่บ้านเหมือนเดิม จะเห็นได้ว่าแนวโน้มพฤติกรรมของลูกค้าเริ่มหันเหออกจากโลกกายภาพ (Physical) แล้วเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital) มากขึ้นเรื่อยๆ ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดอุปทานใหม่ๆที่งานบริการสามารถเข้ามาเติมเต็มได้เป็นอย่างดี
  2. ประสบการณ์ใหม่กับสินค้าเดิม - เราอยู่ในยุคที่สินค้าจากต่างผู้ผลิตมีคุณภาพที่ใกล้เคียงกันอย่างมาก ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่พัฒนากว่าแต่ก่อนมาก และราคาที่ถูกลงง่ายต่อการเข้าถึงสำหรับผู้ผลิตทำให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่คุณภาพ ทว่าจุดเด่นในเรื่องคุณภาพก็ถูกบั่นทอนลงไปเช่นกันเนื่องจากไม่มีข้อแตกต่างมากนักในแต่ละแบรนด์ ฉะนั้นผู้ผลิตจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความแตกต่างให้กับตัวเอง และความแตกต่างนั้นก็คือการสร้างธุรกิจที่เน้นงานบริการมากขึ้น ผู้ผลิตสามารถนำเสนอข้อเสนอที่น่าสนใจมากขึ้นและเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้าไปพร้อมกัน อย่างเช่น การรวมงานบริการเพิ่มเติมตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์หรือสิทธิพิเศษในการดูแลลูกค้าแบบวีไอพี ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนผู้ซื้อแบบครั้งเดียว (One-Time Buyer) ให้กลายเป็นสมาชิกระยะยาว (Subscriber) ได้ นอกจากนี้ผู้ผลิตยังสามารถเข้าใจถึงพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้นเพื่อนำไปปรับปรุงการออกแบบงานบริการให้ตรงใจกับลูกค้าต่อไป
  3. คนรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม - ในปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจกับการดูแลสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น จากผลกระทบของภาวะโลกร้อนและมลพิษทางอากาศที่เห็นได้ทั่วไป งานบริการนอกจากจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในรูปแบบต่างๆแล้วนั้นยังกลายมาเป็นอีกช่องทางที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาในเชิงสิ่งแวดล้อมเช่นกัน อย่างเช่น ฟิลลิปส์ (Phillips) ผู้ผลิตหลอดไฟยักษ์ใหญ่ เสนอบริการในการดูแลหลอดไฟให้กับสำนักงานรวมไปถึงสนามบินต่างๆ (Light-as-a-service) แทนที่ลูกค้าจะต้องจ้างช่างเองเพื่อมาติดตั้งหลอดไฟและจัดการกับหลอดไฟเก่าๆที่ไม่ใช้แล้ว ฟิลลิปส์รับผิดชอบจัดการงานส่วนนี้ทั้งหมด รวมไปถึงเสนอแนวทางการรีไซเคิล (Recycle) และรียูส (Reuse) หลอดไฟเก่าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ทำให้ลูกค้าสามารถประหยัดไฟได้มากกว่าเดิมภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญรวมไปถึงช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน

มุ่งหน้าสู่โลกแห่งงานบริการ (Accelerate towards everything-as-a-service)
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์ของงานบริการได้มาถึงแล้ว เราเห็นธุรกิจต่างๆเริ่มขยับขยายไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะมองในมุมของผู้ประกอบการหรือผู้บริโภค ประโยชน์เกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่ายอย่างไม่ต้องสงสัย การมาของบริการภิวัฒน์ (Servitization) เปรียบเสมือนกุญแจดอกสำคัญที่เข้ามาปลดล็อคขีดจำกัดของธุรกิจให้มองหาโอกาสใหม่ๆ เปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถเรียนรู้และเสริมสร้างความชำนาญเพื่อสร้างเป็นทรัพย์สินพิเศษ (Unique Asset) ที่มีมูลค่ามากขึ้นไปกว่าเดิม จนกลายเป็นจุดเด่นเฉพาะที่เป็นความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เป็นคุณค่าที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น และช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ต่อไป

และเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการงานบริการ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่จะต้องมาพร้อมกับเครื่องมือทางเทคโนโลยอันทันสมัย หนึ่งในเทคโนโลยีนั้นคือ ไอเอฟเอส ฟิลด์ เซอร์วิส แมเนจเม้นท์ (IFS Field Service Management) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์การจัดการงานบริการภาคสนามที่จะเข้ามายกระดับงานบริการในธุรกิจ สามารถติดตาม บันทึก และวางแผนงานในทุกระดับ ระบบมาพร้อมสถาปัตยกรรมใหม่ผนวกเข้ากับฟังก์ชั่นฟีเจอร์จำนวนมากที่พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจอย่างเต็มประสิทธิภาพ

ไอเอฟเอส ฟีลด์ เซอร์วิส แมเนจเม้นท์ จะสามารถช่วย

  • เปลี่ยนธุรกิจจากเดิมที่เน้นเฉพาะผลิตภัณฑ์ไปสู่ฟังก์ชันที่มุ่งเน้นบริการภิวัฒน์ (Transition your business to servitization)
  • บันทึก จัดการ และปรับตารางเวลาของช่างเทคนิคบริการและพนักงานภาคสนามให้เหมาะสมที่สุด (Scheduling and optimizing your business resources)
  • พัฒนาแผนงานที่ละเอียดและซับซ้อนสำหรับการจัดการชิ้นส่วนบริการ (Service part management planning)
  • เริ่มต้นการสร้างแผนธุรกิจงานบริการตามผลลัพธ์ที่ได้ (Building business around outcome-based service)

นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นอีกมากมาย ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ไอเอฟเอส ฟิลด์ เซอร์วิส แมเนจเม้นท์ สามารถเข้าไปดูได้ที่ What is Field Service Management Software? - RACEKU

ที่มา: มายด์ พีอาร์

เสริมความแกร่งในยุคบริการภิวัฒน์ ด้วยไอเอฟเอส ฟิลด์ เซอร์วิส แมเนจเม้นท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๓๐ เม.ย. GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๓๐ เม.ย. PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๓๐ เม.ย. LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๓๐ เม.ย. ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๓๐ เม.ย. LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๓๐ เม.ย. SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๓๐ เม.ย. STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๓๐ เม.ย. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน